ส่องเครื่องบินฝึกนักบินใหม่ของ ทอ.ไทย KAI T50TH Golden Eagle

กระทู้ข่าว

เมื่อเครื่องบินฝึกหัดนักบินใหม่เริ่มหมดอายุบินหรือมีค่าใช้จ่ายสูงในการซ่อมบำรุงเพื่อรักษาสภาพให้สามารถใช้งานได้ ความจำเป็นในการหาเครื่องบินฝึกรุ่นใหม่เข้าประจำการแทนที่ของเก่าที่เริ่มหมดสภาพและอาจเกิดอุบัติเหตุ จากความชราภาพรับใช้นักบินฝึกหัดมานานแสนนาน เครื่องบินฝึกแบบเจ็ตสองที่นั่งความเร็วเหนือเสียงประสิทธิภาพสูงจึงมีความเหมาะสมกับการฝึกนักบินใหม่ของกองทัพอากาศไทย เนื่องจากเครื่องบินขับไล่สมรรถนะดีที่มีประจำการอยู่ในกองทัพทั้ง F16 และ JAS-39 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีความเร็วเหนือเสียงที่มีความทันสมัย ในส่วนของเครื่องบินฝึกสำหรับใช้ฝึกหัดนักบินรุ่นใหม่ของกองทัพนั้น จำเป็นจะต้องมีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีใหม่ที่เชื่อมโยงกันกับเครื่องบินรบที่ใช้งานประจำการอยู่แล้ว วันที่ 17 กันยายน 2558 พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง เสนาธิการทหารอากาศในฐานะประธานกรรมธิการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ขั้นต้นของกองทัพอากาศ เป็นผู้แทนกองทัพอากาศลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T50 จำนวน 4 ลำ พร้อมอะไหล่ขั้นต้น อุปกรณ์เครื่องมือประกอบการบินและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พร้อมนักบิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงข้อเสนอพิเศษจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท Korea Aerospace Industries






เครื่องบินฝึกขับไล่ความเร็วเหนือเสียง T50TH นับเป็นอากาศยานฝึกนักบินใหม่ด้วยเครื่องยนต์เจ็ตที่สามารถทำความเร็วเหนือเสียงที่เหนือชั่นกว่าเครื่องฝึกบินเครื่องยนต์เจ็ตความเร็วต่ำกว่าเสียง กองทัพอากาศเล็งเห็นถึงสมรรถนะของตัวเครื่องที่ใช้ในการฝึกนักบินที่จะก้าวขึ้นไปบินจริงกับเครื่องบิน F16 และ JAS-39 โดยจะเข้ามาแทนที่เครื่องบินฝึกแบบ L-39 หรือ บขฝ 1 โดยที่เครื่อง T50TH มีสมรรถนะทางการบินสูงกว่าและมีคุณลักษณะที่คล้ายกับเครื่องบินขับไล่โจมตี F16 เนื่องจาก T50 มีการร่วมมือกันระว่าง Korea Aerospace Industries กับบริษัท Lockheed Martin ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่แบบ F16 จนบางครั้งเครื่องบิน T50 ได้รับชื่อเล่นว่า MINI F-16 ซึ่งมีการจัดวางอุปกรณ์ในห้องนักบิน รูปทรงและจอภาพ HUD คล้ายกับเครื่อง F-16 / JAS-39 เมื่อนักบินใหม่จบหลักสูตรการฝึกบินกับ T50TH จึงสามารถเรียนรู้และปรับตัวกับ Cockpit ของ F-16 / JAS-39 ได้อย่างรวดเร็ว เครื่อง T50TH อาจมีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับการฝึกบินแต่หากใช้เครื่องฝึกด้วยเครื่องจริงอย่าง F-16 /JAS-39 ค่าใช้จ่ายในการฝึกนักบินใหม่จะเพิ่มมากขึ้น การฝึกบินกับเครื่อง T50TH ของนักบินใหม่จะช่วยลดชั่วโมงการฝึกบินกับเครื่องขับไล่จริงๆ ลงได้เหลือเพียงแค่ 9 เที่ยวบินเท่านั้น










เครื่องบินเจ็ตฝึกบินและขับไล่โจมตี T50TH ใช้เครื่องยนต์ General Electric F-404-102 เป็นเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ตในตระกูลเดียวกันกับ RM 12 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ของ JAS-39 C/D โดยมีพื้นฐานมาจากเครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟน F404 ของ General Electric เพียงแต่เครื่อง RM 12 นั้นผลิตโดยบริษัท VOLVO จากสวีเดนภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัท General Electric ขณะเดียวกันเครื่องยนต์ของ T50TH ผลิตโดยบริษัท Samsung Techwin ภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัท General Electric เช่นเดียวกัน








ส่วนคุณสมบัติของเครื่องฝึก T50TH มีการติดตั้งระบบควบคุมการบินแบบ Fly-By-Wire ที่ล้ำสมัย ฝาครอบห้องนักบินแบบชิ้นเดียว เหมือนกับเครื่องบินขับไล่ที่ประจำการในกองทัพอากาศ ตำแหน่งที่นั่งที่อยู่ด้านหลังสูง ทำให้ศิษย์การบินและครูฝึกมองเห็นได้รอบตัว ฝาครอบห้องนักบินยังมีความทนทานสูงมากหากชนปะทะเข้ากับนก ระบบควบคุมการบิน HOTAS handon Throttle and Stick เหมือนเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่ เพื่อลดภารกรรมการบินของนักบินให้เหลือน้อยลง มีการติดตั้งจอภาพแสดงผลแบบสี Multi function Display หน้าจอกว้าง 127 มิลลิเมตร จำนวน 2 จอภาพ แสดงผลข้อมูลระหว่างทำการบิน โดยมีจอภาพ HUD อุปกรณ์เครื่องวัดประกอบการบินที่สำคัญได้แก่ เครื่องช่วยเดินอากาศ Navigation / Attack -System H764G รวมถึงเก้าอี้ดีดตัวของ Martin Maker




เครื่องยนต์ General Electric F-404-102 ให้แรงขับ 17,700 ปอนด์ เมื่อจุดสันดาปท้าย เครื่องยนต์ General Electric F-404-102 ควบคุมการทำงานด้วยระบบ FADEC ทำการปรับปรุงให้เหมาะสมกับ T50TH ทำความเร็วสูงสุดได้ 1.5 มัค หรือ 1,020 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 1,640 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ระดับความสูง 30,000 ฟุต หรือ 9,144 เมตร เครื่องฝึก T50TH มีเพดานบินสูงสุด 48,000 ฟุต หรือ 14,600 เมตร พิสัยบิน (บินไกล) 1,150 ไมล์ หรือ 1,851 กิโลเมตร โครงสร้างออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 8,000 ชั่วโมงบิน สื่อมวนชนเกาหลีใต้รายงานว่า KAI T50 จะถูกส่งมอบให้กับกองทัพอากาศไทยภายในปี พศ 2561 และเข้าเสริมฝูงเครื่องบินฝึกนักบินใหม่ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ช่วยลดระยะเวลาในการเปลี่ยนแบบของนักบินใหม่และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาขณะทำการบินดีกว่าเครื่องบินฝึกแบบเดิมที่มีประจำการอยู่ในขณะนี้.

เอกสารข้อมูลประกอบบทความ
TANGO นิตยสารเพื่อคนรักการบินและเทคโนโลยี พฤจิกายน 2558





Specifications for the KAI / Lockheed Martin T-50 Golden Eagle
Advanced Trainer / Light Attack Aircraft

Focus Model: KAI T-50 / TA-50 Golden Eagle
Country of Origin: South Korea
Manufacturer: Korean Aerospace Industries - South Korea / Lockheed Martin - USA
Initial Year of Service: 2005
Production Total: 158
Crew: 2

Length: 42.59 ft (12.98 m)
Width: 30.09 ft (9.17 m)
Height: 15.68ft (4.78 m)
Weight (Empty): 14,200 lb (6,441 kg)
Weight (MTOW): 26,422 lb (11,985 kg)

Powerplant: 1 x General Electric F404-102 turbofan engine delivering 17,700lbs of thrust with afterburning.


Maximum Speed: 990 mph (1,593 kmh; 860 kts)
Maximum Range: 1,150 miles (1,851 km)
Service Ceiling: 47,999 ft (14,630 m; 9.1 miles)
Rate-of-Climb: 0 feet-per-minute (0 m/min)

Hardpoints: 7 (including wingtips)
Armament Suite:

STANDARD:
1 x 20mm General Dynamics A-50 Vulcan gatling three-barrel cannon.
2 x AIM-9 Sidewinder air-to-air missiles (wingtip mounts).

OPTIONAL:
6 x AGM-65 Maverick air-to-surface missiles
CBU-58 Cluster Bombs
Mk-20 Cluster Bombs
LAU-3 Rocket Pods
LAU-68 Rocket Pods
Mk 82 General Purpose Bombs
Mk 83 General Purpose Bombs
Mk 84 General Purpose Bombs
Guided Drop Bombs

Variants:
T-50 - Advanced Jet Trainer Designation; sans internal gun and radar system.

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arco@thairath.co.th
Facebook https://facebook.com/chang.arcom

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/548810
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่