ผัสสะ แปลว่า การสัมผัส (การกระทบยังไม่เรียกว่าเป็นผัสสะ) ซึ่งการสัมผัสจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบครบ ๓ องค์ประกอบ อันได้แก่ อายตนะภายนอก + อายตนะภายใน + วิญญาณ ดังนั้นผัสสะจึงมีอยู่ ๖ จุดอันได้แก่
๑. ผัสสะทางตา คือการสัมผัสทางตา
๒. ผัสสะทางหู คือการสัมผัสทางหู
๓. ผัสสะทางจมูก คือการสัมผัสทางจมูก
๔. ผัสสะทางลิ้น คือการสัมผัสทางลิ้น
๕. ผัสสะทางกาย คือการสัมผัสทางกาย
๖. ผัสสะทางใจ คือการสัมผัสทางใจ
อย่างเช่น เมื่อมีรูปมากระทบตาแล้วเกิดวิญญาณทางตาขึ้น ก็เรียกว่าเป็นผัสสะหรือการสัมผัสทางตา หรือเมื่อมีธรรมารมณ์มากระทบใจ แล้วเกิดวิญญาณทางใจขึ้น ก็เรียกว่าเป็นการสัมผัสทางใจ เป็นต้น ซึ่งการสัมผัสนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดความทุกข์และดับทุกข์ คือเมื่อเราขาดสติ (คือไม่ได้ระลึกถึงปัญญา) ในขณะที่กำลังเกิดการสัมผัส ก็จะทำให้อวิชชา (ความรู้ว่ามีตัวเรา) เกิดขึ้นในจิต แล้วทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งให้เกิดอุปาทาน (ความยึดถือว่ามีตัวเรา) และความทุกข์ขึ้นมา
แต่ถ้าในขณะที่กำลังเกิดการสัมผัสอยู่นี้ ถ้าเรามีสติ (คือระลึกถึงปัญญาได้) สติก็จะดึงเอาปัญญา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง) และสมาธิ (ที่เคยฝึกมาก่อน) ออกมา แล้วก็ทำให้อวิชชาไม่เกิดขึ้น (หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับหายไป) แล้วก็ทำให้อุปาทานไม่เกิดขึ้น (หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับหายไป) และก็ทำให้ความทุกข์ไม่เกิดขึ้น (หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับหายไป)
ผัสสะ ๖
๑. ผัสสะทางตา คือการสัมผัสทางตา
๒. ผัสสะทางหู คือการสัมผัสทางหู
๓. ผัสสะทางจมูก คือการสัมผัสทางจมูก
๔. ผัสสะทางลิ้น คือการสัมผัสทางลิ้น
๕. ผัสสะทางกาย คือการสัมผัสทางกาย
๖. ผัสสะทางใจ คือการสัมผัสทางใจ
อย่างเช่น เมื่อมีรูปมากระทบตาแล้วเกิดวิญญาณทางตาขึ้น ก็เรียกว่าเป็นผัสสะหรือการสัมผัสทางตา หรือเมื่อมีธรรมารมณ์มากระทบใจ แล้วเกิดวิญญาณทางใจขึ้น ก็เรียกว่าเป็นการสัมผัสทางใจ เป็นต้น ซึ่งการสัมผัสนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดความทุกข์และดับทุกข์ คือเมื่อเราขาดสติ (คือไม่ได้ระลึกถึงปัญญา) ในขณะที่กำลังเกิดการสัมผัส ก็จะทำให้อวิชชา (ความรู้ว่ามีตัวเรา) เกิดขึ้นในจิต แล้วทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งให้เกิดอุปาทาน (ความยึดถือว่ามีตัวเรา) และความทุกข์ขึ้นมา
แต่ถ้าในขณะที่กำลังเกิดการสัมผัสอยู่นี้ ถ้าเรามีสติ (คือระลึกถึงปัญญาได้) สติก็จะดึงเอาปัญญา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง) และสมาธิ (ที่เคยฝึกมาก่อน) ออกมา แล้วก็ทำให้อวิชชาไม่เกิดขึ้น (หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับหายไป) แล้วก็ทำให้อุปาทานไม่เกิดขึ้น (หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับหายไป) และก็ทำให้ความทุกข์ไม่เกิดขึ้น (หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับหายไป)