สุรพล โอภาสเสถียร’ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด บอกว่า จากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนที่รวบรวมจากสถาบันการเงินสมาชิกเครดิตบูโรกว่า 158 แห่ง สิ้นสุด ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2567 ประเทศไทยมียอดสินเชื่อ 13.63 ล้านล้านบาท มีการเติบโตเพียงแค่ 0.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือเรียกว่า “แทบไม่มีการเติบโต” เลย
แต่ ‘หนี้เสีย’ หรือ NPL มีจำนวน 1.18 ล้านล้านบาท กำลังเคลื่อนช้าๆ ไปสู่ตัวเลข 1.2 ล้านล้านบาท ตามคาดการณ์เมื่อต้นปี 2567 โดยคิดเป็นอัตราส่วน 8.7% ของยอดสินเชื่อรวมทั้งหมด
ผู้บริหารของเครดิตบูโร บอกว่า หนี้เสียค้างเกิน 90 วัน กำลังรอมาตรการแก้ไขแบบแรงๆ พอจะจูงใจเจ้าหนี้และลูกหนี้ให้เข้ามาตกลงกัน
นอกจากนั้น ยังมี ‘หนี้กำลังจะเสีย’ หรือ หนี้ต้องจับตาพิเศษ (SM) ที่มียอดในเดือนสิงหาคม 6.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.7% ของสินเชื่อทั้งหมด ที่ตอนนี้มี ‘มาตรการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน’ ทำหน้าที่เป็นฝายทดน้ำเข้ามาช่วยไม่ให้หนี้ SM ไหลไปเป็นหนี้ NPL
โดย ‘มาตรการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน’ มีบันทึกในระบบเครดิตบูโรแล้วกว่า 1 ล้านบัญชี (เมษายน-สิงหาคม 2567) จำนวนเงินสะสม 5.4 แสนล้านบาท เนื่องด้วยเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ เจ้าหนี้ต้องยื่นข้อเสนอ เมื่อเห็นว่าลูกหนี้จะผ่อนตามเงื่อนไขเดิมไม่ไหว หรือปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่จะค้างเกิน 90 วัน
แต่เมื่อมีการบันทึกในระบบเครดิตบูโร จึงทำให้ ‘ลูกหนี้’ ไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ โดยหลายรายร้องกับเครดิตบูโรว่า ยอมเข้าโครงการโดยไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง รวมถึงไม่ทราบว่าจะมีการบันทึกรายการการปรับโครงสร้างหนี้ลงในเครดิตบูโร หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ถ้ารู้ก็จะไม่เข้าโครงการตั้งแต่แรก”
ต่อมา ‘สุรพล’ ยังได้พูดถึงประเด็น ‘กนง. แถลงชี้แจงผลการตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบาย’ โดยระบุว่า แม้สินเชื่อทุกประเภทจะเติบโตในอัตราลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อ SME ที่หดตัว 3.3% แต่สัดส่วน NPLs ในกลุ่ม SMEs ของสถาบันการเงินกลับไปถึง 9.1%
ขณะที่ กนง. ให้เหตุผลหนึ่งในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายว่ามาจาก สินเชื่อโดยรวมชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต รวมถึงด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และลูกหนี้กลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง กนง. จึงเห็นว่า การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ใต้บริบทที่สินเชื่อขยายตัวชะลอลง
เพิ่มเติมคือ ‘บัญชีสินเชื่อ’ ที่ถือว่าเป็น ‘หนี้เรื้อรัง’ ที่ควรต้องได้รับการแก้ไข (Severe PD) เป็นกลุ่มที่ได้รับข้อเสนอจากเจ้าหนี้ให้เข้าโครงการแก้ไขและลูกหนี้ตอบรับการเข้ากระบวนการแก้ไขมีจำนวนเพียง 5.3 พันบัญชีจากจำนวน 5 แสนบัญชีที่เข้าข่ายหนี้เรื้อรัง และคิดเป็นเงิน 247 ล้านบาทจากยอดหนี้เรื้อรัง 9.7 หมื่นล้านบาท
ดูเหมือน ‘ผู้จัดการใหญ่ของเครดิตบูโร’ กำลังเตือนเราถึงสถานการณ์หนี้เสียและหนี้กำลังจะเสียในไทยที่ยังไม่คลี่คลาย
ที่มา : Brand Inside
เครดิตบูโร เผย 'หนี้เสีย' จ่อแตะ 1.2 ล้านล้านบาทปลายปีนี้ ตอนนี้ 1.18 ล้านล้าน คิดเป็น 8.7% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด
แต่ ‘หนี้เสีย’ หรือ NPL มีจำนวน 1.18 ล้านล้านบาท กำลังเคลื่อนช้าๆ ไปสู่ตัวเลข 1.2 ล้านล้านบาท ตามคาดการณ์เมื่อต้นปี 2567 โดยคิดเป็นอัตราส่วน 8.7% ของยอดสินเชื่อรวมทั้งหมด
นอกจากนั้น ยังมี ‘หนี้กำลังจะเสีย’ หรือ หนี้ต้องจับตาพิเศษ (SM) ที่มียอดในเดือนสิงหาคม 6.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.7% ของสินเชื่อทั้งหมด ที่ตอนนี้มี ‘มาตรการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน’ ทำหน้าที่เป็นฝายทดน้ำเข้ามาช่วยไม่ให้หนี้ SM ไหลไปเป็นหนี้ NPL
โดย ‘มาตรการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน’ มีบันทึกในระบบเครดิตบูโรแล้วกว่า 1 ล้านบัญชี (เมษายน-สิงหาคม 2567) จำนวนเงินสะสม 5.4 แสนล้านบาท เนื่องด้วยเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ เจ้าหนี้ต้องยื่นข้อเสนอ เมื่อเห็นว่าลูกหนี้จะผ่อนตามเงื่อนไขเดิมไม่ไหว หรือปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่จะค้างเกิน 90 วัน
แต่เมื่อมีการบันทึกในระบบเครดิตบูโร จึงทำให้ ‘ลูกหนี้’ ไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ โดยหลายรายร้องกับเครดิตบูโรว่า ยอมเข้าโครงการโดยไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง รวมถึงไม่ทราบว่าจะมีการบันทึกรายการการปรับโครงสร้างหนี้ลงในเครดิตบูโร หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ถ้ารู้ก็จะไม่เข้าโครงการตั้งแต่แรก”
ต่อมา ‘สุรพล’ ยังได้พูดถึงประเด็น ‘กนง. แถลงชี้แจงผลการตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบาย’ โดยระบุว่า แม้สินเชื่อทุกประเภทจะเติบโตในอัตราลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อ SME ที่หดตัว 3.3% แต่สัดส่วน NPLs ในกลุ่ม SMEs ของสถาบันการเงินกลับไปถึง 9.1%
ขณะที่ กนง. ให้เหตุผลหนึ่งในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายว่ามาจาก สินเชื่อโดยรวมชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต รวมถึงด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และลูกหนี้กลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง กนง. จึงเห็นว่า การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ใต้บริบทที่สินเชื่อขยายตัวชะลอลง
เพิ่มเติมคือ ‘บัญชีสินเชื่อ’ ที่ถือว่าเป็น ‘หนี้เรื้อรัง’ ที่ควรต้องได้รับการแก้ไข (Severe PD) เป็นกลุ่มที่ได้รับข้อเสนอจากเจ้าหนี้ให้เข้าโครงการแก้ไขและลูกหนี้ตอบรับการเข้ากระบวนการแก้ไขมีจำนวนเพียง 5.3 พันบัญชีจากจำนวน 5 แสนบัญชีที่เข้าข่ายหนี้เรื้อรัง และคิดเป็นเงิน 247 ล้านบาทจากยอดหนี้เรื้อรัง 9.7 หมื่นล้านบาท
ดูเหมือน ‘ผู้จัดการใหญ่ของเครดิตบูโร’ กำลังเตือนเราถึงสถานการณ์หนี้เสียและหนี้กำลังจะเสียในไทยที่ยังไม่คลี่คลาย