พิจารณางู สู่หนทางบรรลุธรรม

ผู้รู้(วิญญาณ) ผู้ถูกรู้(อารมณ์) ให้ปล่อยไปทีเดียวพร้อมๆกัน เหมือนเวลาเราจับงู
หัวงู(ผู้รู้ คือวิญญาณ) หางงู(ผู้ถูกรู้ คืออารมณ์)
ถ้าเราไปจับผู้รู้คือวิญญาณ(นั้นเราไปจับหัวงูแล้ว) แล้วปล่อย ผู้ถูกรู้คืออารมณ์(นั้นเราปล่อยหางงูแล้ว) อันนี้ไม่ใช่สายกลาง
ถ้าเราไปจับผู้ถูกรู้คืออารมณ์(นั้นเราไปจับหางงูแล้ว) แล้วปล่อย ผู้รู้คือวิญญาณ(นั้นเราปล่อยหัวงูแล้ว) อันนี้ไม่ใช่สายกลาง
อวิชชาจะดับได้ก็ต่อเมื่อ เราต้องปล่อยทั้งหัวงูและหางงู พร้อมๆกัน
ปล่อยทั้งผู้รู้คือวิญญาณ(หัวงู) ปล่อยทั้งผู้ถูกรู้คืออารมณ์(หางงู) ปล่อยไปทั้ง2อย่างเลย ไปพร้อมๆกัน อันนี้เป็นทางสายกลาง
เมื่อปล่อยทั้งหัวงู ปล่อยทั้งหางงู ไปพร้อมๆกัน วิมุตินิพพาน จะพึ่งรู้ได้เฉพาะตน เป็นปัจจัตตัง(รู้ได้เฉพาะตน) เมื่อปล่อยอวิชชาแล้ว
ความรู้สึกภายในใจไม่มีเหลือ เมื่อเห็นประจักษ์แก่ใจตนแล้ว ก็หมดสงสัย แล้วสิ่งที่เหลือ ก็ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปปทาน
เรียกว่าปล่อยส่วนสุดทั้งสองอย่าง แม้แต่ตรงกลางที่เหลือก็ไม่ยึด พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นมหาบุรุษ
เมื่อปล่อยส่วนสุดสองข้างได้แล้ว ก็จะมีนิโรธปรากฎขึ้น และแม้นิโรธที่ปรากฎก็ไม่ยึดไว้ จึงนับว่าเป็นมหาบุรุษ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่