สรุปจากแถลงการณ์ของ FAA: ประเทศไทยถูก downgrade เป็น Category 2 จากกรมการบินสหรัฐ (FAA) เนื่องจากบพ.ไทยไม่สามารถทำตามมาตรฐานของ IASA ได้ การเป็น CAT 2 ทาง US ให้สายการบิน license Thai ที่มีเที่ยวบินอยู่แล้วบินเข้าได้ตามปกติ แต่ไม่ให้เพิ่มเที่ยวบินใหม่เข้าสหรัฐอีก
Source:
http://www.faa.gov/news/press_releases/news_story.cfm?newsId=19814&omniRss=press_releasesAoc&cid=102_P_R
สายการบินในตลาดมีเพียง THAI ที่ทำการบิน long haul ไปยังประเทศต่างๆ แต่การบินไทยได้ยกเลิกเที่ยวบินตรงไปสหรัฐทั้งหมดแล้ว นอกนั้น AAV NOK BA เป็น short-medium haul ไม่มีบินเข้าสหรัฐ
เมื่อค่ำวันที่ 1 ธ.ค. 2558 (เวลาในประเทศไทย) องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration หรือ FAA) ได้ประกาศลดระดับประเทศไทยจาก category 1 เป็น category 2 หลังจากที่ FAA ได้ส่งคณะมาเยือนไทยเมื่อวันที่ 26-28 ต.ค.58 เนื่องจากเห็นว่าผลการทำงานของกรมการบินพลเรือนไทยเพื่อแก้ไขข้อห่วงกังวลของ FAA เกี่ยวกับการยกระดับมาตรฐานการบินพลเรือนไทย ยังไม่เป็นที่พอใจนัก
พลอากาศเอกปรีชา ประดับมุข เลขานุการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน กล่าวว่า การตัดสินใจของ FAA ในครั้งนี้ มาจากการพิจารณาผลการทำงานของกรมการบินพลเรือนของไทยระหว่างเดือน ก.ค.58 จนถึงสิ้นเดือน ต.ค.58 ซึ่งไทยสามารถดำเนินการให้คืบหน้าเป็นไปตามมาตรฐานของ FAA ได้แล้วหลายประเด็น แต่ยังมีบางประเด็นที่ FAA ยังคงยืนยันให้ไทยต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ทั้งนี้ เขาก็เข้าใจว่าหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอย่างเหมาะ สม เช่น การตรวจสอบใบอนุญาตนักบินพานิชย์เอกใหม่ (ATPL Re-check) การตรวจสอบผู้ตรวจสอบภาคอากาศใหม่ (DCP Recheck) เป็นต้น
สำหรับ ผลกระทบจากการลดระดับไทยเป็น category 2 ในครั้งนี้ พลอากาศเอกปรีชาฯ กล่าวว่า รายได้ที่เอกชนไทยจะเสียไปนั้นจะถูกกระทบบ้างเพราะสายการบินของไทยที่ ปัจจุบันทำ code share กับสายการบินอื่นที่บินเข้าสหรัฐฯ จะไม่สามารถใช้เครื่องบินของสายการบินของไทยได้แต่ ผลกระทบนี้ไม่น่าจะมากนัก เพราะขณะนี้ไม่มีสายการบินของไทยที่บินเข้าสหรัฐฯ โดยตรง แต่แน่นอนว่าอาจมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ไทยโดยเฉพาะมาตรฐานการทำงานของกรมการ บินพลเรือนไทยแต่ขอยืนยันว่า รัฐบาลไทยไม่เคยนิ่งนอนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็กำลังรีบแก้ไขปัญหา และจะเดินหน้า ในการทำงานร่วมกับFAA ต่อไปโดยแจ้งผลการทำงานของไทยให้เขาทราบเป็นระยะเพื่อให้เขาเห็นความคืบหน้า ของไทยจนเป็นที่พอใจโดยเร็วที่สุด ที่สำคัญ ไทยจะยังคงเร่งเดินหน้าแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ เพื่อให้ ICAO ประกาศถอนธงแดงของไทยโดยเร็ว เพราะเชื่อว่าเมื่อ ICAO ยอมรับมาตรฐานการบินพลเรือน ของไทยได้ ก็จะส่งผลบวกต่อการตัดสินใจทั้งของฝั่งสหรัฐฯ คือ FAA และฝั่งสหภาพยุโรปเช่นกัน
Cr: iport4u & prachachat
+++++ สรุปจากแถลงการณ์ของ FAA : ประเทศไทยถูก downgrade +++++
Source: http://www.faa.gov/news/press_releases/news_story.cfm?newsId=19814&omniRss=press_releasesAoc&cid=102_P_R
สายการบินในตลาดมีเพียง THAI ที่ทำการบิน long haul ไปยังประเทศต่างๆ แต่การบินไทยได้ยกเลิกเที่ยวบินตรงไปสหรัฐทั้งหมดแล้ว นอกนั้น AAV NOK BA เป็น short-medium haul ไม่มีบินเข้าสหรัฐ
เมื่อค่ำวันที่ 1 ธ.ค. 2558 (เวลาในประเทศไทย) องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration หรือ FAA) ได้ประกาศลดระดับประเทศไทยจาก category 1 เป็น category 2 หลังจากที่ FAA ได้ส่งคณะมาเยือนไทยเมื่อวันที่ 26-28 ต.ค.58 เนื่องจากเห็นว่าผลการทำงานของกรมการบินพลเรือนไทยเพื่อแก้ไขข้อห่วงกังวลของ FAA เกี่ยวกับการยกระดับมาตรฐานการบินพลเรือนไทย ยังไม่เป็นที่พอใจนัก
พลอากาศเอกปรีชา ประดับมุข เลขานุการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน กล่าวว่า การตัดสินใจของ FAA ในครั้งนี้ มาจากการพิจารณาผลการทำงานของกรมการบินพลเรือนของไทยระหว่างเดือน ก.ค.58 จนถึงสิ้นเดือน ต.ค.58 ซึ่งไทยสามารถดำเนินการให้คืบหน้าเป็นไปตามมาตรฐานของ FAA ได้แล้วหลายประเด็น แต่ยังมีบางประเด็นที่ FAA ยังคงยืนยันให้ไทยต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ทั้งนี้ เขาก็เข้าใจว่าหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอย่างเหมาะ สม เช่น การตรวจสอบใบอนุญาตนักบินพานิชย์เอกใหม่ (ATPL Re-check) การตรวจสอบผู้ตรวจสอบภาคอากาศใหม่ (DCP Recheck) เป็นต้น
สำหรับ ผลกระทบจากการลดระดับไทยเป็น category 2 ในครั้งนี้ พลอากาศเอกปรีชาฯ กล่าวว่า รายได้ที่เอกชนไทยจะเสียไปนั้นจะถูกกระทบบ้างเพราะสายการบินของไทยที่ ปัจจุบันทำ code share กับสายการบินอื่นที่บินเข้าสหรัฐฯ จะไม่สามารถใช้เครื่องบินของสายการบินของไทยได้แต่ ผลกระทบนี้ไม่น่าจะมากนัก เพราะขณะนี้ไม่มีสายการบินของไทยที่บินเข้าสหรัฐฯ โดยตรง แต่แน่นอนว่าอาจมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ไทยโดยเฉพาะมาตรฐานการทำงานของกรมการ บินพลเรือนไทยแต่ขอยืนยันว่า รัฐบาลไทยไม่เคยนิ่งนอนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็กำลังรีบแก้ไขปัญหา และจะเดินหน้า ในการทำงานร่วมกับFAA ต่อไปโดยแจ้งผลการทำงานของไทยให้เขาทราบเป็นระยะเพื่อให้เขาเห็นความคืบหน้า ของไทยจนเป็นที่พอใจโดยเร็วที่สุด ที่สำคัญ ไทยจะยังคงเร่งเดินหน้าแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ เพื่อให้ ICAO ประกาศถอนธงแดงของไทยโดยเร็ว เพราะเชื่อว่าเมื่อ ICAO ยอมรับมาตรฐานการบินพลเรือน ของไทยได้ ก็จะส่งผลบวกต่อการตัดสินใจทั้งของฝั่งสหรัฐฯ คือ FAA และฝั่งสหภาพยุโรปเช่นกัน
Cr: iport4u & prachachat