นอกจากความสนุกของละครแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมได้รับจากละครเรื่องนี้ก็คือ ความรู้ทางด้านภาษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ในวรรณคดี รวมไปถึงคำศัพท์เก่า ๆ ที่เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยได้ยินกันแล้ว ยิ่งทำให้ได้ตระหนักว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่สวยงามมากขนาดไหน
วันนี้ผมก็เลยอยากจะมาแบ่งปันความรู้บางส่วนที่ได้รับจากละครเรื่องนี้ หากใครมีคำไหนเพิ่มเติม มาแชร์กันได้เลยนะครับ
๑. ทหารพระราม
"ทหารพระราม" เป็นการเปรียบเทียบว่ามีกริยาซุกซนเหมือนลิง โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๓ ช่วงที่ ๔ เป็นช่วงที่คุณสอางค์นั่งคุยกับคุณสร้อยเกี่ยวกับการจะจับคู่สาลินกับคุณชายเล็ก ซึ่งคุณสร้อยได้ค่อนสาลิน ว่า "ยิ่งกว่าทหารพระรามอีก"
๒. กระดกกระดนโด่
"กระดกกระดนโด่" เป็นคำกริยามีความหมายว่าทำตัวไม่เรียบร้อย, กระโดกกระเดก โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๒ คุณสร้อยเตือนสาลินให้ทำตัวเรียบร้อยตอนเข้าเฝ้าเสด็จพระองค์หญิง
๓. เปิ่นเทิ่นมันเทศ เทเวศร์สำปะหลัง
"เปิ่นเทิ่นมันเทศ เทเวศร์สำปะหลัง" เป็นสำนวนมีความหมายว่าบ้านนอก โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๙ คุณสร้อยเตือนสาลินแต่งตัวให้ดี ให้เหมาะสมกับการเข้าเฝ้าเสด็จพระองค์หญิง
๔. บิดตะกูด โย้กโย้กฐินบก
"บิดตะกูด โย้กโย้กฐินบก" เป็นสำนวน โดยมีความหมายว่าพูดบิวพริ้ว ไม่ตรงกับความจริง โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๔ คุณสอางค์ต่อว่าคุณสร้อย ที่ไม่ยอมพาสาลินมาเข้าเฝ้าเสด็จ โดยกล่าวอ้างว่าสาลินกริยาไม่เรียบร้อย
สำหรับคำว่า "ตะกูด" มีความหมายว่า "หางเรือเสือ" โดยการถือหางเสือเรือ เป็นการทำให้เรือแล่นไปตรง แต่ลักษณะที่ทำต้องบิดหางเสือไปมา ดังนั้นจึงเอาลักษณะของหางเสือมาเปลี่ยนเป็นลิ้นของคน ที่บิดไปบิดมา
สำนวนบิดตะกูดนี้มีปรากฎอยู่ในวรรณคดีเรื่อง "พระอภัยมณี" ดังนี้
''โจรสุหรั่งฟังนางว่าช่างพูด บิดตะกูดเกเรทำเผลไพล่
จะพาเจ้าเข้าฝั่งก็ยังไกล อดอยู่ไม่ได้ดอกบอกจริงจริง''
๕. กระดางลาง
"กระดางลาง" เป็นคำกริยามีความหมายว่ามรรยาทหยาบ, สัปดน โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๒ เสด็จพระองค์หญิงดุ มาลา วรรณา สองสาวใช้
๖. ยักษ์ปักหลั่น
"ยักษ์ปักหลั่น" เป็นสำนวนที่มีความหมายเปรียบเทียบผู้ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ โดยที่มาของสำนวนนี้มาจาก ยักษ์ตนหนึ่งที่มีชื่อว่า ปักหลั่น จากวรรณคดีเรื่อง "รามเกียรติ์" สำหรับในละครนั้น คำนี้ปรากฏอยู่หลายครั้ง ใช้เปรียบเทียบกับทั้งคุณชายรอง และคุณชายเล็ก
๗. โอดกาเหว่า
"โอดกาเหว่า" เป็นภาษาปากแปลว่า ร้องคร่ำครวญ คำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๑๑ ช่วงที่ ๑ เป็นตอนที่คุณสร้อยเอาน้ำข้าวมานวดให้สาลินเพื่อจะได้ดัดมือทำให้มือไม้อ่อน รำสวยงาม แต่สาลินร้องออกมาด้วยความเจ็บปวดเนื่องจากน้ำข้าวนั้นร้อน
๘. ท้องยุ้งพุงกระสอบ
"ท้องยุ้งพุงกระสอบ" เป็นสำนวนที่หมายถึง คนกินจุ โดยคำนี้ปรากฏในละครหลายครั้ง ใช้บอกลักษณะนิสัยของตัวละคร ทั้งสาลิน, ชายเล็ก และคนใช้ เช่นในละครตอนที่ ๑๐ ช่วงที่ ๖ คุณสอางค์นำขนมมาให้สาลินรองท้องก่อนจะไปขึ้นโต๊ะเสวยกับเสด็จพระองค์หญิง เนื่องจากสาลินเป็นคนกินจุ จะให้ไปกินเยอะต่อหน้าเสด็จไม่ได้
๙. นอนตกเบิก
"ตกเบิก" เป็นคำกริยา โดยมีความหมายว่า ได้รับสิ่งที่ค้างจ่ายย้อนหลัง เมื่อรวมกับคำว่า นอน จึงกลายเป็น นอนเต็มอิ่ม, นอนเต็มตา, นอนนานจากการอดหลับอดนอน ซึ่งคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๓ ชายเล็กคุยกับชายรองว่าวันนี้เป็นวันหยุด เลยขอนอนให้เต็มอิ่มหน่อย
อย่างไรก็ตาม เราจะคุ้นชินกับคำว่า "เงินตกเบิก" มากกว่า ซึ่งหมายถึง เงินที่ได้รับจากการจ่ายย้อนหลัง
๑๐. ชะเวิกชะวาก
"ชะเวิกชะวาก" เป็นคำคุณศัพท์ใช้บรรยายลักษณะที่เปิดกว้างและลึก มักใช้กับการแต่งตัว โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๑๑ ช่วงที่ ๗ แขกในงานเลี้ยงนินทาจรวยว่าเป็นพวกเมียบ่าว แต่งตัวน่าเกลียด
ถ้าอยากไปอ่านรายละเอียดของแต่ละคำ ตามไปอ่านกันได้ที่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ent-ed.com/sapaijao.html
30 คำศัพท์ จากละครสุดน่ารัก "สะใภ้จ้าว"
วันนี้ผมก็เลยอยากจะมาแบ่งปันความรู้บางส่วนที่ได้รับจากละครเรื่องนี้ หากใครมีคำไหนเพิ่มเติม มาแชร์กันได้เลยนะครับ
๑. ทหารพระราม
"ทหารพระราม" เป็นการเปรียบเทียบว่ามีกริยาซุกซนเหมือนลิง โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๓ ช่วงที่ ๔ เป็นช่วงที่คุณสอางค์นั่งคุยกับคุณสร้อยเกี่ยวกับการจะจับคู่สาลินกับคุณชายเล็ก ซึ่งคุณสร้อยได้ค่อนสาลิน ว่า "ยิ่งกว่าทหารพระรามอีก"
๒. กระดกกระดนโด่
"กระดกกระดนโด่" เป็นคำกริยามีความหมายว่าทำตัวไม่เรียบร้อย, กระโดกกระเดก โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๒ คุณสร้อยเตือนสาลินให้ทำตัวเรียบร้อยตอนเข้าเฝ้าเสด็จพระองค์หญิง
๓. เปิ่นเทิ่นมันเทศ เทเวศร์สำปะหลัง
"เปิ่นเทิ่นมันเทศ เทเวศร์สำปะหลัง" เป็นสำนวนมีความหมายว่าบ้านนอก โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๙ คุณสร้อยเตือนสาลินแต่งตัวให้ดี ให้เหมาะสมกับการเข้าเฝ้าเสด็จพระองค์หญิง
๔. บิดตะกูด โย้กโย้กฐินบก
"บิดตะกูด โย้กโย้กฐินบก" เป็นสำนวน โดยมีความหมายว่าพูดบิวพริ้ว ไม่ตรงกับความจริง โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๔ คุณสอางค์ต่อว่าคุณสร้อย ที่ไม่ยอมพาสาลินมาเข้าเฝ้าเสด็จ โดยกล่าวอ้างว่าสาลินกริยาไม่เรียบร้อย
สำหรับคำว่า "ตะกูด" มีความหมายว่า "หางเรือเสือ" โดยการถือหางเสือเรือ เป็นการทำให้เรือแล่นไปตรง แต่ลักษณะที่ทำต้องบิดหางเสือไปมา ดังนั้นจึงเอาลักษณะของหางเสือมาเปลี่ยนเป็นลิ้นของคน ที่บิดไปบิดมา
สำนวนบิดตะกูดนี้มีปรากฎอยู่ในวรรณคดีเรื่อง "พระอภัยมณี" ดังนี้
''โจรสุหรั่งฟังนางว่าช่างพูด บิดตะกูดเกเรทำเผลไพล่
จะพาเจ้าเข้าฝั่งก็ยังไกล อดอยู่ไม่ได้ดอกบอกจริงจริง''
๕. กระดางลาง
"กระดางลาง" เป็นคำกริยามีความหมายว่ามรรยาทหยาบ, สัปดน โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๒ เสด็จพระองค์หญิงดุ มาลา วรรณา สองสาวใช้
๖. ยักษ์ปักหลั่น
"ยักษ์ปักหลั่น" เป็นสำนวนที่มีความหมายเปรียบเทียบผู้ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ โดยที่มาของสำนวนนี้มาจาก ยักษ์ตนหนึ่งที่มีชื่อว่า ปักหลั่น จากวรรณคดีเรื่อง "รามเกียรติ์" สำหรับในละครนั้น คำนี้ปรากฏอยู่หลายครั้ง ใช้เปรียบเทียบกับทั้งคุณชายรอง และคุณชายเล็ก
๗. โอดกาเหว่า
"โอดกาเหว่า" เป็นภาษาปากแปลว่า ร้องคร่ำครวญ คำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๑๑ ช่วงที่ ๑ เป็นตอนที่คุณสร้อยเอาน้ำข้าวมานวดให้สาลินเพื่อจะได้ดัดมือทำให้มือไม้อ่อน รำสวยงาม แต่สาลินร้องออกมาด้วยความเจ็บปวดเนื่องจากน้ำข้าวนั้นร้อน
๘. ท้องยุ้งพุงกระสอบ
"ท้องยุ้งพุงกระสอบ" เป็นสำนวนที่หมายถึง คนกินจุ โดยคำนี้ปรากฏในละครหลายครั้ง ใช้บอกลักษณะนิสัยของตัวละคร ทั้งสาลิน, ชายเล็ก และคนใช้ เช่นในละครตอนที่ ๑๐ ช่วงที่ ๖ คุณสอางค์นำขนมมาให้สาลินรองท้องก่อนจะไปขึ้นโต๊ะเสวยกับเสด็จพระองค์หญิง เนื่องจากสาลินเป็นคนกินจุ จะให้ไปกินเยอะต่อหน้าเสด็จไม่ได้
๙. นอนตกเบิก
"ตกเบิก" เป็นคำกริยา โดยมีความหมายว่า ได้รับสิ่งที่ค้างจ่ายย้อนหลัง เมื่อรวมกับคำว่า นอน จึงกลายเป็น นอนเต็มอิ่ม, นอนเต็มตา, นอนนานจากการอดหลับอดนอน ซึ่งคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๗ ช่วงที่ ๓ ชายเล็กคุยกับชายรองว่าวันนี้เป็นวันหยุด เลยขอนอนให้เต็มอิ่มหน่อย
อย่างไรก็ตาม เราจะคุ้นชินกับคำว่า "เงินตกเบิก" มากกว่า ซึ่งหมายถึง เงินที่ได้รับจากการจ่ายย้อนหลัง
๑๐. ชะเวิกชะวาก
"ชะเวิกชะวาก" เป็นคำคุณศัพท์ใช้บรรยายลักษณะที่เปิดกว้างและลึก มักใช้กับการแต่งตัว โดยคำนี้อยู่ในละครตอนที่ ๑๑ ช่วงที่ ๗ แขกในงานเลี้ยงนินทาจรวยว่าเป็นพวกเมียบ่าว แต่งตัวน่าเกลียด
ถ้าอยากไปอ่านรายละเอียดของแต่ละคำ ตามไปอ่านกันได้ที่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้