(บทความ..นายพระรอง) รู้จักอนุรักษ์นิยม Conservatism

กระทู้คำถาม
อนุรักษ์นิยม Conservatism
    ลัทธิการเมืองที่ให้ความสำคัญกับอดีต ไม่นิยมการปฏิรูป หากจะมีการเปลี่ยนแปลงควรจะเป็นไปตามสภาพสังคม โดยไม่ทำลายคุณธรรมที่ดีงามที่ได้ยึดถือกันมาก่อน เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้ายุคเข้าสมัยไม่ใช่เป็นหลักสำคัญตามแนวความคิดของลัทธินี้ แต่ประเพณีที่ยึดถือกันมาแต่เดิมนั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้ได้ ควรจะนำมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวการกระทำทั้งหลายในสังคม

หลักการสำคัญ ของลัทธิอนุรักษ์นิยม
        - ประเพณี (Tradition) เป็นความคิดหรือกิจกรรมใดๆที่อยู่ช่วงการเปลี่ยนแปลง โดยสะท้อนให้เห็นการสั่งสมในอดีต ยึดถือประเพณีเป็นสิ่งดีงาม

     - การปฏิบัตินิยม (Pragmatism) โดยเห็นว่าเหตุผล (Reason) มีข้อจำกัดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่จะนิยมประสบการณ์ (Experience) ประวัติศาสตร์ (History) และสิ่งที่ปฏิบัติได้  

       - ความไม่สมบูรณ์มนุษย์ (Human  Imperfection) เป็นความคิดพิจารณามนุษย์แง่ร้าย/ลบ (Pessimistic) หรือมนุษย์มีข้อจำกัด (Limited) ต้องพึ่งผู้อื่น เห็นแก่ตัว กระหายอำนาจ  จะอาศัยรัฐที่เข้มแข็ง เข้มงวดกฎหมายและลงโทษเด็ดขาด

       - อินทรียภาพ (Organicism) เป็นความคิดที่ว่า จะไม่มีมนุษย์สามารถอยู่นอกสังคม  เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดและต้องพึ่งผู้อื่น  จึงต้องรวมกลุ่ม เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ฯลฯ โดยกลุ่มเกิดเองตามธรรมชาติ มองเป็นสิ่งมีชีวิต

     - ระดับต่ำสูง (Hierarchy) องค์ประกอบสังคม/อวัยวะมีความหมายและความสำคัญไม่เท่ากัน เน้นย้ำความไม่เสมอภาค ให้ความสำคัญกับชนชั้นผู้นำเป็นสมอง เป็นหัวใจ ประชาชนทั่วไปเป็นเพียงมือเท้าที่ต้องฟังคำสั่งจากสมอง

       - อำนาจหน้าที่ (Authority) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาธรรมชาติ ไม่ใช่การตกลงรวมกัน ให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำและการมีระเบียบวินัย

     - ทรัพย์สิน (Property) ทรัพย์สินสะท้อนถึงความสามารถของปัจเจกชน ผู้ที่ฉลาดและทำงานหนักจะมีความร่ำรวยได้  ทรัพย์สินยังทำให้ผู้ครอบครองรู้สึกเป็นผู้ส่าวนได้ส่วนเสียของสังคมชัดเจนขึ้น (ให้ความสำคัญกับฐานะ ตำแหน่ง ยิ่งมีฐานะดี ตำแหน่งสูง ยิ่งเป็นที่ยอมรับของลัทธิอนุรักษ์นิยม)

ประเภทของอนุรักษ์นิยม สามารถจำแนกได้ตามความแตกต่างกันทั้งหมด 4 ประเภท
    1.อนุรักษ์นิยมแนวอำนาจนิยม (Authoritarian Conservatism)    
    เป็นอนุรักษ์นิยมที่ต้องการให้รัฐบาลมีอำนาจมากๆ  Joseph  De Maistre นักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสไม่พอใจการปฏิวัติปี 1789 เพราะเขาคิดว่า มนุษย์ควรยอมรับอำนาจปกครองที่เป็นมาตั้งแต่ครั้งก่อน แม้อำนาจจะโหดร้ายและดูไร้เหตุผล แต่อำนาจสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยและนำมาสู่ความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชน ผู้นำที่โหดร้ายควรได้รับการเชื่อฟัง เพราะการใช้อำนาจจะเป็นที่ยำเกรงและความโกลาหลวุ่นวายที่ไม่สิ้นสุดก็จะไม่เกิดขึ้น ตรงกันข้าม การต่อต้านการปฏิวัติเป็นการทำลายล้างอำนาจการปกครอง หลังการปฏิวัติบ้านเมืองจะมีสภาพไร้ขื่อแป  ความโกลาหลวุ่นวายจะเกิด ขึ้นอย่างไม่มีที่จบสิ้น ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตประชาชนจะรักษาไว้ไม่ได้ แน่นอนว่าในคำกล่าวของ Joseph  De Maistre นั้นหมายถึงบริบทในเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส ที่เขาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายโค่นล้มอำนาจแห่งกษัตริย์ฝรั่งเศส

    นักอนุรักษ์นิยมแนวอำนาจนิยมจะเป็นพวกกลุ่มปฏิกิริยา (Reactionary) ย้อนกลับหาอดีตที่เรืองรอง  ปฏิเสธการปฏิรูปในปัจจุบันและนิยมความรุนแรง หรือนักอนุรักษ์นิยมแนวรุนแรง (Radical)

    2.อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์  (Paternalistic Conservatism)
    อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์มีความยืดหยุ่นกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า นำโดย Edmund Burke (1729-1797) เสนอ“การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นเรื่องธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงไม่ควรต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างหัวชนฝา”
    “รัฐที่ไม่มีกลไกการเปลี่ยนแปลงย่อมเท่ากับไม่มีกลไกในการผดุงรักษาตนเอง” อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์จะเน้นสิ่งปฏิบัติได้ ไม่เน้นสุดขั้วทั้งแง่ปฏิบัติและปฏิกิริยา รวมทั้งอ่อนน้อมถ่อมตน หลักการพื้นฐานอนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์ของEdmund Burke มี 4 ประการ

    - “การรักษาความต่อเนื่องของสังคม” การปฏิวัติเป็นสิ่งไม่ดี นำมาซึ่งความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ยึดอำนาจย่อมไม่สามารถใช้อำนาจปกครองอย่างสงบเรียบร้อยได้ จะยุติด้วยสันติวิธีทำได้ยาก เสนอให้ใช้ “การปฏิรูปเพื่อรักษาสิ่งที่มีอยู่” Reform in Order to conserve ปรับปรุงสิ่งที่ไม่เหมาะสมบ้างเพื่อรักษาแบบแผนเดิมให้อยู่ต่อไป พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ บอกว่าปฏิวัติไม่ดี แต่เมื่อแก้ไขปัญหาไม่ได้ก็ยังคงสนับสนุนการปฏิวัติเพื่อแก้ไขปัญหานั้นแหละ

    - “วิพากษ์ลัทธิปัจเจกบุคคลนิยม” ปัจเจกบุคคลไม่มีความหมาย ถ้าอยู่นอกสายสัมพันธ์ทางสังคม ระเบียบสังคมและการเมืองละเอียดอ่อนถูกทำลายได้ง่ายกว่าการสร้างใหม่ การกระทำที่เปลี่ยนแปลงระเบียบ สังคมและการเมืองต้องรอบคอบ พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ บุคคลที่อยู่นอกวงของอำนาจ ไม่มีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ตัวผู้นำ ที่เป็นปัจเจกบุคคลนิยมได้

    - ปกป้องราชาธิปไตยและอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) ความไม่เท่าเทียบกันเป็นเรื่องธรรมชาติและเลี่ยงเลี่ยงไม่ได้ของสังคมมนุษย์  การชี้นำและการนำจะตามมา สังคมจะมีโครงสร้างลดหลั่นกันหรือสูงต่ำตามลำดับ ผู้ใหญ่ดูแลปกป้องผู้น้อย ผู้น้อยเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ผู้น้อยเมื่อพร้อมความสมารถและเหมาะสมจะเป็นผู้ใหญ่ ราชาธิปไตยและอภิชนาธิปไตยมีโครงสร้างสายสัมพันธ์เหมือนดังกล่าว อนุรักษณืนิยมจึงมักที่จะอิงแอบสถาบันกษัตริย์เรื่อยมา

    - ปกป้องระบบทรัพย์สินส่วนบุคคล ทรัพย์สินควรจะเป็นของเอกชน/ส่วนบุคคล และไม่จำเป็นต้องกระจายให้เท่าเทียมกัน และยกตกเป็นมรดกได้ และควรมีสัดส่วนสัมพันธ์กับอำนาจทางการเมืองที่บุคคลเข้ามีส่วน รัฐสภาควรเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงตัวแทนผู้มีฐานะตำแหน่งทางสังคมและผู้มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจด้วย พวกอนุรักษ์นิยมนี้ จึงกระตือรือล้นที่จะปกป้องสมบัติของชาติเป็นพิเศษ เพราะคิดว่านั้นเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล เพราะว่าพวกตนเป็นฝ่ายที่จ่ายให้รัฐในรูปแบบภาษีมากกว่า

    นอกจากนี้ อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์ ยังเชื่อมโยงแนวคิด Benjamin Disraeli (1804-1881) อดีตายกรัฐมนตรีอังกฤษ ภายใต้กระแสความขัดแย้งสังคมระว่างคนรวยกับคนจนเรียกว่ามี 2 ชาติ (2 Nations : The Rich and The Poor) นักอนุรักษ์ ผู้เปลี่ยนแปลงอย่างถอดราก  ชาวคริสต์  การเป็นยิว  เป็นศิลปิน  นักการเมือง ยกย่องการเป็นคนชั้นสูง  

    อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมถ์ มีแนวคิดใกล้เคียงกับ Benjamin Disraeli  ที่ยึดแนวคิดว่า คนรวยต้องอยู่ต่อไปโดยไม่โดนล้มอำนาจ ซึ่งต้องกลับยึดเชื่อมั่นตามจารีตประเพณีดั่งเดิม  คนชั้นสูงต้องดูแลคนต่ำกว่า  ฐานะสูงมีภาระหน้าที่ต่อสังคมมากกว่าผู้ที่ยากจนและต่ำต้อย  

    3. อนุรักษ์นิยมแนวเสรีภาพ (Libertarian Conservatism)
    อนุรักษ์นิยมแนวเสรีภาพเกิดขึ้นปลาย ศ.19 ต่อกับต้น ศ.20 เนื่องจากรัฐเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจมากขึ้น แต่อนุรักษ์นิยมแนวเสรีภาพพิจารณาว่า รัฐควรปล่อยเสรีทางเศรษฐกิจ โดยสอดคล้องกับนักเสรีนิยม แต่ปัจเจกชนต้องการความคุ้มครองจากจารีตประเพณีและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม พูดง่ายๆกลุ่มนี้อาจจะยิยอมเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางเศรษฐกิจไปตามพวกเสรีนิยมบ้าง เพราะเห็นว่าผืนกระแสต่อไป ก็จะไม่มีทางตามเศรษฐกิจของพวกเสรีนิยมทันแน่ แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญต่อชนชั้น ที่ต้องมีอยู่ในสังคม นั้นเอง

    4.อนุรักษ์นิยมแนวขวาใหม่ (The Conservatism New Right)
    อนุรักษ์นิยมแนวขวาใหม่ (New Right) เป็นคำเรียก การเคลื่อนไหวทางความคิดที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก (Eng F Ger) และ USA ใน 1970 ยึดแนวคิด “เศรษฐกิจเสรีกับรัฐเข้มแข็ง” Free Economy and Strong State จึงคล้ายคลึงกับอุดมการณ์เสรีนิยมทั่วไป เพียงแต่พวกขวาใหม่ แนวคิดเรื่องชนชั้นเจอจางลงมาบ้าง ถึงจะไม่เข้มข้นเหมือนแต่ก่อนแต่ก็ยังมีอยู่

จบดีกว่า เดี๋ยวจะปลิวแบบเสียเปล่าอีก
ท่านที่มาอ่านคงพอเข้าใจนะครับ ว่าทำไมคนบางคน ถึงเลือกทำบางอย่าง และทำไมถึงพยายามทำเช่นนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แม้ว่าเราจะทำอะไรไม่ได้ ก็ยังดีนะครับ ที่เราเข้าใจว่า เขาทำแบบนั้นไปทำไม


คงเป็นบทความสุดท้ายในปีนี้ของผมแล้วนะครับ พรุ่งนี้ ผมจะเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ซึ่งใช้มือถือคงไม่สะดวกกับการพิมพ์อะไรยาวๆอย่างบทความ แต่กะทู้นี้ ผมจะยังไม่กล่าวคำอำลาหรอกนะครับ เพราะถึงเขียนบทความมาให้อ่านกันไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถตั้งกะทู้อำลาปีเก่าและอวยพรต้อนรับปีใหม่สั้นๆได้อยู่

พบกันโอกาสหน้าครับ
นายพระรอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่