พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
ในนามของคณะสงฆ์วัดอรัญญบรรพต ขออนุโมทนาสาธุการ
ด้วยบุญกุศลที่พุทธบริษัททั้งหลายได้กระทำบำเพ็ญในครั้งนี้
ก็จะได้เป็นพละปัจจัยส่งเสริมพระพุทธศาสนาในทางวิปัสสนาธุระให้เป็นไปได้
เพราะว่า
ผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาก็ไม่ใช่เทวดาอินทร์พรหมที่ไหน
ก็เป็นคนเหมือนกันนี่แหละ แต่แล้วก็ได้สละบ้านเรือนออกมาบวช
ทำตัวเป็นคนผู้เดียว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้าการขายการหาเงินหาทองอะไรเลย
เรียกว่า
มีชีวิตเป็นอยู่เนื่องอยู่ด้วยชาวบ้านที่ท่านตั้งชื่อให้ว่า“ภิกขุ”
ภิกขุนี้แปลว่า “ผู้ขอ” อย่างนี้แหละ แต่ว่า “ขออย่างสุภาพบุรุษ”
ไม่ได้ขออย่างคนขอทาน เที่ยวภิกขาจารไป มีบาตรใบหนึ่ง
ผู้ใดมีศรัทธาก็ใส่ให้ ไม่มีก็แล้วไป ไม่แสดงกายวิญญัติ วจีวิญญัติ *
นั่นพระพุทธเจ้าทรงห้าม เช่น ไปแสดงอาการกวักมือเอาเขา
ให้เขามาทำบุญใส่บาตรอะไรอย่างนี้นะ ไปกล่าววาจาชักชวนให้ทำบุญกัน
บริจาคทานกันอย่างนี้ ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงห้ามเลย
...
*(เพิ่มเติม)
วิญญัติ
๑.) การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ
๑.๑)
กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ
๑.๒).
วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว
๒. การออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของ
ต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา
จาก
"พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์"
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
"ภิกขุ คือ ผู้ขอ" ขออย่างสุภาพบุรุษ : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
ในนามของคณะสงฆ์วัดอรัญญบรรพต ขออนุโมทนาสาธุการ
ด้วยบุญกุศลที่พุทธบริษัททั้งหลายได้กระทำบำเพ็ญในครั้งนี้
ก็จะได้เป็นพละปัจจัยส่งเสริมพระพุทธศาสนาในทางวิปัสสนาธุระให้เป็นไปได้
เพราะว่า ผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาก็ไม่ใช่เทวดาอินทร์พรหมที่ไหน
ก็เป็นคนเหมือนกันนี่แหละ แต่แล้วก็ได้สละบ้านเรือนออกมาบวช
ทำตัวเป็นคนผู้เดียว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้าการขายการหาเงินหาทองอะไรเลย
เรียกว่า มีชีวิตเป็นอยู่เนื่องอยู่ด้วยชาวบ้านที่ท่านตั้งชื่อให้ว่า“ภิกขุ”
ภิกขุนี้แปลว่า “ผู้ขอ” อย่างนี้แหละ แต่ว่า “ขออย่างสุภาพบุรุษ”
ไม่ได้ขออย่างคนขอทาน เที่ยวภิกขาจารไป มีบาตรใบหนึ่ง
ผู้ใดมีศรัทธาก็ใส่ให้ ไม่มีก็แล้วไป ไม่แสดงกายวิญญัติ วจีวิญญัติ *
นั่นพระพุทธเจ้าทรงห้าม เช่น ไปแสดงอาการกวักมือเอาเขา
ให้เขามาทำบุญใส่บาตรอะไรอย่างนี้นะ ไปกล่าววาจาชักชวนให้ทำบุญกัน
บริจาคทานกันอย่างนี้ ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงห้ามเลย
...
*(เพิ่มเติม) วิญญัติ
๑.) การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ
๑.๑) กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ
๑.๒). วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว
๒. การออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของ
ต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา
จาก "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์"
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)