ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 19 ฉบับ แต่มีเพียง 2 ฉบับเท่านั้นที่ประชาชนมีส่วนรวมโดยตรง คือรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ประชาชนคัดสรรผู้ที่มีความรู้ความสามสามารถ (สสร 40) เข้าไปกลั่นกรองยกร่างกฎหมายสูงสุดจนประกาศใช้มาเป็นรัฐธรรมนูญ 2440 กับรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่คณะ คมช.ให้ประชาชนเป็นผู้ทำคลอดสิ่งที่ตัวเองและพวกพ้องเป็นผู้คิดและให้กำเนิด ประชาชนเป็นผู้ลงประชามิติ เห็นชอบให้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีผลประกาศใช้ ซึ่งก็น่าจะยังจำ วาทะกรรม
“รับๆไปก่อน เดี๋ยวค่อยแก้” กันได้ดีอยู่ เพราะรัฐธรรมฯญ 2550 นั้น เอาเข้าจริงการแก้ไขไม่สามารถกระทำการได้ เพราะถูก ตลกศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่มีอำนาจเพราะรัฐธรรมนูญชุดนี้ ขัดขวางไว้ด้วยคำว่า
“ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ”
ว่ากันตรงๆ เนื้อหาใจความของรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับบนี้ก็ไม่แตกต่างกันมาก เพียงแค่ รัฐธรรมนูญ 2540 ให้อำนาจกับประชาชนโดยตรง ส่วนรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ให้อำนาจกับประชาชนเช่นกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยองค์กรอิสระ
ซึ่งนั้นคือสาระสำคัญที่แตกต่างกันในรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมทั้ง 2 ฉบับนี้ ส่วนประเด็นการได้มาซึ่งตัวแทน อย่าง สส. สว การแบ่งเขต คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการมีส่วนรวมของประชาชนในการใช้อำนาจประชาธิปไตยปกครองประเทศ ที่รัฐธรรมนูญ 2540 กระทำไว้ก็ถูกองค์กรอิสระอย่าง ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ ควบคุมจนกระดิกตัวไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะองค์กรอิสระเหล่านี้ อคติต่อ นักการเมือง บางฝ่ายอย่างล้ำลึก จึงกระทำทุกทางเพื่อสกัดกั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีจากตัวแทนผู้ถืออำนาจโดยประชาชน
เ
หตุการณ์เช่นนี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ในสมัย รัฐธรรมนูญ 2521 ที่ปิดกั้นการแก้ไข ด้วยบทเฉพาะกาล ที่ให้ข้าราชการประจำมีอำนาจในการปกครองเหนือกว่าตัวแทนจากประชาชนจนยุคสมัยนั้นได้ชื่อว่าเป็น รัฐข้าราชการ โดยในบทเฉพาะกาลนั้นขอสรุปเนื้อหาให้เข้าใจกันง่ายๆว่า
]รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้สร้างบทเฉพาะกาลมีผลบังคับใช้ในระยะเวลา 4 ปีแรก นับแต่วันประกาศใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้หลักการบางประการที่มีปรากฏอยู่ในฉบับถาวรนั้น จะไม่มีผลบังคับใช้ในทันที อันได้แก่เรื่องต่อไปนี้
1) มาตรการสร้างพรรคการเมืองในบทถาวร ยังไม่มีผลบังคับ ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ต้องสังกัดพรรค การเลือกตั้งเป็นพรรคก็ดี การย้ายพรรคมีผลให้พ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. ก็ดี ก็ยังไม่มีผลเกิดขึ้น
2) ยังไม่ได้แยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง ทำให้ในระหว่างที่ใช้บทเฉพาะกาลนั้น จะมีผลดังนี้
ก) ข้าราชการประจำเป็นรัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่นได้ ในขณะเดียวกัน
ข) วุฒิสมาชิก ยังคงมีอำนาจมากทัดเทียมกับ ส.ส. กล่าวคือ มีอำนาจร่วมกับ ส.ส. ในการจัดตั้งรัฐบาล ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รวมทั้งการตั้งกระทู้ถาม และลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี
ลักษณะดังกล่าวทำให้สภาพการปกครองในช่วงที่ใช้บทเฉพาะกาลนั้น เป็น อำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) หรือคือ การปกครองของข้าราชการประจำ นั่นเอง ดังมีลักษณะต่อไปนี้
(1) เมื่ออำนาจจัดตั้งและไว้วางในรัฐบาล คือ อำนาจของรัฐสภา ซึ่งมีวุฒิสมาชิกร่วมอยู่ด้วยเป็นจำนวนถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเช่นนี้ เมื่อรวมกับเสียงของสมาชิกที่เหลืออีกเพียงเล็กน้อย
อำนาจสำคัญนี้ ก็จะตกอยู่แก่กลุ่มข้าราชการประจำโดยสิ้นเชิง นายกรัฐมนตรีจึงมาจากความไว้วางใจของกลุ่มข้าราชการประจำก่อน จากนั้นนายกรัฐมนตรี จึงเลือกพรรคการเมืองบางส่วน และบุคคลอื่นเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จำต้องมีการปรับคณะรัฐมนตรีอยู่เป็นระยะๆ กลายเป็นคณะรัฐมนตรียุคที่ 1 ยุคที่ 2 ไปเรื่อยๆ และจะสิ้นสุดยุคเหล่านี้ลงก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีสิ้นความไว้วางใจจากกลุ่ม ข้าราชการประจำจนต้องลาออกไป
(2) เมื่อมีอำนาจจากระบบข้าราชการประจำมาแทรกแซงเช่นนี้ การทำงานในลักษณะระบบรัฐสภาจึงไม่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเอง ก็ต้องรับผิดชอบต่อข้าราชการประจำ ไม่ใช่ต่อสภาผู้แทน รัฐบาลที่ได้รับมาจากการคัดเลือกของนายกรัฐมนตรี ก็มิใช่เพราะพรรคต่างๆ ได้ตกลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างใด สมาชิกสภาที่ไปเป็นรัฐมนตรี จึงรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี มากกว่าต่อสภาหรือพรรคการเมืองของตน เมื่อต้องรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี มิใช่ต่อสภาเช่นนี้ ความเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีฐานะเท่าเทียมกันและร่วมกันรับผิดชอบในการตัดสินใจจึงไม่เกิดขึ้น พรรคฝ่ายค้านก็ไม่มี มีแต่พรรคที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล และพยายามขอนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมรัฐบาลเท่านั้น
ระบบรัฐสภาที่เน้นถึงความตื่นตัวต่อความรับผิดชอบตามระบบผู้แทนจึงไม่เกิดขึ้น เพราะได้ถูกแทรกแซงโดยอำนาจของข้าราชการประจำจนขาดลอยจากระบบผู้แทนไปในที่สุด
(3) การที่ข้าราชการประจำได้เข้ามามีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบรัฐบาลนี้ เป็นเพราะรัฐธรรมนูญบทเฉพาะกาลนี่เองที่ถูกสร้างขึ้นโดยอิทธิพลของหลักฐานซึ่งสะท้อนถึงความเป็นจริงอันเด่นชัดว่า โครงสร้างอำนาจการเมืองไทยยังไม่อาจจะหลุดพ้นจากอำนาจของข้าราชการประจำไปได้ รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลเป็นแต่เพียงการรับรองอิทธิพลของข้าราชการประจำ โดยทำให้กลายเป็นอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย มิต้องใช้กำลังแทรกแซงกัน โดยอ้อม หรือ ทำการปฏิวัติ รัฐประหารกัน โดยตรง เป็นสำคัญ คำว่า “
ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ที่ใช้เรียกขานกันนั้น จึงไม่น่าจะถูกนัก เพราะแท้ที่จริงแล้วก็คือ “
เผด็จการแฝงเร้นและชอบด้วยกฎหมาย” เสียมากกว่า
(4) สภาพสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะมองข้ามเสียมิได้ ก็คือ
รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลนี้ ยังมีบทบาทเป็นการสร้างรัฐ “ประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการประจำ” อีกด้วย เพราะช่วยให้การชิงอำนาจในหมู่ข้าราชการประจำด้วยกันเองเป็นไปโดยสงบ อาศัยการโต้แย้งและยกมือในสภาเป็นปัจจัยชี้ขาด ไม่ต้องใช้กำลังปฏิวัติซ้อนเหมือนเช่นแต่ก่อน ดังเช่นการลาออกของนายกรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์นั้น ก็เป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยในหมู่ของข้าราชการประจำได้เป็นอย่างดี
การปกครองในขณะที่ใช้บทเฉพาะกาลนี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นระยะที่ระบบผู้แทนได้ตกเป็นเครื่องมือของระบบข้าราชการประจำมาโดยตลอด การปกครองในขณะนั้น มีสภาก็จริง แต่ก็หาใช่ระบบรัฐสภาไม่
ซึ่งดูโดยบริบทแล้ว รัฐธรรมนูญ 2521 ก็ไม่ต่างอะไรเลยกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้ข้าราชการ/องค์กรอิสระ มาเป็นพี่เลี้ยงคอบควบคุมตัวแทนของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญ 2521 ช่วงบทเฉพาะกาล ข้าราชการประจำสามารถใช้อำนาจแทนประชาชนได้เลย
แม้อำนาจของบทเฉพาะกาลจะมีผลบังคับใช้แค่ 4 ปีในรัฐธรรมนูญ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2521 ให้เปิดทางให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงได้มีสิทธิมีเสียงในการเลือกตัวแทนของตัวเอง กว่าจะสำเร็จก็ลากยาวมาถึงปี 2528 และนั้นเป็นจุดที่ พลเอก เปรมยอมลงจากอำนาจ ( 2529 เพราะไม่มีสว.จัดตั้งคอยหนุนหลัง)
แต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ปลดแอกประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริง กลับต้องรอคอยมาอีกนานถึง 11 ปี เพราะรัฐธรรมนูญ 2534 ที่เป็นจุดจบของรัฐราชการนั้นให้ความสำคัญไปที่ตัวนักการเมือง หาใช่ประชาชนไม่ กลายเป็นว่า ถึงประชาชนไม่ต้องถูกข้าราชการควบคุมแล้ว ก็ยังมีนักการเมืองเข้ามาควบคุมต่ออยู่ดี จนนายบรรหาร ศิลปะอาชา จึงหาทางแก้เกมส์ทางการเมืองด้วยการเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยโยนภาระการตัดสินใจให้เป็นของประชาชน จนเกิดรัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้เป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริงขึ้นใน รัฐธรรมนูญ 2540
แต่รัฐธรรมนูญฉบับบที่อำนาจเป็นของประชาชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ก็ถูกฉีกโดย คณะคมช. ที่พยายามควบคุมประชาชนไม่ให้มีอำนาจทั้งๆที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง
โดยการข่มขู่กึ่งปลอบใจ ว่า หากไม่รับ คมช.สามารถนำรัฐธรรมนูญในอดีตฉบับใดก็ได้มาประกาศใช้ และ วาทะกรรม “รับๆไปก่อนค่อยแก้”
คำถามตามหัวข้อกะทู้ ผู้อ่านคิดเห็นกันเช่นไร แต่สำหรับตัวผู้เขียนเองเห็นว่า ผู้ร่างเป็นเช่นไร รัฐธรรมนูญก็ออกมาเช่นนั้น
รัฐธรรมนูญบ้านเราจึงเป็นเพียงตัวแทนการแย่งชิงอำนาจจากประชาชนเท่านั้น หาใช่สัญลักษณ์ใดๆที่แสดงให้เห็นว่า ชาติไทยเป็นชาติที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยไม่
เพราะหากผู้ร่างเป็นคนที่คิดว่าประชาชนไม่สมควรมีอำนาจถึงจะเป็นเจ้าของอำนาจในระบบปกครองประชาธิปไตย ก็จะเขียนให้รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ควบคุมการใช้อำนาจโดยประชาชนให้อยู่ใต้กลุ่มคนที่ผู้ร่างคิดว่าเหมาะสมในการใช้อำนาจ ประวัติศาสตร์ของประเทศเรามันเป็นเช่นนั้นเสมอมา
ปล.ผมเขียนถึงในเหตุการณ์ในครั้งอดีต และตั้งกะทู้นี้ถูกตั้งขึ้นเพราะ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสุจริตใจ ไม่ได้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และไม่ขัดต่อประกาศ คสช ฉบับที่ 97.
(1) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
(2) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
(3) การวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(4) ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ
(5) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
(6) การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(7) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน
และผมยินดีที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของเว็บบอร์ดแห่งนี้ทุกประการ ซึ่งถ้าที่สุดแล้ว wm หรือฝ่ายกฎหมายเห็นว่ากะทู้นี้เข้าข่ายผิดกฎหมาย แล้วลบกะทู้ แต่กรุณาชี้แจ้งให้กระผมทราบด้วย ว่าผิดกฎหมายมาตราใด หรือขัดกับประกาศ คสช.ฉบับไหน เพราะตัวผมเองก็ไม่ได้ศึกษากฎหมายอย่างลึกซึ้งจนเข้าใจในทุกมาตรา แต่ก็ศึกษาหาความรู้เรื่องนี้ด้วยตัวเองตลอดมา และถ้าหากท่านชี้แจงว่า ลบกะทู้นี้เพราะผิดกฎหมายในมาตราใด ผมจะได้เข้าใจมากขึ้น และปฏิบัติตัวให้อยู่ในของเขตของกฎหมาย และกฎระเบียบของเว็บไซต์
ขอบคุณครับ
(บทความ) รัฐธรรมนูญ เป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตย จริงหรือไม่..?
ว่ากันตรงๆ เนื้อหาใจความของรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับบนี้ก็ไม่แตกต่างกันมาก เพียงแค่ รัฐธรรมนูญ 2540 ให้อำนาจกับประชาชนโดยตรง ส่วนรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ให้อำนาจกับประชาชนเช่นกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยองค์กรอิสระ
ซึ่งนั้นคือสาระสำคัญที่แตกต่างกันในรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมทั้ง 2 ฉบับนี้ ส่วนประเด็นการได้มาซึ่งตัวแทน อย่าง สส. สว การแบ่งเขต คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการมีส่วนรวมของประชาชนในการใช้อำนาจประชาธิปไตยปกครองประเทศ ที่รัฐธรรมนูญ 2540 กระทำไว้ก็ถูกองค์กรอิสระอย่าง ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ ควบคุมจนกระดิกตัวไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะองค์กรอิสระเหล่านี้ อคติต่อ นักการเมือง บางฝ่ายอย่างล้ำลึก จึงกระทำทุกทางเพื่อสกัดกั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีจากตัวแทนผู้ถืออำนาจโดยประชาชน
เหตุการณ์เช่นนี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ในสมัย รัฐธรรมนูญ 2521 ที่ปิดกั้นการแก้ไข ด้วยบทเฉพาะกาล ที่ให้ข้าราชการประจำมีอำนาจในการปกครองเหนือกว่าตัวแทนจากประชาชนจนยุคสมัยนั้นได้ชื่อว่าเป็น รัฐข้าราชการ โดยในบทเฉพาะกาลนั้นขอสรุปเนื้อหาให้เข้าใจกันง่ายๆว่า
]รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้สร้างบทเฉพาะกาลมีผลบังคับใช้ในระยะเวลา 4 ปีแรก นับแต่วันประกาศใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้หลักการบางประการที่มีปรากฏอยู่ในฉบับถาวรนั้น จะไม่มีผลบังคับใช้ในทันที อันได้แก่เรื่องต่อไปนี้
1) มาตรการสร้างพรรคการเมืองในบทถาวร ยังไม่มีผลบังคับ ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ต้องสังกัดพรรค การเลือกตั้งเป็นพรรคก็ดี การย้ายพรรคมีผลให้พ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. ก็ดี ก็ยังไม่มีผลเกิดขึ้น
2) ยังไม่ได้แยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง ทำให้ในระหว่างที่ใช้บทเฉพาะกาลนั้น จะมีผลดังนี้
ก) ข้าราชการประจำเป็นรัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่นได้ ในขณะเดียวกัน
ข) วุฒิสมาชิก ยังคงมีอำนาจมากทัดเทียมกับ ส.ส. กล่าวคือ มีอำนาจร่วมกับ ส.ส. ในการจัดตั้งรัฐบาล ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รวมทั้งการตั้งกระทู้ถาม และลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ลักษณะดังกล่าวทำให้สภาพการปกครองในช่วงที่ใช้บทเฉพาะกาลนั้น เป็น อำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) หรือคือ การปกครองของข้าราชการประจำ นั่นเอง ดังมีลักษณะต่อไปนี้
(1) เมื่ออำนาจจัดตั้งและไว้วางในรัฐบาล คือ อำนาจของรัฐสภา ซึ่งมีวุฒิสมาชิกร่วมอยู่ด้วยเป็นจำนวนถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเช่นนี้ เมื่อรวมกับเสียงของสมาชิกที่เหลืออีกเพียงเล็กน้อย อำนาจสำคัญนี้ ก็จะตกอยู่แก่กลุ่มข้าราชการประจำโดยสิ้นเชิง นายกรัฐมนตรีจึงมาจากความไว้วางใจของกลุ่มข้าราชการประจำก่อน จากนั้นนายกรัฐมนตรี จึงเลือกพรรคการเมืองบางส่วน และบุคคลอื่นเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จำต้องมีการปรับคณะรัฐมนตรีอยู่เป็นระยะๆ กลายเป็นคณะรัฐมนตรียุคที่ 1 ยุคที่ 2 ไปเรื่อยๆ และจะสิ้นสุดยุคเหล่านี้ลงก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีสิ้นความไว้วางใจจากกลุ่ม ข้าราชการประจำจนต้องลาออกไป
(2) เมื่อมีอำนาจจากระบบข้าราชการประจำมาแทรกแซงเช่นนี้ การทำงานในลักษณะระบบรัฐสภาจึงไม่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเอง ก็ต้องรับผิดชอบต่อข้าราชการประจำ ไม่ใช่ต่อสภาผู้แทน รัฐบาลที่ได้รับมาจากการคัดเลือกของนายกรัฐมนตรี ก็มิใช่เพราะพรรคต่างๆ ได้ตกลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างใด สมาชิกสภาที่ไปเป็นรัฐมนตรี จึงรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี มากกว่าต่อสภาหรือพรรคการเมืองของตน เมื่อต้องรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี มิใช่ต่อสภาเช่นนี้ ความเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีฐานะเท่าเทียมกันและร่วมกันรับผิดชอบในการตัดสินใจจึงไม่เกิดขึ้น พรรคฝ่ายค้านก็ไม่มี มีแต่พรรคที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล และพยายามขอนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมรัฐบาลเท่านั้น ระบบรัฐสภาที่เน้นถึงความตื่นตัวต่อความรับผิดชอบตามระบบผู้แทนจึงไม่เกิดขึ้น เพราะได้ถูกแทรกแซงโดยอำนาจของข้าราชการประจำจนขาดลอยจากระบบผู้แทนไปในที่สุด
(3) การที่ข้าราชการประจำได้เข้ามามีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบรัฐบาลนี้ เป็นเพราะรัฐธรรมนูญบทเฉพาะกาลนี่เองที่ถูกสร้างขึ้นโดยอิทธิพลของหลักฐานซึ่งสะท้อนถึงความเป็นจริงอันเด่นชัดว่า โครงสร้างอำนาจการเมืองไทยยังไม่อาจจะหลุดพ้นจากอำนาจของข้าราชการประจำไปได้ รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลเป็นแต่เพียงการรับรองอิทธิพลของข้าราชการประจำ โดยทำให้กลายเป็นอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย มิต้องใช้กำลังแทรกแซงกัน โดยอ้อม หรือ ทำการปฏิวัติ รัฐประหารกัน โดยตรง เป็นสำคัญ คำว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ที่ใช้เรียกขานกันนั้น จึงไม่น่าจะถูกนัก เพราะแท้ที่จริงแล้วก็คือ “เผด็จการแฝงเร้นและชอบด้วยกฎหมาย” เสียมากกว่า
(4) สภาพสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะมองข้ามเสียมิได้ ก็คือ รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลนี้ ยังมีบทบาทเป็นการสร้างรัฐ “ประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการประจำ” อีกด้วย เพราะช่วยให้การชิงอำนาจในหมู่ข้าราชการประจำด้วยกันเองเป็นไปโดยสงบ อาศัยการโต้แย้งและยกมือในสภาเป็นปัจจัยชี้ขาด ไม่ต้องใช้กำลังปฏิวัติซ้อนเหมือนเช่นแต่ก่อน ดังเช่นการลาออกของนายกรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์นั้น ก็เป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยในหมู่ของข้าราชการประจำได้เป็นอย่างดี
การปกครองในขณะที่ใช้บทเฉพาะกาลนี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นระยะที่ระบบผู้แทนได้ตกเป็นเครื่องมือของระบบข้าราชการประจำมาโดยตลอด การปกครองในขณะนั้น มีสภาก็จริง แต่ก็หาใช่ระบบรัฐสภาไม่
ซึ่งดูโดยบริบทแล้ว รัฐธรรมนูญ 2521 ก็ไม่ต่างอะไรเลยกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้ข้าราชการ/องค์กรอิสระ มาเป็นพี่เลี้ยงคอบควบคุมตัวแทนของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญ 2521 ช่วงบทเฉพาะกาล ข้าราชการประจำสามารถใช้อำนาจแทนประชาชนได้เลย
แม้อำนาจของบทเฉพาะกาลจะมีผลบังคับใช้แค่ 4 ปีในรัฐธรรมนูญ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2521 ให้เปิดทางให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงได้มีสิทธิมีเสียงในการเลือกตัวแทนของตัวเอง กว่าจะสำเร็จก็ลากยาวมาถึงปี 2528 และนั้นเป็นจุดที่ พลเอก เปรมยอมลงจากอำนาจ ( 2529 เพราะไม่มีสว.จัดตั้งคอยหนุนหลัง)
แต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ปลดแอกประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริง กลับต้องรอคอยมาอีกนานถึง 11 ปี เพราะรัฐธรรมนูญ 2534 ที่เป็นจุดจบของรัฐราชการนั้นให้ความสำคัญไปที่ตัวนักการเมือง หาใช่ประชาชนไม่ กลายเป็นว่า ถึงประชาชนไม่ต้องถูกข้าราชการควบคุมแล้ว ก็ยังมีนักการเมืองเข้ามาควบคุมต่ออยู่ดี จนนายบรรหาร ศิลปะอาชา จึงหาทางแก้เกมส์ทางการเมืองด้วยการเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยโยนภาระการตัดสินใจให้เป็นของประชาชน จนเกิดรัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้เป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริงขึ้นใน รัฐธรรมนูญ 2540
แต่รัฐธรรมนูญฉบับบที่อำนาจเป็นของประชาชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ก็ถูกฉีกโดย คณะคมช. ที่พยายามควบคุมประชาชนไม่ให้มีอำนาจทั้งๆที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง โดยการข่มขู่กึ่งปลอบใจ ว่า หากไม่รับ คมช.สามารถนำรัฐธรรมนูญในอดีตฉบับใดก็ได้มาประกาศใช้ และ วาทะกรรม “รับๆไปก่อนค่อยแก้”
คำถามตามหัวข้อกะทู้ ผู้อ่านคิดเห็นกันเช่นไร แต่สำหรับตัวผู้เขียนเองเห็นว่า ผู้ร่างเป็นเช่นไร รัฐธรรมนูญก็ออกมาเช่นนั้น รัฐธรรมนูญบ้านเราจึงเป็นเพียงตัวแทนการแย่งชิงอำนาจจากประชาชนเท่านั้น หาใช่สัญลักษณ์ใดๆที่แสดงให้เห็นว่า ชาติไทยเป็นชาติที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยไม่
เพราะหากผู้ร่างเป็นคนที่คิดว่าประชาชนไม่สมควรมีอำนาจถึงจะเป็นเจ้าของอำนาจในระบบปกครองประชาธิปไตย ก็จะเขียนให้รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ควบคุมการใช้อำนาจโดยประชาชนให้อยู่ใต้กลุ่มคนที่ผู้ร่างคิดว่าเหมาะสมในการใช้อำนาจ ประวัติศาสตร์ของประเทศเรามันเป็นเช่นนั้นเสมอมา
ปล.ผมเขียนถึงในเหตุการณ์ในครั้งอดีต และตั้งกะทู้นี้ถูกตั้งขึ้นเพราะ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสุจริตใจ ไม่ได้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และไม่ขัดต่อประกาศ คสช ฉบับที่ 97.
(1) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
(2) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
(3) การวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(4) ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ
(5) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
(6) การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(7) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน
และผมยินดีที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของเว็บบอร์ดแห่งนี้ทุกประการ ซึ่งถ้าที่สุดแล้ว wm หรือฝ่ายกฎหมายเห็นว่ากะทู้นี้เข้าข่ายผิดกฎหมาย แล้วลบกะทู้ แต่กรุณาชี้แจ้งให้กระผมทราบด้วย ว่าผิดกฎหมายมาตราใด หรือขัดกับประกาศ คสช.ฉบับไหน เพราะตัวผมเองก็ไม่ได้ศึกษากฎหมายอย่างลึกซึ้งจนเข้าใจในทุกมาตรา แต่ก็ศึกษาหาความรู้เรื่องนี้ด้วยตัวเองตลอดมา และถ้าหากท่านชี้แจงว่า ลบกะทู้นี้เพราะผิดกฎหมายในมาตราใด ผมจะได้เข้าใจมากขึ้น และปฏิบัติตัวให้อยู่ในของเขตของกฎหมาย และกฎระเบียบของเว็บไซต์
ขอบคุณครับ