[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป
นามและ รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ฯ
จบสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๑ - ๘๗. หน้าที่ ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=71&Z=87&pagebreak=0
–--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธ์ (แต่ละขันธ์)
ภิกษุ! มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธ์;
ภิกษุ! ผัสสะ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์;
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์;
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์;
ภิกษุ ! นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์.
- อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๒/๑๒๔.,อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๒๒
และ หรือ ใน มหานิทานสูตร
เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า นามรูป มีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย
เมื่อ เธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึง ตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย
ดูกรอานนท์
เพราะนามรูป เป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัยจึงเกิด นามรูป
มหานิทานสูตร มหา. ที. ๑๐/๖๕/๕๗
เครดิต ก็อปมาจาก คุณ Camphor
---------- –-----------------------------------------------------------------------------
ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
–-------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะสิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าอาจแยกธรรมที่รวมเป็นอันเดียวกันเหล่านี้ ให้รู้ว่าต่างกันว่า อันนี้เป็น ผัสสะ อันนี้เป็น เวทนา อันนี้เป็น สัญญา อันนี้เป็น เจตนา อันนี้เป็น วิตก อันนี้เป็น วิจาร ได้หรือไม่?"
" ไม่อาจ ขอถวายพระพร "
" ขอนิมนต์อุปมาด้วย "
" ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนพ่อครัวของพระราชา เมื่อจะตกแต่งเครื่องเสวยก็ใส่เครื่องปรุงต่างๆ คือ นมส้ม เกลือ ขิง ผักชี พริก และสิ่งอื่น ๆ ลงไป ถ้าพระราชาตรัสสั่งว่า
" เจ้าจงแยกเอารสนมส้มมาให้เรา จงแยกเอารสเกลือ รสขิง รสหวา รสเปรี้ยว มาให้เราทีละอย่าง ๆ "
พ่อครัวนั้นอาจแยกเอารสที่รวมกันอยู่เหล่านั้นมาถวายพระราชาว่า นี้เป็นรสเปรี้ยว นี้เป็นรสเค็ม นี้เป็นรสขม นี้เป็นรสเผ็ด นี้เป็นรสฝาด ได้หรือไม่ ? "
" ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ก็แต่ว่าเขาอาจรู้ได้ตามลักษณะของรสแต่ละรส"
" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร รวมกันเข้าแล้ว อาตมภาพก็ไม่อาจแยกออกให้รู้ได้แต่ละอย่าง ก็แต่ว่าอาจให้เข้าใจได้ตามลักษณะแห่งธรรมเป็นอย่าง ๆ "
คำเปรียบเทียบของพระนาคเสนเรื่องนี้เหมาะสมมาก คือเมื่อเครื่องแกงผสมเป็นน้ำแกงแล้ว เมื่อเราตักออกมาช้อนหนึ่งชิมดูย่อมมีรสเครื่องแกงทุกอย่างผสมอยู่ แต่จะแยกออกมาหาได้ไม่ แต่เราพอบอกได้ว่า ความเผ็ดเป็นรสของพริก ความเค็มเป็นรสของเกลือ ความเปรี้ยวเป็นรสของน้ำส้มหรือมะนาว และความหวานเป็นรสของน้ำตาล เป็นต้น อนึ่ง เหมือนกับการบรรทุกเกลือ แต่จะไม่บรรทุกความเค็มมาด้วย หรือจะชั่งเฉพาะเกลือ แต่ไม่ชั่งความเค็มด้วยนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะของเหล่านี้เป็นของรวมกันฉันใด ธรรมทั้งหลายอันมี ผัสสะ เป็นต้น ได้ปรากฏชัดตามลักษณะของตน แต่จะแยกออกมาแต่ละอย่าง ๆ มิได้เช่นกันฉันนั้น
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-00-01.htm
จิตคือน้ำแกง จิตคือเงา จิตคือรถ
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป
นามและ รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ฯ
จบสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๑ - ๘๗. หน้าที่ ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=71&Z=87&pagebreak=0
–--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธ์ (แต่ละขันธ์)
ภิกษุ! มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธ์;
ภิกษุ! ผัสสะ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์;
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์;
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์;
ภิกษุ ! นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์.
- อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๒/๑๒๔.,อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๒๒
และ หรือ ใน มหานิทานสูตร
เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า นามรูป มีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย
เมื่อ เธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึง ตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย
ดูกรอานนท์
เพราะนามรูป เป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัยจึงเกิด นามรูป
มหานิทานสูตร มหา. ที. ๑๐/๖๕/๕๗
เครดิต ก็อปมาจาก คุณ Camphor
---------- –-----------------------------------------------------------------------------
ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
–-------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะสิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าอาจแยกธรรมที่รวมเป็นอันเดียวกันเหล่านี้ ให้รู้ว่าต่างกันว่า อันนี้เป็น ผัสสะ อันนี้เป็น เวทนา อันนี้เป็น สัญญา อันนี้เป็น เจตนา อันนี้เป็น วิตก อันนี้เป็น วิจาร ได้หรือไม่?"
" ไม่อาจ ขอถวายพระพร "
" ขอนิมนต์อุปมาด้วย "
" ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนพ่อครัวของพระราชา เมื่อจะตกแต่งเครื่องเสวยก็ใส่เครื่องปรุงต่างๆ คือ นมส้ม เกลือ ขิง ผักชี พริก และสิ่งอื่น ๆ ลงไป ถ้าพระราชาตรัสสั่งว่า
" เจ้าจงแยกเอารสนมส้มมาให้เรา จงแยกเอารสเกลือ รสขิง รสหวา รสเปรี้ยว มาให้เราทีละอย่าง ๆ "
พ่อครัวนั้นอาจแยกเอารสที่รวมกันอยู่เหล่านั้นมาถวายพระราชาว่า นี้เป็นรสเปรี้ยว นี้เป็นรสเค็ม นี้เป็นรสขม นี้เป็นรสเผ็ด นี้เป็นรสฝาด ได้หรือไม่ ? "
" ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ก็แต่ว่าเขาอาจรู้ได้ตามลักษณะของรสแต่ละรส"
" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร รวมกันเข้าแล้ว อาตมภาพก็ไม่อาจแยกออกให้รู้ได้แต่ละอย่าง ก็แต่ว่าอาจให้เข้าใจได้ตามลักษณะแห่งธรรมเป็นอย่าง ๆ "
คำเปรียบเทียบของพระนาคเสนเรื่องนี้เหมาะสมมาก คือเมื่อเครื่องแกงผสมเป็นน้ำแกงแล้ว เมื่อเราตักออกมาช้อนหนึ่งชิมดูย่อมมีรสเครื่องแกงทุกอย่างผสมอยู่ แต่จะแยกออกมาหาได้ไม่ แต่เราพอบอกได้ว่า ความเผ็ดเป็นรสของพริก ความเค็มเป็นรสของเกลือ ความเปรี้ยวเป็นรสของน้ำส้มหรือมะนาว และความหวานเป็นรสของน้ำตาล เป็นต้น อนึ่ง เหมือนกับการบรรทุกเกลือ แต่จะไม่บรรทุกความเค็มมาด้วย หรือจะชั่งเฉพาะเกลือ แต่ไม่ชั่งความเค็มด้วยนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะของเหล่านี้เป็นของรวมกันฉันใด ธรรมทั้งหลายอันมี ผัสสะ เป็นต้น ได้ปรากฏชัดตามลักษณะของตน แต่จะแยกออกมาแต่ละอย่าง ๆ มิได้เช่นกันฉันนั้น
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-00-01.htm