การเอื้ออาทรต่อผู้อื่น กับการรักษาสิทธิ์ของตัวเอง ตอนนี้สังคมเรากำลังเปลี่ยนแปลงค่านิยมไปรึเปล่า

จากกระทู้ คุณแม่ลูกอ่อนเดินทางกับลูก2คนด้วนสานการบิน low cost
มีหลายcomment พูดถึงว่า แม่ลูกอ่อนไม่ควรแซงคิว เป็นการเบียดเบียนคนอื่น ควรมีการจัดการตัวเองที่ดีกว่านี้ต่างๆ นานา
ขณะที่อีกกลุ่มนึงก็มีความคิดเห็นว่า เด็กเล็กควรได้สิทธิ์
จริงๆแล้วที่เคยเห็นในต่างประเทศ หรือสายการบิน full service ผู้โดยสารที่เดินทางพร้อมเด็กเล็ก ผู้โดยสารสูงวัย คนป่วย ได้สิทธิ์เท่าเทียมกับผู้โดยสาร first class และ bussiness class ในการขึ้นเครื่อง แม้แต่ตรวจคนเข้าเมือง บางประเทศยังได้สิทธิ์ลัดคิวด้วยซ้ำ เจ้าหน้าที่ยังอำนวยความสะดวกให้
ช่วงก่อนก็มีกระทู้ถามว่าทำไมต้องลุกให้คนท้องบนรถโดยสารสาธารณะ คนท้องควรได้สิทธิพิเศษรึเปล่า
แต่ที่น่าแปลกใจกว่ากระทู้คุณแม่ลูกอ่อนคือ กระทู้ที่ว่า พระควรได้สิทธิ์ที่นั่งพิเศษ หรือ สิทธิ์ในการลัดคิวรึเปล่า
เท่าที่เคยเห็น ในสนามบิน หรือแม้แต่ รพ. เองพระภิกษุ แม่ชี ต่างก็ได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ ในจุดนี้ คนส่วนใหญ่ต่างยอมรับ
ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงไม่มีใครออกมามีความคิดเห็นแนวนี้ แต่ในยุคนี้ยังมีคนมีคำถามว่านักบวชควรได้สิทธิพิเศษรึเปล่า

จริงๆการรักษาสิทธิ์ มันไปลดความเอื้ออาทรต่อคนที่มีข้อจำกัดต่างๆ รึเปล่า
การแซงคิวเป็นเรื่องไม่ดี เราควรรักษาสิทธิ์ของตัวเอง แต่ว่าคนที่มีข้อจำกัดต่างๆล่ะ เราไม่ควรมีน้ำใจกับพวกเขาหรอ
อีกหน่อยจะมีคนตั้งคำถามเรื่องทำไมต้องมีที่จอดรถคนพิการรึเปล่า
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การให้ความสะดวกผู้โดยสารที่มีเด็กเล็ก พระภิกษุ คนชรา ผู้พิการเป็นเรื่องจำเป็น
เพราะบุคลเหล่านั้นมีความสามารถไม่เท่าบุคคลทั่วไป

เค้าสามารถเดินไปขึ้นเครื่องได้เร็วเท่าคนทั่วไปไม๊?
การไปต่อแถวร่วมกับผู้อื่น มีแต่จะทำให้ผู้โดยสารทั่วไปด้านหลังช้ามาขัน
การให้บุคคลเหล่านี้ขึ้นเครื่องก่อน ก็ไม่ทำให้ผู้โดยสารเสียสิทธิอดขึ้นเครื่องแต่ประการใด

เมื่อไม่กี่วันนี้ผมพาญาติซึ่งต้องนั่งรถเข็นกลับจาก ตปท. ผ่าน ตม.ช่อง foreign passport
เพราะมันว่าง เพราะบริการฝร่งนักบินคนเดียว
โดยคนไทยที่อยู่ในแถวติดๆกัน ซึ่งต่อแถวยาวมาพูดแหลมว่า "อ่านป้ายไม่ออกหรือ?"
ผมเลยสวนไปว่า "อ่านออก แล้วจะทำไม" ทาง ตม.ท่านก็บริการให้ ยังบอกว่าให้เลี้ยวขวา
เปิดประตูออฟฟิศ ตม. ลิฟท์อยู่ซ้ายมือเลย

คนไทยสมัยนี้ ขนาดคนแก่นั่งรถเข็นยังอิจฉาเลย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เอากันตามเหตุผลเป็นหลักครับ กรณีคุณแม่ลูกอ่อนต้องทำความเข้าและเปิดใจกว้างก่อนคิดไปทีละขั้น
1.คุณแม่ลูกอ่อนไม่เผื่อเวลาเลย โดยปกติเราต้องเผื่อเวลาในการเชคอินอย่างน้อย 2 ช.ม.
2.น้ำหนักของกระเป่าเกิน ผิดเข้าไปอีก
3.คุณแม่ลูกอ่อนใช้อารมณ์กับพนักงานก่อนทั้งๆที่ตัวเองเป็นผ่ายผิด อันนี้หนักสุด
(การเป็นบุคคลที่ได้รับการปฎิบัติพิเศษกว่าคนอื่น คนท้อง เด็ก คนชรา พระ/เณร ไม่ได้หมายความว่าจะมีสิทธิไปให้อารมณ์กับคนอื่น)

ฝ่ายพนักงาน
1.ยินยอมให้คุณแม่แซงคิวได้ (พนักงานไม่ได้ใจดำนะครับให้แซงคิวได้) แต่คนที่ต่อแถวอยู่นับสิบๆคนเค้าคงไม่ใจดีแบบพนักงานทุกคนมั้ยครับ
2.คุณแม่พกของมาเกินน้ำที่กำหนดไว้ พนักงานก็ทำตามขั้นตอน
3.มีการติคุณแม่ไปชุดใหญ่ (จะถือว่าผิดมั้ยคงยากต้องไปยินกับหูว่าพูดด้วยน้ำเสียงและหน้าตาอย่างไร)

บทสรุปคือคุณแม่ยกเลิกเที่ยวบินและไปใช้บริการเที่ยวบินอื่น เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเอื้ออาทร หรือ การรักษาสิทธิ์ มันเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ การใช้อารมณ์

จากประสบการณ์ในการขึ้นรถสาธารณะ ถ้ามีคนชรา พระ คนท้องขึ้นมาส่วนใหญ่จะรีบลุกให้นั่งทันที ไม่เคยเห็นคนท้อง หรือคนชรา ยืนบนรถสาธารณะเลยครับ เปิดใจกว้างไว้ครับ ส่วนที่คุณเห็นมาตั้งกระทู้นั่นแค่ 00.01 %
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่