๛ ชาวนาไขน้ำเข้านา ช่างศรดัดลูกศร ช่างไม้ถากไม้ บัณฑิตย่อมฝึกตน ๛

ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

----------------------



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖



อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา
                  
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ

ทารุ ํ นมยนฺติ ตจฺฉกา

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.








------------


               สามเณรบัณฑิตไปบิณฑบาตกับท่านพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์

               สามเณรเมื่อไปกับพระอุปัชฌาย์ เห็นเหมืองในระหว่างทาง จึงเรียนถามว่า "นี้ชื่ออะไร? ขอรับ."
               พระเถระ. ชื่อว่าเหมือง สามเณร.
               สามเณร. เขาทำอะไร? ด้วยเหมืองนี้.
               พระเถระ. เขาไขน้ำจากที่นี้ๆ แล้ว ทำการงานเกี่ยวด้วยข้าวกล้าของตน.
               สามเณร. ก็น้ำมีจิตไหม? ขอรับ
               พระเถระ. ไม่มี เธอ.
               สามเณร. ชนทั้งหลายย่อมไขน้ำที่ไม่มีจิตเห็นปานนี้สู่ที่ๆ ตนปรารถนาแล้วๆ ได้หรือ? ขอรับ.
               พระเถระ. ได้ เธอ.
               สามเณรนั้นคิดว่า "ถ้าคนทั้งหลายไขน้ำซึ่งไม่มีจิตแม้เห็นปานนี้ สู่ที่ๆ ตนปรารถนาแล้วๆ ทำการงานได้
                                       เหตุไฉน? คนมีจิตแท้ๆ จักไม่อาจเพื่อทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจ แล้วบำเพ็ญสมณธรรม."


               เธอเดินต่อไปเห็นพวกช่างศรกำลังเอาลูกศรลนไฟแล้ว เล็งด้วยหางตา ดัดให้ตรง จึงเรียนถามว่า "พวกนี้ชื่อพวกอะไรกัน? ขอรับ."
               พระเถระ. ชื่อช่างศร เธอ.
               สามเณร. ก็พวกเขา ทำอะไรกัน?
               พระเถระ. เขาลนที่ไฟ แล้วดัดลูกศรให้ตรง.
               สามเณร. ลูกศรนั่น มีจิตไหม? ขอรับ.
               พระเถระ. ไม่มีจิต เธอ.
               เธอคิดว่า "ถ้าคนทั้งหลายถือเอาลูกศรอันไม่มีจิตลนไฟแล้ว ดัดให้ตรงได้
                             เพราะเหตุไร? แม้คนมีจิต จึงจักไม่อาจเพื่อทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจ แล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า?"


               ครั้นสามเณรเดินต่อไป เห็นชนถากไม้ทำเครื่องทัพสัมภาระมีกำกงและดุมเป็นต้น จึงเรียนถามว่า "พวกนี้ชื่อพวกอะไร? ขอรับ."
               พระเถระ. ชื่อช่างถาก เธอ.
               สามเณร. ก็พวกเขาทำอะไรกัน?
               พระเถระ. เขาถือเอาไม้แล้วทำล้อแห่งยานน้อยเป็นต้น เธอ.
               สามเณร. ก็ไม้เหล่านั่น มีจิตไหม? ขอรับ.
               พระเถระ. ไม่มีจิต เธอ.


               สามเณรกลับไปทำสมณธรรม
               สามเณรถือเอานิมิตที่ตนเห็นแล้วโดยเป็นอุปมาน้อมเข้าไปในการฝึกจิตของตน แล้วคิดว่า
               มนุษย์นำเอาน้ำที่ไม่มีจิตใจ ไปสู่ที่ตนปรารถนาแล้วๆ
               ถึงช่างศรก็เหมือนกันดัดลูกศรที่ปราศจากจิตใจ แม้คดให้ตรงได้ด้วยอุบาย
               ช่างถากก็เหมือนกันย่อมกระทำไม้ที่คดมีท่อนไม้เป็นต้นที่หาเจตนามิได้ให้ตรง โดยทำเป็นกงเป็นต้น.

               เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร เราจึงไม่ทำจิตของเราให้ตรงเล่า
               ดังนี้แล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา เพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก.


                พระศาสดาเมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                                      ๕. อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา                  
                                           อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
                                           ทารุ ํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
                                           อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.

                             อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ, ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดศร,
                             ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้, บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน.

               มีพระพุทธาธิบาย ตรัสไว้ดังนี้ว่า :-
               "พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำไปตามชอบใจของตนได้,
               แม้ช่างศรก็ย่อมลนดัดลูกศร คือทำให้ตรง,
               ถึงช่างถาก เมื่อจะถากเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมีกงเป็นต้น ย่อมดัดไม้ คือทำให้ตรงหรือคด ตามชอบใจของตน.
               บัณฑิตทั้งหลายทำเหตุมีประมาณเท่านี้ ให้เป็นอารมณ์อย่างนั้นแล้ว ยังมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้นให้เกิดขึ้นอยู่
               ย่อมชื่อว่าทรมานตน, แต่เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมจัดว่าทรมานโดยส่วนเดียว."
               ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

                 http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=16&p=5



☆☆☆☆☆☆☆


ปณฺฑิต

อ่านว่า ปัน-ดิ-ตะ


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้





ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่