ความจริง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ตามธรรมชาติอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งความจริงนี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. ความจริงสมมติ คือเป็นความจริงตามที่ชาวโลกเขาสมมติกันขึ้นมา เช่น ตัวเรา, ตัวเขา, ชาย, หญิง, หล่อ, สวย, ขี้หร่, คนแก่, เด็ก, พ่อ, แม่, ลูก, สามี, ภรรยา, ต้นไม้, ภูเขา, รถยนต์, เงิน, ทอง, รวย, จน, มีเกียรติ, ไร้เกียติ, สูง, ต่ำ, ดำ, ขาว, ได้, เสีย, ดี, ชั่ว, โง่, ฉลาด, สุข, ทุกข์ เป็นต้น ซึ่งความจริงสมมตินี้ยังไม่แน่นอน เพราะยังไม่ใช่ความจริงแท้
๒. ความจริงแท้ คือเป็นความจริงสูงสุดของธรรมชาติที่เป็นเรื่องความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) ตามกฎไตรลักษณ์ ที่บอกว่า สิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง มีสภาวะที่ต้องทน และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งความจริงแท้นี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
คำต่างๆที่ชาวโลกเขาพูดกันอยู่นั้น มันเป็นเพียงแค่การสมมติขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารเท่านั้น ซึ่งคำต่างๆเหล่านี้เป็นคำที่เกิดมาจากสามัญสำนึกของมนุษย์ เช่น ตัวเรา ตัวเขา พ่อ แม่ ลูก เป็นต้น ที่ใครๆก็รู้สึกตรงกันว่าสิ่งที่เราพูดถึงนั้นมันมีอยู่จริงๆ ซึ่งนี่คือความรู้และเข้าใจที่ถูกต้องแค่เพียงระดับโลกหรือระดับสติปัญญาของคนธรรมดาทั่วไป (ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้าน) ที่ยังไม่มีสติปัญญาระดับสูงตามหลักพุทธศาสนา (ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิระดับอริยะ) เพราะความจริงแท้นั้นจะเป็นความรู้และเข้าใจว่า สิ่งต่างๆที่ชาวโลกเขาสมมติเรียกกันอยู่นั้น มันไม่ได้เป็นตัวตนจริงๆ (อัตตา) ตามที่พูดกันอยู่เลย เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลกนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง (สร้าง ทำ ประกอบ) ให้เกิดขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยตามกฏอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายจึงไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะหาตัวตนจริงๆของมันเองไม่มี (สุญญตา)
การมองโลกนั้นถ้าเรามองอย่างผิวเผินหรือหยาบๆโดยไม่สังเกตหรือไม่ตั้งใจพิจารณา (คือไม่มีสติ-สมาธิ-ปัญญา) เราก็จะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆของโลกนั้นมันมีอยู่จริงๆ ซึ่งลักษณะนี้ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าเป็น อวิชชา ที่หมายถึง ความรู้ผิด (โดยความรู้ผิดสูงสุดก็คือความรู้ว่ามีตัวเรา) ซึ่งอวิชชานี้เมื่อเกิดขึ้นมาในจิตของเรา (ตามที่สมมติเรียก) แล้ว มันก็จะครอบงำจิตของเราทำให้จิตของเราปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่จริงๆขึ้นมา และเมื่อจิตของเราได้สัมผัสโลกผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตของเราก็จะเกิดความยึดถือ (อุปาทาน) ว่าจิตใจและร่างกายนี้คือตัวตนของเราจริงๆขึ้นมา รวมทั้งเกิดความยึดถือว่าสิ่งต่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา เช่น พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา ทรัพย์ เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น ว่าเป็นของเราขึ้นมาอีกด้วย (ที่เรียกว่า ตัวเรา-ของเรา) ซึ่งเมื่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเมื่อใด ก็ย่อมที่จะเกิดความทุกข์ (เช่น ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความหนัก-เหนื่อยใจ หรือความทรมานใจ ไม่สบายใจ เป็นต้น) ขึ้นมาด้วยเสมอ
แต่ถ้าเรามองโลกอย่างชาญฉลาด คือด้วยสติปัญญาหรือด้วยความตั้งใจ (คือด้วยสติ-สมาธิ-ปัญญา ตามหลักอริยมรรค) เราก็จะมองเห็นแต่ความว่างจากตัวตนที่แท้จริง (ที่เรียกว่าเห็นสุญญตา) เพราะเรามองเห็นแต่เหตุและปัจจัยที่มาปรุงแต่งให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้มองเห็นว่าเป็นตัวตนจริงๆตามที่ชาวโลกเขารู้สึกกัน ซึ่งเมื่อเรามองเห็นความว่าง (สุญญตา) อยู่เช่นนี้ ก็จะทำให้อวิชชาที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิดขึ้น หรือที่กำลังเกิดอยู่ในจิตของเราก็จะดับหายไปทั้นที (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่ออวิชชาไม่มี จิตก็จะไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา รวมทั้งไม่เกิดความยึดถือว่าจิตใจและร่างกายนี้คือตัวเรา-ของเราขึ้นมาด้วย และเมื่อไม่มีความยึดถือ จิตของเราก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะนิพพาน (สงบเย็น) ซึ่งนี่ก็คือการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคโดยสรุป
จริงสมมติ - จริงแท้
๑. ความจริงสมมติ คือเป็นความจริงตามที่ชาวโลกเขาสมมติกันขึ้นมา เช่น ตัวเรา, ตัวเขา, ชาย, หญิง, หล่อ, สวย, ขี้หร่, คนแก่, เด็ก, พ่อ, แม่, ลูก, สามี, ภรรยา, ต้นไม้, ภูเขา, รถยนต์, เงิน, ทอง, รวย, จน, มีเกียรติ, ไร้เกียติ, สูง, ต่ำ, ดำ, ขาว, ได้, เสีย, ดี, ชั่ว, โง่, ฉลาด, สุข, ทุกข์ เป็นต้น ซึ่งความจริงสมมตินี้ยังไม่แน่นอน เพราะยังไม่ใช่ความจริงแท้
๒. ความจริงแท้ คือเป็นความจริงสูงสุดของธรรมชาติที่เป็นเรื่องความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) ตามกฎไตรลักษณ์ ที่บอกว่า สิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง มีสภาวะที่ต้องทน และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งความจริงแท้นี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
คำต่างๆที่ชาวโลกเขาพูดกันอยู่นั้น มันเป็นเพียงแค่การสมมติขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารเท่านั้น ซึ่งคำต่างๆเหล่านี้เป็นคำที่เกิดมาจากสามัญสำนึกของมนุษย์ เช่น ตัวเรา ตัวเขา พ่อ แม่ ลูก เป็นต้น ที่ใครๆก็รู้สึกตรงกันว่าสิ่งที่เราพูดถึงนั้นมันมีอยู่จริงๆ ซึ่งนี่คือความรู้และเข้าใจที่ถูกต้องแค่เพียงระดับโลกหรือระดับสติปัญญาของคนธรรมดาทั่วไป (ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้าน) ที่ยังไม่มีสติปัญญาระดับสูงตามหลักพุทธศาสนา (ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิระดับอริยะ) เพราะความจริงแท้นั้นจะเป็นความรู้และเข้าใจว่า สิ่งต่างๆที่ชาวโลกเขาสมมติเรียกกันอยู่นั้น มันไม่ได้เป็นตัวตนจริงๆ (อัตตา) ตามที่พูดกันอยู่เลย เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลกนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง (สร้าง ทำ ประกอบ) ให้เกิดขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยตามกฏอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายจึงไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะหาตัวตนจริงๆของมันเองไม่มี (สุญญตา)
การมองโลกนั้นถ้าเรามองอย่างผิวเผินหรือหยาบๆโดยไม่สังเกตหรือไม่ตั้งใจพิจารณา (คือไม่มีสติ-สมาธิ-ปัญญา) เราก็จะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆของโลกนั้นมันมีอยู่จริงๆ ซึ่งลักษณะนี้ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าเป็น อวิชชา ที่หมายถึง ความรู้ผิด (โดยความรู้ผิดสูงสุดก็คือความรู้ว่ามีตัวเรา) ซึ่งอวิชชานี้เมื่อเกิดขึ้นมาในจิตของเรา (ตามที่สมมติเรียก) แล้ว มันก็จะครอบงำจิตของเราทำให้จิตของเราปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่จริงๆขึ้นมา และเมื่อจิตของเราได้สัมผัสโลกผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตของเราก็จะเกิดความยึดถือ (อุปาทาน) ว่าจิตใจและร่างกายนี้คือตัวตนของเราจริงๆขึ้นมา รวมทั้งเกิดความยึดถือว่าสิ่งต่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา เช่น พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา ทรัพย์ เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น ว่าเป็นของเราขึ้นมาอีกด้วย (ที่เรียกว่า ตัวเรา-ของเรา) ซึ่งเมื่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเมื่อใด ก็ย่อมที่จะเกิดความทุกข์ (เช่น ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความหนัก-เหนื่อยใจ หรือความทรมานใจ ไม่สบายใจ เป็นต้น) ขึ้นมาด้วยเสมอ
แต่ถ้าเรามองโลกอย่างชาญฉลาด คือด้วยสติปัญญาหรือด้วยความตั้งใจ (คือด้วยสติ-สมาธิ-ปัญญา ตามหลักอริยมรรค) เราก็จะมองเห็นแต่ความว่างจากตัวตนที่แท้จริง (ที่เรียกว่าเห็นสุญญตา) เพราะเรามองเห็นแต่เหตุและปัจจัยที่มาปรุงแต่งให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้มองเห็นว่าเป็นตัวตนจริงๆตามที่ชาวโลกเขารู้สึกกัน ซึ่งเมื่อเรามองเห็นความว่าง (สุญญตา) อยู่เช่นนี้ ก็จะทำให้อวิชชาที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิดขึ้น หรือที่กำลังเกิดอยู่ในจิตของเราก็จะดับหายไปทั้นที (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่ออวิชชาไม่มี จิตก็จะไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา รวมทั้งไม่เกิดความยึดถือว่าจิตใจและร่างกายนี้คือตัวเรา-ของเราขึ้นมาด้วย และเมื่อไม่มีความยึดถือ จิตของเราก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะนิพพาน (สงบเย็น) ซึ่งนี่ก็คือการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคโดยสรุป