โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 21 ธันวาคม 2558, 10:30
เครดิตบูโรชี้สัดส่วนลูกหนี้เจนวายเพิ่มขึ้นประเภทสินเชื่อ ขณะนี้แนวโน้มเอ็นพีแอลกลุ่มเจนวายพุ่งต่อเนื่องตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ห่วงภาระหนี้กดดันป
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มเห็นแนวโน้มของลูกหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเจนวายเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันคุณภาพลูกหนี้กลุ่มนี้มีแนวโน้มด้อยลงด้วย โดยจำนวนผู้สินเชื่อใหม่ในแต่ละประเภทเป็นกลุ่มเจนวายเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ลูกค้าในกลุ่มเจนวายคือผู้เกิดระหว่างปี 2523-2540 กลุ่มเจนเอ็กซ์เกิดระหว่างปี 2508-2522 ส่วนเบบี้บูมเกิดระหว่าง 2489-2507
ในช่วง 3ไตรมาสของปีนี้จำนวนผู้ขอสินเชื่อบ้านที่เพิ่มขึ้น 250,978 บัญชี มีสัดส่วนของลูกค้าเจนวาย 46% เทียบกับในปี 2555ที่มีเพียง 30% แต่ลูกหนี้กลุ่มนี้มีแนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2.2 หมื่นบัญชี ในปี 2555 เป็นมากกว่า 4 หมื่นบัญชี ขณะที่กลุ่มเจนเอ็กซ์ทรงตัวและลดลงในปีนี้ขณะที่เบบี้บูมลดลงต่อเนื่อง
ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อในไตรมาส 3 ปีนี้มีจำนวนบัญชีเกิดใหม่ 983,497 บัญชี มีสัดส่วนของลูกค้าเจนวาย 40% เทียบกับปี 2555 ที่มีสัดส่วน 36%และมีแนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่ต่ำกว่า 2 แสนบัญชีเป็น 4 แสนบัญชีในขณะนี้ใกล้เคียงกับกลุ่มเจนเอ็กซ์ที่มีหนี้หลายช่องทางกว่า
สำหรับบัญชีบัตรเครดิตในช่วง 9เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 1,617,884 บัญชี มาจากลูกค้าเจนวายสัดส่วน 50% เทียบกับปี 2555 ที่มีเพียง 34% และมีแนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากที่มีต่ำกว่า 2 แสนบัญชีในปี 2555 เป็นกว่า 3 แสนบัญชีในขณะนี้ เทียบกับเจนเอ็กซ์และเบบี้บูมที่มีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน
สุดท้ายคือสินเชื่อบุคคลที่ ณ ไตรมาส 3 มีลูกค้าใหม่ 1.731 ล้านบัญชี เป็นลูกค้าเจนวาน 48% เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีสัดส่วน 38% ขณะที่แนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจาก 8 แสนบัญชี ในปี 2555 มาอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านบัญชีในขณะนี้ ขณะที่อีก 2 กลุ่มนี้แนวโน้มลดลง
นายสุรพลกล่าวว่า แนวโน้มคุณภาพหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเจนวายมีความน่ากังวล เพราะเป็นกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตทำงาน และยังมีรายได้ยังไม่มากพอ แต่เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายกว่าอดีต หากลูกค้ากลุ่มนี้มีหนี้เยอะและผ่อนชำระไปเรื่อย ๆ จะมีปัญหาได้
“ลักษณะของกลุ่มเจนวายคือ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีความรู้ทางการเงินไม่มากพอ และวุฒิภาวะด้านการเก็บออมไม่มี ชอบท้าทายตัวเองว่าเดี๋ยวก็หาได้ จึงเห็นว่าหลายคนไปกู้โดยใช้บัตรกดเงินสดดอกเบี้ย 28% ไปซื้อของและขายในเฟสบุค ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย”
นอกจากนี้ยังน่าเป็นห่วงภาระหนี้ของกลุ่มเจนวายจะกระทบกับประสิทธิภาพาการทำงานได้ โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายจะเป็นประชากรวัยทำงานหลักของประเทศในอนาคต หากประชากรกลุ่มนี้มีปัญหาจะทำให้ภาคธุรกิจลำบาก
จึงจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีภาคธุรกิจติดต่อมายังเครดิตบูโร เพราะกังวลว่าในอนาคตอาจเอื้อให้เกิดการทุจริตในองค์กรได้ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว หลายบริษัทจึงเริ่มมีการวางแผนการเงินในองค์กร สอนการเงินส่วนบุคคลให้พนักงาน
"หากคนรุ่นใหม่วัยทำงานเสพติดหนี้แต่ต้น ประสิทธิภาพทำงานมาจากไหน หากถูกเชิญชวนให้เล่นพนันและใช้ชีวิตไม่ระวังจะเอาใจไปทำงานได้ไง
อนาคตเมื่อโตใครจะช่วยใครได้ ต่างคนพยายามหมุนหนี้อยู่ หากรายได้ไม่เพิ่มหรือโบนัสไม่เยอะในอนาคตจะเอาที่ไหนมาจ่ายหนี้ เราอย่าลืมว่าเรามีคนอยู่ในวันทำงานจำนวนจำกัด ถ้าวันนี้เจอปัญหาไปก่อน การเติบโตของคนกลุ่มนี้ในอนาคตจะยาก ภาคธุรกิจจะลำบาก ปัญหาการเงินจึงเป็นปัญหาสังคมและกลายเป็นปัญหาในองค์กร ในขณะนี้ภาคธุรกิจเริ่มเห็นปัญหาภาระหนี้ของคนในองค์กรที่พนักงานถูกตามหนี้มากขึ้น"
ในส่วนของเครดิตบูโรพยายามโปรโมท การให้ความรู้ทางการเงิน และสนับสนุนการการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ให้สินเชื่อกับผู้ที่มีวุฒิภาวะทางการเงินเพียงพอ นอกจากนี้สิ่งที่เครดิตบูโรพยายามดำเนินการคือ รับคำเชิญกับองค์กรธุรกิจให้เข้าไปตรวจสุขภาพทางการเงินพนักงาน และดึงพันธมิตรเช่นศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และสมาคมนักวางแผนการเงินไทย (TFPA) เข้ามาช่วยอบรมพนักงาน ขณะเดียวกันหากเห็นโปรแกรมทางการเงินที่หมิ่นเหม่ก็จะเตือนผู้ประกอบการ
ที่มา:
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/679191
เครดิตบูโรชี้เจนวายหนี้เสียพุ่งตลอด 4 ปี
วันที่ 21 ธันวาคม 2558, 10:30
เครดิตบูโรชี้สัดส่วนลูกหนี้เจนวายเพิ่มขึ้นประเภทสินเชื่อ ขณะนี้แนวโน้มเอ็นพีแอลกลุ่มเจนวายพุ่งต่อเนื่องตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ห่วงภาระหนี้กดดันป
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มเห็นแนวโน้มของลูกหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเจนวายเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันคุณภาพลูกหนี้กลุ่มนี้มีแนวโน้มด้อยลงด้วย โดยจำนวนผู้สินเชื่อใหม่ในแต่ละประเภทเป็นกลุ่มเจนวายเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ลูกค้าในกลุ่มเจนวายคือผู้เกิดระหว่างปี 2523-2540 กลุ่มเจนเอ็กซ์เกิดระหว่างปี 2508-2522 ส่วนเบบี้บูมเกิดระหว่าง 2489-2507
ในช่วง 3ไตรมาสของปีนี้จำนวนผู้ขอสินเชื่อบ้านที่เพิ่มขึ้น 250,978 บัญชี มีสัดส่วนของลูกค้าเจนวาย 46% เทียบกับในปี 2555ที่มีเพียง 30% แต่ลูกหนี้กลุ่มนี้มีแนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2.2 หมื่นบัญชี ในปี 2555 เป็นมากกว่า 4 หมื่นบัญชี ขณะที่กลุ่มเจนเอ็กซ์ทรงตัวและลดลงในปีนี้ขณะที่เบบี้บูมลดลงต่อเนื่อง
ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อในไตรมาส 3 ปีนี้มีจำนวนบัญชีเกิดใหม่ 983,497 บัญชี มีสัดส่วนของลูกค้าเจนวาย 40% เทียบกับปี 2555 ที่มีสัดส่วน 36%และมีแนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่ต่ำกว่า 2 แสนบัญชีเป็น 4 แสนบัญชีในขณะนี้ใกล้เคียงกับกลุ่มเจนเอ็กซ์ที่มีหนี้หลายช่องทางกว่า
สำหรับบัญชีบัตรเครดิตในช่วง 9เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 1,617,884 บัญชี มาจากลูกค้าเจนวายสัดส่วน 50% เทียบกับปี 2555 ที่มีเพียง 34% และมีแนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากที่มีต่ำกว่า 2 แสนบัญชีในปี 2555 เป็นกว่า 3 แสนบัญชีในขณะนี้ เทียบกับเจนเอ็กซ์และเบบี้บูมที่มีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน
สุดท้ายคือสินเชื่อบุคคลที่ ณ ไตรมาส 3 มีลูกค้าใหม่ 1.731 ล้านบัญชี เป็นลูกค้าเจนวาน 48% เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีสัดส่วน 38% ขณะที่แนวโน้มการผิดนัดชำระและเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจาก 8 แสนบัญชี ในปี 2555 มาอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านบัญชีในขณะนี้ ขณะที่อีก 2 กลุ่มนี้แนวโน้มลดลง
นายสุรพลกล่าวว่า แนวโน้มคุณภาพหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเจนวายมีความน่ากังวล เพราะเป็นกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตทำงาน และยังมีรายได้ยังไม่มากพอ แต่เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายกว่าอดีต หากลูกค้ากลุ่มนี้มีหนี้เยอะและผ่อนชำระไปเรื่อย ๆ จะมีปัญหาได้
“ลักษณะของกลุ่มเจนวายคือ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีความรู้ทางการเงินไม่มากพอ และวุฒิภาวะด้านการเก็บออมไม่มี ชอบท้าทายตัวเองว่าเดี๋ยวก็หาได้ จึงเห็นว่าหลายคนไปกู้โดยใช้บัตรกดเงินสดดอกเบี้ย 28% ไปซื้อของและขายในเฟสบุค ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย”
นอกจากนี้ยังน่าเป็นห่วงภาระหนี้ของกลุ่มเจนวายจะกระทบกับประสิทธิภาพาการทำงานได้ โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายจะเป็นประชากรวัยทำงานหลักของประเทศในอนาคต หากประชากรกลุ่มนี้มีปัญหาจะทำให้ภาคธุรกิจลำบาก
จึงจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีภาคธุรกิจติดต่อมายังเครดิตบูโร เพราะกังวลว่าในอนาคตอาจเอื้อให้เกิดการทุจริตในองค์กรได้ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว หลายบริษัทจึงเริ่มมีการวางแผนการเงินในองค์กร สอนการเงินส่วนบุคคลให้พนักงาน
"หากคนรุ่นใหม่วัยทำงานเสพติดหนี้แต่ต้น ประสิทธิภาพทำงานมาจากไหน หากถูกเชิญชวนให้เล่นพนันและใช้ชีวิตไม่ระวังจะเอาใจไปทำงานได้ไง
อนาคตเมื่อโตใครจะช่วยใครได้ ต่างคนพยายามหมุนหนี้อยู่ หากรายได้ไม่เพิ่มหรือโบนัสไม่เยอะในอนาคตจะเอาที่ไหนมาจ่ายหนี้ เราอย่าลืมว่าเรามีคนอยู่ในวันทำงานจำนวนจำกัด ถ้าวันนี้เจอปัญหาไปก่อน การเติบโตของคนกลุ่มนี้ในอนาคตจะยาก ภาคธุรกิจจะลำบาก ปัญหาการเงินจึงเป็นปัญหาสังคมและกลายเป็นปัญหาในองค์กร ในขณะนี้ภาคธุรกิจเริ่มเห็นปัญหาภาระหนี้ของคนในองค์กรที่พนักงานถูกตามหนี้มากขึ้น"
ในส่วนของเครดิตบูโรพยายามโปรโมท การให้ความรู้ทางการเงิน และสนับสนุนการการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ให้สินเชื่อกับผู้ที่มีวุฒิภาวะทางการเงินเพียงพอ นอกจากนี้สิ่งที่เครดิตบูโรพยายามดำเนินการคือ รับคำเชิญกับองค์กรธุรกิจให้เข้าไปตรวจสุขภาพทางการเงินพนักงาน และดึงพันธมิตรเช่นศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และสมาคมนักวางแผนการเงินไทย (TFPA) เข้ามาช่วยอบรมพนักงาน ขณะเดียวกันหากเห็นโปรแกรมทางการเงินที่หมิ่นเหม่ก็จะเตือนผู้ประกอบการ
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/679191