SCB ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่ 1 พ.ย.นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ที่มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.50% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปี พร้อมขยายมาตรการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางถึงสิ้นปี 67
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวไม่สูงนักใกล้เคียงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินไว้และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในสิ้นปี
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ของลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการภาคธุรกิจ
โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.575% เป็น 7.325% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.30% เป็น 7.175% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.05% เป็น 6.925% ต่อปี
ก่อนหน้านี้ ธนาคารได้ออกมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคลและ SME รายย่อย ตั้งแต่ 16 พ.ค.-15 พ.ย.2567 นั้น ธนาคารได้พิจารณาขยายมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวออกไปจนถึง 31 ธ.ค.2567
Cr.
https://www.posttoday.com/business/financial/714815
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB เปิดเผยว่า TTB มีความห่วงใยลูกค้า พร้อมขานรับมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.50% เหลือ 2.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและเป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชน
ดังนั้น TTB จึงประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทสูงสุด 0.25% ต่อปี ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย MOR ลดลง 0.25% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย MLR และอัตราดอกเบี้ย MRR ลดลง 0.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2567 เป็นต้นไป
สำหรับลูกค้ารายย่อยและ SME ในกลุ่มเปราะบาง TTB ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและสภาพเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มนี้มาก่อนหน้า นอกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ธนาคารยังมีการต่ออายุมาตรการออกไปจนถึง 31 ธ.ค.2567 จากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 15 พ.ย.2567 เพื่อช่วยพยุงสภาพคล่องและลดภาระหนี้ให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบางให้ได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ประกาศอีก 0.25%
จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะทำให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว มีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงรวม 0.375-0.50% ต่อปี ทั้งนี้ ธนาคารยังมีแผนที่จะปรับมาตรการเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตามความเหมาะสม เมื่อมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลง
สำหรับด้านเงินฝาก เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าเงินออมที่กังวลว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะทยอยปรับลดลง ทาง TTB มีบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ อัพ แอนด์ อัพ 24 เดือน ที่ตอบโจทย์ลูกค้าเงินฝากทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะให้ดอกเบี้ยสูงตั้งแต่ 6 เดือนแรก เริ่มต้นที่ 1.5% ต่อปี และรับดอกเบี้ยสูงขึ้นทุกๆ 6 เดือน โดยรับดอกเบี้ยสูงสุด 2.0% ต่อปี และยังสามารถถอนก่อนครบกำหนดได้หากมีความจำเป็นในการใช้เงิน จึงเหมาะกับทั้งผู้ที่ฝากระยะสั้นก็จะได้รับดอกเบี้ยสูง และหากฝากต่อเนื่องก็จะเป็นการล็อกเรทอัตราดอกเบี้ยที่ดีในระยะยาว
TTB พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆ ตามความเหมาะสม ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถจัดการภาระหนี้ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนผ่านโซลูชันรวบหนี้ และโซลูชันโอนยอดหนี้ เพื่อให้ดอกเบี้ยต่ำลง ช่วยลดภาระดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่อง
ควบคู่กับแนะนำการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อการจัดการหนี้ที่สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระคืนอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ตามเป้าหมายของธนาคารที่มุ่งมั่นทำให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้และอนาคต
Cr.
https://www.posttoday.com/business/financial/714818
ธ.ก.ส. ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุด 0.25% ต่อปี ตามมติกนง. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรลูกค้า-หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ พร้อมตรึงดอกเบี้ยเงินฝากไว้ที่ระดับเดิม
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.50 ต่อปี% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปีนั้น ธ.ก.ส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายรัฐบาลและพัฒนาภาคการเกษตรสู่ความยั่งยืน ได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% ต่อปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลดลง 0.10% ต่อปี จาก 6.975% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.875% ต่อปี และกรณีลูกค้าเกษตรกรกลุ่มเปราะบางและ SMEs ที่ประสบปัญหาในการผลิตจนทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ NPLs ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ปรับลดลง 0.25% ต่อปี จาก 6.975% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.725% ต่อปี
ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาออกไปอีกเป็นเวลา 5 เดือน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2567 จนถึง 31 มีนาคม 2568 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าประเภทเงินเกินบัญชี (MOR) ลดลง 0.25% ต่อปี จาก 7.125% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.875% ต่อปี ขณะเดียวกัน ธ.ก.ส. พร้อมตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทออกไปให้นานที่สุด เพื่อส่งเสริมวินัยการออมเงินและร่วมสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในการดูแลปัญหาหนี้สิน พัฒนาคุณภาพชีวิต และรายได้ของ เกษตรกรอย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคาร อาทิ มาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย โครงการหนี้นอกบอก ธ.ก.ส. ควบคู่กับการสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายและ การประกอบอาชีพ เช่น สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร ระยะที่ 2 สินเชื่อแทนคุณ และสินเชื่อเงินด่วนคนดี สำหรับ สมาชิก อสม. และ อสส. และมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับหนี้นอกระบบ เป็นต้น
Cr.
https://www.posttoday.com/business/714817
KBANK ประเดิมแบงก์พาณิชย์แรก ลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% คงดอกเบี้ยฝาก
21 ตุลาคม 2567
KBANK ลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ช่วยดูแลและเพิ่มสภาพคล่อง แบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม พร้อมคงดอกเบี้ยเงินฝาก และต่ออายุโครงการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางถึงสิ้นปี 67 มีผลในวันที่ 1 พ.ย.นี้
นายจงรัก รัตนเพียร ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารพร้อมตอบรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.50% เป็น 2.25% โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสูงสุด 0.25%
ทั้งนี้ เพื่อช่วยดูแลและเพิ่มสภาพคล่องโดยการแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการรายเล็กที่รายได้ยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัวและภาระหนี้ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังเป็นการช่วยพยุงและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ธนาคารยังขยายระยะเวลาสำหรับโครงการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2567 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติมให้สามารถปรับตัวในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ยังเติบโตแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วนและยังคงมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัย
ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามรายละเอียด ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับลด 0.12% จาก 7.27% เป็น 7.15%
อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับลด 0.25% จาก 7.59% เป็น 7.34%
อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับลด 0.12% จาก 7.30% เป็น 7.18%
ในขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังไม่มีการปรับลดแต่อย่างใด โดยให้มีผลในวันที่ 1 พ.ย.2567 เป็นต้นไป
Cr.
https://www.posttoday.com/business/financial/714812
SCB , TTB , ธกส. , กสิกร ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี มีผล 1 พ.ย.นี้
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวไม่สูงนักใกล้เคียงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินไว้และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในสิ้นปี
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ของลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการภาคธุรกิจ
โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.575% เป็น 7.325% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.30% เป็น 7.175% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.05% เป็น 6.925% ต่อปี
ก่อนหน้านี้ ธนาคารได้ออกมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคลและ SME รายย่อย ตั้งแต่ 16 พ.ค.-15 พ.ย.2567 นั้น ธนาคารได้พิจารณาขยายมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวออกไปจนถึง 31 ธ.ค.2567
Cr. https://www.posttoday.com/business/financial/714815
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB เปิดเผยว่า TTB มีความห่วงใยลูกค้า พร้อมขานรับมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.50% เหลือ 2.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและเป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชน
ดังนั้น TTB จึงประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทสูงสุด 0.25% ต่อปี ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย MOR ลดลง 0.25% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย MLR และอัตราดอกเบี้ย MRR ลดลง 0.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2567 เป็นต้นไป
สำหรับลูกค้ารายย่อยและ SME ในกลุ่มเปราะบาง TTB ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและสภาพเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มนี้มาก่อนหน้า นอกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ธนาคารยังมีการต่ออายุมาตรการออกไปจนถึง 31 ธ.ค.2567 จากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 15 พ.ย.2567 เพื่อช่วยพยุงสภาพคล่องและลดภาระหนี้ให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบางให้ได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ประกาศอีก 0.25%
จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะทำให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว มีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงรวม 0.375-0.50% ต่อปี ทั้งนี้ ธนาคารยังมีแผนที่จะปรับมาตรการเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตามความเหมาะสม เมื่อมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลง
สำหรับด้านเงินฝาก เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าเงินออมที่กังวลว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะทยอยปรับลดลง ทาง TTB มีบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ อัพ แอนด์ อัพ 24 เดือน ที่ตอบโจทย์ลูกค้าเงินฝากทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะให้ดอกเบี้ยสูงตั้งแต่ 6 เดือนแรก เริ่มต้นที่ 1.5% ต่อปี และรับดอกเบี้ยสูงขึ้นทุกๆ 6 เดือน โดยรับดอกเบี้ยสูงสุด 2.0% ต่อปี และยังสามารถถอนก่อนครบกำหนดได้หากมีความจำเป็นในการใช้เงิน จึงเหมาะกับทั้งผู้ที่ฝากระยะสั้นก็จะได้รับดอกเบี้ยสูง และหากฝากต่อเนื่องก็จะเป็นการล็อกเรทอัตราดอกเบี้ยที่ดีในระยะยาว
TTB พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆ ตามความเหมาะสม ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถจัดการภาระหนี้ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนผ่านโซลูชันรวบหนี้ และโซลูชันโอนยอดหนี้ เพื่อให้ดอกเบี้ยต่ำลง ช่วยลดภาระดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่อง
ควบคู่กับแนะนำการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อการจัดการหนี้ที่สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระคืนอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ตามเป้าหมายของธนาคารที่มุ่งมั่นทำให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้และอนาคต
Cr. https://www.posttoday.com/business/financial/714818
ธ.ก.ส. ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุด 0.25% ต่อปี ตามมติกนง. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรลูกค้า-หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ พร้อมตรึงดอกเบี้ยเงินฝากไว้ที่ระดับเดิม
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.50 ต่อปี% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปีนั้น ธ.ก.ส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายรัฐบาลและพัฒนาภาคการเกษตรสู่ความยั่งยืน ได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% ต่อปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลดลง 0.10% ต่อปี จาก 6.975% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.875% ต่อปี และกรณีลูกค้าเกษตรกรกลุ่มเปราะบางและ SMEs ที่ประสบปัญหาในการผลิตจนทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ NPLs ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ปรับลดลง 0.25% ต่อปี จาก 6.975% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.725% ต่อปี
ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาออกไปอีกเป็นเวลา 5 เดือน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2567 จนถึง 31 มีนาคม 2568 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าประเภทเงินเกินบัญชี (MOR) ลดลง 0.25% ต่อปี จาก 7.125% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.875% ต่อปี ขณะเดียวกัน ธ.ก.ส. พร้อมตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทออกไปให้นานที่สุด เพื่อส่งเสริมวินัยการออมเงินและร่วมสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในการดูแลปัญหาหนี้สิน พัฒนาคุณภาพชีวิต และรายได้ของ เกษตรกรอย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคาร อาทิ มาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย โครงการหนี้นอกบอก ธ.ก.ส. ควบคู่กับการสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายและ การประกอบอาชีพ เช่น สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร ระยะที่ 2 สินเชื่อแทนคุณ และสินเชื่อเงินด่วนคนดี สำหรับ สมาชิก อสม. และ อสส. และมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับหนี้นอกระบบ เป็นต้น
Cr. https://www.posttoday.com/business/714817
KBANK ประเดิมแบงก์พาณิชย์แรก ลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% คงดอกเบี้ยฝาก
21 ตุลาคม 2567
KBANK ลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ช่วยดูแลและเพิ่มสภาพคล่อง แบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม พร้อมคงดอกเบี้ยเงินฝาก และต่ออายุโครงการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางถึงสิ้นปี 67 มีผลในวันที่ 1 พ.ย.นี้
นายจงรัก รัตนเพียร ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารพร้อมตอบรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.50% เป็น 2.25% โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสูงสุด 0.25%
ทั้งนี้ เพื่อช่วยดูแลและเพิ่มสภาพคล่องโดยการแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการรายเล็กที่รายได้ยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัวและภาระหนี้ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังเป็นการช่วยพยุงและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ธนาคารยังขยายระยะเวลาสำหรับโครงการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2567 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติมให้สามารถปรับตัวในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ยังเติบโตแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วนและยังคงมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัย
ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามรายละเอียด ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับลด 0.12% จาก 7.27% เป็น 7.15%
อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับลด 0.25% จาก 7.59% เป็น 7.34%
อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับลด 0.12% จาก 7.30% เป็น 7.18%
ในขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังไม่มีการปรับลดแต่อย่างใด โดยให้มีผลในวันที่ 1 พ.ย.2567 เป็นต้นไป
Cr. https://www.posttoday.com/business/financial/714812