สิ่งที่หลายคนพูดถึงเมื่อได้ดูละครสะใภ้จ้าวก็คือ วรรณคดีและวรรณกรรมหลาย ๆ เรื่องที่แทรกปนอยู่ในบทสนทนาของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งเป็นภาพจำมาตั้งแต่เวอร์ชันก่อน จนกระทั่งเวอร์ชันปัจจุบันก็ยังคงปรากฏอยู่ โดยเป็นผลงานการเขียนบทโทรทัศน์โดยคนเดียวกันคือ คุณวิสุทธิชัย บุณยะกาญจน (เวอร์ชันปัจจุบันมีคนเขียนบทอีกคนคือ Sanctuary)
หลาย ๆ ครั้งที่ละครกล่าวถึงวรรณคดี วรรณกรรม ทำให้นึกย้อนทวนความทรงจำในช่วงเป็นนักเรียน เรียนวิชาภาษาไทย ...เหยยย ตอนนั้นเรียนนิทานเวตาลไม่ได้เรียนบทนี้ (บทที่พูดถึงในละครสะใภ้จ้าว) เหยย ตัวนี้อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์เหรอ ใครอ่ะ ตอนนั้นไม่ได้เรียน บางชื่อบางตอนก็คุ้น ๆ แต่เลือนลางเต็มที 55555555555 ยอมรับว่า หลายครั้งต้องเสิร์ชกูเกิ้ล ต้องถามเพื่อนผู้รู้ ...รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม... มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
การเอ่ยถึงวรรณคดีและวรรณกรรมที่แทรกปนอยู่ในละคร เท่าที่ จขกท. นึกออก เห็นว่ามันปรากฏใน 4 ลักษณะ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบ พาดพิง เอ่ยถึงชื่อตัวละคร
เช่น
- ป้าสร้อยค่อนขอดว่าสาลินเป็น
สมุนพระรามกลับชาติมาเกิด หรือ
ทหารพระลักษณ์บ้างล่ะ อันนี้เดาได้ไม่ยาก ความหมายของป้าสร้อยก็คือ กระแนะกระแหนว่าสาลินไม่เรียบร้อย ซนเป็นลิงเป็นค่าง
- ตอนที่สาลินจะเข้าเฝ้าเสด็จฯครั้งแรก ป้าสร้อยกำชับสาลินขนานใหญ่ บอกว่า เวลากราบเสด็จพระองค์หญิงอย่าได้ทำกระผลุบกระผลับเป็น
นางสวาหะ แล้วเวลาคลานอย่าให้กระดกกระดนโด่เป็น
นางแก้วหน้าม้า (นางสวาหะมาจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นแม่ของหนุมาน ถูกสาปให้ไปยีนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล)
- ศรีจิตราแต่งชุดแฟนซีในงานฉลองวันประสูติเสด็จฯเป็น
นางเซเฮราซาด นางเอกจากเรื่องพันหนึ่งราตรีหรืออาหรับราตรี ซึ่งศรีจิตราก็คือนางเซเฮราซาดนั่นเอง ที่มักจะเล่านิทานให้คุณชายเล็กฟังอยู่บ่อยๆ
2. การเอ่ยถึงชื่อเรื่อง
เช่น
- สาลินเห็น
หนังสือบันเทิงทศวารและ
หนังสือจันดาราในห้องสมุดของวังวุฒิเวสม์ สาลินอยากอ่านมาก ส่วนหนึ่งเพราะเป็นหนังสือต้องห้ามและหนังสือหายากในสมัยนั้น แล้วด้วยนิสัยเฟี้ยวๆของนาง ยิ่งอยากอ่านแน่ละ นางถึงพยายามจะขโมยกลับไป แต่คุณชายรองรู้ทัน เลยบอกว่าจะอนุญาตให้สาลินอ่านได้เมื่อนางแต่งงานมีสามีแล้ว เพราะมันเป็นหนังสือวับๆแวมๆ อิอิอิ
- สาลินยืม
หนังสือเสียวสวาดมาจากห้องสมุด เอามาให้ศรีจิตราอ่าน แต่ชื่อเรื่องฟังดูชอบกล ๆ นึกว่าเป็นเรื่องทะลึ่งตึงตัง ป้าสร้อยเลยไม่ให้อ่าน (เสียวสวาด เป็นวรรณคดีลาวและนิทานพื้นบ้านของอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องของท้าวเสียวสวาด ที่เป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง คล้ายๆศรีธนญชัย) และสาลินก็เคยใช้มุกนี้กับคุณชายรอง จนคุณชายรองดุว่าเป็นสาวเป็นนาง ทำไมพูดจาแบบนี้
3. การหยิบยกบทโคลงกลอนตอนใดตอนหนึ่งมา
- ตอนที่คุณชายรองและศรีจิตราจะได้พบกันครั้งแรก บรรดากองเชียร์ก็ลุ้นว่า จะต้องเหมือนตอนที่อิเหนาพบนางบุษบาครั้งแรกแน่นอน ...อิเหนา (ชายรอง) มัวแต่ไปหลงใหลนางจินตะหราวาตี (หญิงก้อย) ทั้งๆที่เป็นคู่ตุนาหงันกับนางบุษบา (ศรีจิตรา) แต่เมื่ออิเหนาพบนางบุษบาครั้งแรกก็ถึงกับตะลึงพรึงเพริด
เมื่อนั้น ระเด่นมนตรีเรืองศรี
เหลียวไปรับไหว้เทวี ภูมีดูนางไม่วางตา
งามจริงยิ่งเทพนิมิต ให้คิดเสียดายเป็นหนักหนา
เทโสไหลหลั่งทั้งกายา สะบัดปลายเกศาเนืองไป
ในละครยกกลอนนี้มาทั้งบท นมย้อยท่องกลอนนี้ให้คุณชายเล็กฟัง ตัดฉากต่อเนื่องไปที่ห้องศรีจิตรา มาลากับวรรณาก็กำลังท่องกลอนต่อจากนมย้อยพอดิบพอดีกัน แต่ในละครไม่ได้เป็นเช่นนั้น คุณชายรองเมินมากกก
- ตอนที่ศรีจิตราไปบ้านสวนเมืองนนท์ไปเยี่ยมคุณตาคุณยาย ซึ่งไม่ได้มาที่นี่นานเป็นปี ๆ คุณยายท่องกลอนบทชมโฉมนางบุษบา ชมหลานสาวว่าสวยเหมือนนางบุษบา
...พักตรน้องละอองนวลปลั่งเปล่ง ดังดวงจันทร์วันเพ็งประไพศรี
อรชรอ้อนแอ้นทั้งอินทรีย์ ดังกินรีลงทรงคาลัย...
ส่วนสาลินก็ชมตัวเองบ้างว่า นางสวยเหมือนนางจินตะหราวาตี
...งามงอนอ่อนระทวยนวยแน่ง ดำแดงนวลเนื้อสองสี
ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี นางในธานีไม่เทียมทัน...
(จากวรรณคดีเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2)
- ตอนที่คุณชายรองตกยาก สาลินมาที่บ้านเช่าของคุณชายรอง เห็นดอกไม้วัชพืชในสวนก็เลยท่องโคลงในเรื่อง ลิลิตพระลอ ตอนที่พระลอใช้ชีวิตยากลำบากกลางป่า สาลินพูดโคลงบาทแรกขึ้นมา คุณชายรองก็พูดต่อด้วยบาทที่สอง
ยามไร้เด็ดดอกหญ้า แซมผม พระเอย
หอมบ่หอมทัดดม ดั่งบ้า
(ส่วนที่เหลือของโคลงนี้คือ ...สุกกรมรำดวนชม เชยกลิ่น พระเอย / หอมกลิ่นเรียมโอ้อ้า กลิ่นแก้วติดใจฯ...)
4. คนพูดถึงกันมากคือ
ฉากเล่านิทานสื่อรักของศรีจิตรา เพื่อส่งความในใจถึงคุณชายเล็ก
(cr. รูปจากไอจี sapaijao2015_update)
- เวตาลปัญจวิงศติ นิทานเรื่องที่สิบ ปริศนายากของเวตาล (พระนิพนธ์ของ น.ม.ส. หรือพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) ศรีจิตราพยายามจะบอกว่า คู่ที่คิดว่าคู่ควรกันแต่ก็อาจเกิดการสลับคู่อลวนสลับคนอลเวงได้ ดังเช่นกรณีรักสี่เส้าของ คุณชายรอง-สาลิน-คุณชายเล็ก-ศรีจิตรา
- เวตาลปัญจวิงศติ นิทานเรื่องที่หนึ่ง เรื่องของพระวัชรมงกุฎกับพุทธศริระ (พระนิพนธ์ของ น.ม.ส. หรือพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) อันนี้ชัดเจนมาก ว่าศรีจิตรากำลังบอกรักคุณชายเล็ก แต่เป็นวิธีการบอกรักแบบแนบเนียน คริๆๆ โดยเลียนแบบนางปัทมวดีในนิทานเรื่องนี้
- มัทนะพาธา (พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6)
- นางเงือกน้อย (Little mermaid)
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ จขกท. รวบรวมมา อาจตกหล่นหรือผิดพลาดอะไรไปบ้าง รบกวนผู้รู้เพิ่มเติมค่ะ
คนเขียนบทหยิบเอาวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องต่าง ๆ มาแทรกซึมอยู่ในละครตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งมันกลมกลืนเข้ากับละครอย่างที่ไม่รู้สึกประดักประเดิดเลย แต่กลับรู้สึกว่า เฮ้ยย... เจ๋งอ่ะ เพิ่มความละเมียดละไมให้กับละคร และเพิ่มความน่าสนใจให้กับละครได้อย่างมาก ขอคารวะคนเขียนบทมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
เมื่อวรรณคดีและวรรณกรรมแทรกปนอยู่ใน "สะใภ้จ้าว"
หลาย ๆ ครั้งที่ละครกล่าวถึงวรรณคดี วรรณกรรม ทำให้นึกย้อนทวนความทรงจำในช่วงเป็นนักเรียน เรียนวิชาภาษาไทย ...เหยยย ตอนนั้นเรียนนิทานเวตาลไม่ได้เรียนบทนี้ (บทที่พูดถึงในละครสะใภ้จ้าว) เหยย ตัวนี้อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์เหรอ ใครอ่ะ ตอนนั้นไม่ได้เรียน บางชื่อบางตอนก็คุ้น ๆ แต่เลือนลางเต็มที 55555555555 ยอมรับว่า หลายครั้งต้องเสิร์ชกูเกิ้ล ต้องถามเพื่อนผู้รู้ ...รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม... มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
การเอ่ยถึงวรรณคดีและวรรณกรรมที่แทรกปนอยู่ในละคร เท่าที่ จขกท. นึกออก เห็นว่ามันปรากฏใน 4 ลักษณะ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบ พาดพิง เอ่ยถึงชื่อตัวละคร
เช่น
- ป้าสร้อยค่อนขอดว่าสาลินเป็นสมุนพระรามกลับชาติมาเกิด หรือทหารพระลักษณ์บ้างล่ะ อันนี้เดาได้ไม่ยาก ความหมายของป้าสร้อยก็คือ กระแนะกระแหนว่าสาลินไม่เรียบร้อย ซนเป็นลิงเป็นค่าง
- ตอนที่สาลินจะเข้าเฝ้าเสด็จฯครั้งแรก ป้าสร้อยกำชับสาลินขนานใหญ่ บอกว่า เวลากราบเสด็จพระองค์หญิงอย่าได้ทำกระผลุบกระผลับเป็นนางสวาหะ แล้วเวลาคลานอย่าให้กระดกกระดนโด่เป็นนางแก้วหน้าม้า (นางสวาหะมาจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นแม่ของหนุมาน ถูกสาปให้ไปยีนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล)
- ศรีจิตราแต่งชุดแฟนซีในงานฉลองวันประสูติเสด็จฯเป็น นางเซเฮราซาด นางเอกจากเรื่องพันหนึ่งราตรีหรืออาหรับราตรี ซึ่งศรีจิตราก็คือนางเซเฮราซาดนั่นเอง ที่มักจะเล่านิทานให้คุณชายเล็กฟังอยู่บ่อยๆ
2. การเอ่ยถึงชื่อเรื่อง
เช่น
- สาลินเห็นหนังสือบันเทิงทศวารและหนังสือจันดาราในห้องสมุดของวังวุฒิเวสม์ สาลินอยากอ่านมาก ส่วนหนึ่งเพราะเป็นหนังสือต้องห้ามและหนังสือหายากในสมัยนั้น แล้วด้วยนิสัยเฟี้ยวๆของนาง ยิ่งอยากอ่านแน่ละ นางถึงพยายามจะขโมยกลับไป แต่คุณชายรองรู้ทัน เลยบอกว่าจะอนุญาตให้สาลินอ่านได้เมื่อนางแต่งงานมีสามีแล้ว เพราะมันเป็นหนังสือวับๆแวมๆ อิอิอิ
- สาลินยืมหนังสือเสียวสวาดมาจากห้องสมุด เอามาให้ศรีจิตราอ่าน แต่ชื่อเรื่องฟังดูชอบกล ๆ นึกว่าเป็นเรื่องทะลึ่งตึงตัง ป้าสร้อยเลยไม่ให้อ่าน (เสียวสวาด เป็นวรรณคดีลาวและนิทานพื้นบ้านของอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องของท้าวเสียวสวาด ที่เป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง คล้ายๆศรีธนญชัย) และสาลินก็เคยใช้มุกนี้กับคุณชายรอง จนคุณชายรองดุว่าเป็นสาวเป็นนาง ทำไมพูดจาแบบนี้
3. การหยิบยกบทโคลงกลอนตอนใดตอนหนึ่งมา
- ตอนที่คุณชายรองและศรีจิตราจะได้พบกันครั้งแรก บรรดากองเชียร์ก็ลุ้นว่า จะต้องเหมือนตอนที่อิเหนาพบนางบุษบาครั้งแรกแน่นอน ...อิเหนา (ชายรอง) มัวแต่ไปหลงใหลนางจินตะหราวาตี (หญิงก้อย) ทั้งๆที่เป็นคู่ตุนาหงันกับนางบุษบา (ศรีจิตรา) แต่เมื่ออิเหนาพบนางบุษบาครั้งแรกก็ถึงกับตะลึงพรึงเพริด
เมื่อนั้น ระเด่นมนตรีเรืองศรี
เหลียวไปรับไหว้เทวี ภูมีดูนางไม่วางตา
งามจริงยิ่งเทพนิมิต ให้คิดเสียดายเป็นหนักหนา
เทโสไหลหลั่งทั้งกายา สะบัดปลายเกศาเนืองไป
ในละครยกกลอนนี้มาทั้งบท นมย้อยท่องกลอนนี้ให้คุณชายเล็กฟัง ตัดฉากต่อเนื่องไปที่ห้องศรีจิตรา มาลากับวรรณาก็กำลังท่องกลอนต่อจากนมย้อยพอดิบพอดีกัน แต่ในละครไม่ได้เป็นเช่นนั้น คุณชายรองเมินมากกก
- ตอนที่ศรีจิตราไปบ้านสวนเมืองนนท์ไปเยี่ยมคุณตาคุณยาย ซึ่งไม่ได้มาที่นี่นานเป็นปี ๆ คุณยายท่องกลอนบทชมโฉมนางบุษบา ชมหลานสาวว่าสวยเหมือนนางบุษบา
...พักตรน้องละอองนวลปลั่งเปล่ง ดังดวงจันทร์วันเพ็งประไพศรี
อรชรอ้อนแอ้นทั้งอินทรีย์ ดังกินรีลงทรงคาลัย...
ส่วนสาลินก็ชมตัวเองบ้างว่า นางสวยเหมือนนางจินตะหราวาตี
...งามงอนอ่อนระทวยนวยแน่ง ดำแดงนวลเนื้อสองสี
ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี นางในธานีไม่เทียมทัน...
(จากวรรณคดีเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2)
- ตอนที่คุณชายรองตกยาก สาลินมาที่บ้านเช่าของคุณชายรอง เห็นดอกไม้วัชพืชในสวนก็เลยท่องโคลงในเรื่อง ลิลิตพระลอ ตอนที่พระลอใช้ชีวิตยากลำบากกลางป่า สาลินพูดโคลงบาทแรกขึ้นมา คุณชายรองก็พูดต่อด้วยบาทที่สอง
ยามไร้เด็ดดอกหญ้า แซมผม พระเอย
หอมบ่หอมทัดดม ดั่งบ้า
(ส่วนที่เหลือของโคลงนี้คือ ...สุกกรมรำดวนชม เชยกลิ่น พระเอย / หอมกลิ่นเรียมโอ้อ้า กลิ่นแก้วติดใจฯ...)
4. คนพูดถึงกันมากคือ ฉากเล่านิทานสื่อรักของศรีจิตรา เพื่อส่งความในใจถึงคุณชายเล็ก
(cr. รูปจากไอจี sapaijao2015_update)
- เวตาลปัญจวิงศติ นิทานเรื่องที่สิบ ปริศนายากของเวตาล (พระนิพนธ์ของ น.ม.ส. หรือพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) ศรีจิตราพยายามจะบอกว่า คู่ที่คิดว่าคู่ควรกันแต่ก็อาจเกิดการสลับคู่อลวนสลับคนอลเวงได้ ดังเช่นกรณีรักสี่เส้าของ คุณชายรอง-สาลิน-คุณชายเล็ก-ศรีจิตรา
- เวตาลปัญจวิงศติ นิทานเรื่องที่หนึ่ง เรื่องของพระวัชรมงกุฎกับพุทธศริระ (พระนิพนธ์ของ น.ม.ส. หรือพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) อันนี้ชัดเจนมาก ว่าศรีจิตรากำลังบอกรักคุณชายเล็ก แต่เป็นวิธีการบอกรักแบบแนบเนียน คริๆๆ โดยเลียนแบบนางปัทมวดีในนิทานเรื่องนี้
- มัทนะพาธา (พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6)
- นางเงือกน้อย (Little mermaid)
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ จขกท. รวบรวมมา อาจตกหล่นหรือผิดพลาดอะไรไปบ้าง รบกวนผู้รู้เพิ่มเติมค่ะ
คนเขียนบทหยิบเอาวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องต่าง ๆ มาแทรกซึมอยู่ในละครตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งมันกลมกลืนเข้ากับละครอย่างที่ไม่รู้สึกประดักประเดิดเลย แต่กลับรู้สึกว่า เฮ้ยย... เจ๋งอ่ะ เพิ่มความละเมียดละไมให้กับละคร และเพิ่มความน่าสนใจให้กับละครได้อย่างมาก ขอคารวะคนเขียนบทมา ณ โอกาสนี้ค่ะ