เมื่อเรารู้จักเรื่องธาตุ ๖, ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, วิญญาณ ๖, ผัสสะ ๖, สัญญา ๖, เวทนา ๖, และสังขาร ๓ แล้ว ต่อไปเราก็จะมาศึกษาถึงเรื่องระบบการทำงานของจิตใจอย่างละเอียด ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร? และทำงานอย่างไร? จึงทำให้เกิดจิตหรือใจขึ้นมา รวมทั้งจิตใจมันมีการปรุงแต่งอย่างไร จึงทำให้ความทุกข์เกิดขึ้นและดับหายไป (หรือไม่เกิดขึ้น)
คำว่า จิต หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่คิดนึก ส่วนคำว่า ใจ หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้และรู้สึก ซึ่งบางทีก็เรียกรวมๆกันว่า จิตใจ ที่หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด หรือจะเรียกแยกกันก็ได้ หรือใช้เรียกแทนกันก็ได้
โดยพื้นฐานก็คือร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งร่างกายนี้จะมีระบบประสาทอยู่ ๖ จุด และที่ระบบประสาททั้ง ๖ นี้เองที่เป็นจุดที่การรับรู้ (หรือวิญญาณ) จะเกิดขึ้น คือเมื่อมีอายตนะภายนอกมากระทบ (หรือถึงกันเข้า) กับอายตนะภายในที่ตรงกัน เช่น มีรูปมากระทบตา หรือมีเสียงมากระทบหู เป็นต้น ก็จะเกิดการรับรู้ (หรือวิญญาณ) ขึ้นมาที่อายตนะภายในนั้นทันที เช่น เกิดวิญญาณทางตา (หรือการเห็นภาพ) ขึ้น หรือเกิดวิญญาณทางหู (หรือการได้ยินเสียง) ขึ้น เป็นต้น
เมื่อเกิดวิญญาณหรือการรับรู้ขึ้นมาแล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ การจำสิ่งที่รับรู้นั้นได้ (สัญญา) เช่นจำได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพอะไร หรือเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงอะไรหรือของใคร เป็นต้น ซึ่งการที่จะเกิดการจำสิ่งที่รับรู้ได้นั้นก็เพราะ สมองของเรามีข้อมูล (หรือความทรงจำ) ของสิ่งที่เรารับรู้นั้นบันทึกอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเกิดการรับรู้สิ่งใดขึ้นมา สมองก็จะนำสิ่งที่รับรู้นั้นมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่ ถ้าเปรียบเทียบแล้วตรงกัน ก็จะเกิดการจำสิ่งที่รับรู้นั้นได้ แต่ถ้าไม่มีข้อมูลก็จะไม่รู้จัก (หรือถ้าลืมไปแล้วก็จะจำไม่ได้) ยิ่งถ้าเป็นเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆที่สมองยังไม่มีความทรงจำ ก็ย่อมที่จะไม่รู้จักสิ่งที่รับรู้ใดๆได้
เมื่อเกิดการจำสิ่งที่รับรู้ได้แล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ ความรู้สึก (เวทนา) ซึ่งความรู้สึกนี้ก็มีอยู่ ๓ ชนิด ซึ่งการที่จะเกิดความรู้สึกใดขึ้นมา มันก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จำได้นั่นเอง คือเมื่อจำได้ว่าสิ่งที่รับรู้นั้นให้ความรู้สึกที่น่าพอใจ ก็จะเกิดสุขเวทนาหรือความรู้สึกที่น่าพอใจ (หรือความสุข) ขึ้นมาทันที แต่ถ้าสิ่งที่รับรู้นั้นให้ความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ ก็จะเกิดทุกขเวทนาหรือความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ (หรือความรู้สึกที่ทนได้ยาก) ขึ้นมาทันที และถ้าสิ่งที่ได้รับรู้นั้นให้ความรู้สึกที่เป็นกลางๆหรือไม่ใช่ทั้งน่าพอใจและไม่น่าพอใจ ก็จะเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้นมาทันที
เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นมาแล้ว สิ่งที่จะเกิดต่อไปก็คือ การปรุงแต่งของจิต ซึ่งการปรุงแจ่งของจิตนี้ก็แยกได้ ๒ อาการ คือ เกิดกิเลส (คือยินดี-ยินร้าย-ลังเลใจ) กับ ไม่เกิดกิเลส คือเมื่อจิตของเราไม่มีสติ ปัญญาและสมาธิ (ตามหลักอริยมรรค) เมื่อเกิดความรู้สึกที่น่าพอใจ (สุขเวทนา) ขึ้นมา จิตของเราก็จะเกิดความพอใจ (หรือยินดี หรืออยากได้ เป็นต้น) ขึ้นมาทันทีตามความเคยชิน, เมื่อเกิดความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ (ทุกขเทนา) จิตของเราก็จะเกิดความไม่พอใจ (หรือยินร้าย หรือไม่อยากได้ หรือโกรธ เกลียด กลัว เป็นต้น) ขึ้นมาทันทีตามความเคยชิน, เมื่อเกิดความรู้สึกจืดๆ (อทุกขมสุขเวทนา) ขึ้นมา จิตของเราก็จะเกิดความลังเลใจ (หรือไม่แน่ใจ) ขึ้นมาทันทีตามความเคยชิน แต่ในขณะที่เกิดความรู้สึกขึ้นมานั้น ถ้าจิตของเรามีสติ ปัญญาและสมาธิ (ตามหลักอริยมรรค) อยู่ เมื่อเกิดความรู้สึกใดขึ้นมาก็ตาม จิตของเราก็จะไม่เกิดอาการของกิเลสใดๆขึ้นมา
ระบบการทำงานของจิต
คำว่า จิต หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่คิดนึก ส่วนคำว่า ใจ หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้และรู้สึก ซึ่งบางทีก็เรียกรวมๆกันว่า จิตใจ ที่หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด หรือจะเรียกแยกกันก็ได้ หรือใช้เรียกแทนกันก็ได้
โดยพื้นฐานก็คือร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งร่างกายนี้จะมีระบบประสาทอยู่ ๖ จุด และที่ระบบประสาททั้ง ๖ นี้เองที่เป็นจุดที่การรับรู้ (หรือวิญญาณ) จะเกิดขึ้น คือเมื่อมีอายตนะภายนอกมากระทบ (หรือถึงกันเข้า) กับอายตนะภายในที่ตรงกัน เช่น มีรูปมากระทบตา หรือมีเสียงมากระทบหู เป็นต้น ก็จะเกิดการรับรู้ (หรือวิญญาณ) ขึ้นมาที่อายตนะภายในนั้นทันที เช่น เกิดวิญญาณทางตา (หรือการเห็นภาพ) ขึ้น หรือเกิดวิญญาณทางหู (หรือการได้ยินเสียง) ขึ้น เป็นต้น
เมื่อเกิดวิญญาณหรือการรับรู้ขึ้นมาแล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ การจำสิ่งที่รับรู้นั้นได้ (สัญญา) เช่นจำได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพอะไร หรือเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงอะไรหรือของใคร เป็นต้น ซึ่งการที่จะเกิดการจำสิ่งที่รับรู้ได้นั้นก็เพราะ สมองของเรามีข้อมูล (หรือความทรงจำ) ของสิ่งที่เรารับรู้นั้นบันทึกอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเกิดการรับรู้สิ่งใดขึ้นมา สมองก็จะนำสิ่งที่รับรู้นั้นมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่ ถ้าเปรียบเทียบแล้วตรงกัน ก็จะเกิดการจำสิ่งที่รับรู้นั้นได้ แต่ถ้าไม่มีข้อมูลก็จะไม่รู้จัก (หรือถ้าลืมไปแล้วก็จะจำไม่ได้) ยิ่งถ้าเป็นเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆที่สมองยังไม่มีความทรงจำ ก็ย่อมที่จะไม่รู้จักสิ่งที่รับรู้ใดๆได้
เมื่อเกิดการจำสิ่งที่รับรู้ได้แล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ ความรู้สึก (เวทนา) ซึ่งความรู้สึกนี้ก็มีอยู่ ๓ ชนิด ซึ่งการที่จะเกิดความรู้สึกใดขึ้นมา มันก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จำได้นั่นเอง คือเมื่อจำได้ว่าสิ่งที่รับรู้นั้นให้ความรู้สึกที่น่าพอใจ ก็จะเกิดสุขเวทนาหรือความรู้สึกที่น่าพอใจ (หรือความสุข) ขึ้นมาทันที แต่ถ้าสิ่งที่รับรู้นั้นให้ความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ ก็จะเกิดทุกขเวทนาหรือความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ (หรือความรู้สึกที่ทนได้ยาก) ขึ้นมาทันที และถ้าสิ่งที่ได้รับรู้นั้นให้ความรู้สึกที่เป็นกลางๆหรือไม่ใช่ทั้งน่าพอใจและไม่น่าพอใจ ก็จะเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้นมาทันที
เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นมาแล้ว สิ่งที่จะเกิดต่อไปก็คือ การปรุงแต่งของจิต ซึ่งการปรุงแจ่งของจิตนี้ก็แยกได้ ๒ อาการ คือ เกิดกิเลส (คือยินดี-ยินร้าย-ลังเลใจ) กับ ไม่เกิดกิเลส คือเมื่อจิตของเราไม่มีสติ ปัญญาและสมาธิ (ตามหลักอริยมรรค) เมื่อเกิดความรู้สึกที่น่าพอใจ (สุขเวทนา) ขึ้นมา จิตของเราก็จะเกิดความพอใจ (หรือยินดี หรืออยากได้ เป็นต้น) ขึ้นมาทันทีตามความเคยชิน, เมื่อเกิดความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ (ทุกขเทนา) จิตของเราก็จะเกิดความไม่พอใจ (หรือยินร้าย หรือไม่อยากได้ หรือโกรธ เกลียด กลัว เป็นต้น) ขึ้นมาทันทีตามความเคยชิน, เมื่อเกิดความรู้สึกจืดๆ (อทุกขมสุขเวทนา) ขึ้นมา จิตของเราก็จะเกิดความลังเลใจ (หรือไม่แน่ใจ) ขึ้นมาทันทีตามความเคยชิน แต่ในขณะที่เกิดความรู้สึกขึ้นมานั้น ถ้าจิตของเรามีสติ ปัญญาและสมาธิ (ตามหลักอริยมรรค) อยู่ เมื่อเกิดความรู้สึกใดขึ้นมาก็ตาม จิตของเราก็จะไม่เกิดอาการของกิเลสใดๆขึ้นมา