ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.)เผยผลสำรวจพบนายจ้างพึงพอใจคุณภาพบัณฑิต จากทักษะรอบด้านเหมาะกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน อาทิ มีความรู้ในการใช้ภาษาต่างประเทศความสามารถในนำเสนอผลงาน มีความเป็นผู้นำสูงซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และสุภาพ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับ 5 Star จาก QS World University Rating ในด้าน Employability หรือ การจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัย
ซึ่งพิจารณาจากความพร้อม และความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่น ตลอดจนสามารถหางานทำได้ภายใน 1 ปี หลังเรียนจบ ซึ่งปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก สู่ตลาดแรงงานปีละประมาณ 9,000 คน
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยผลสำรวจความพึงพอใจความคิดเห็น และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อมหาวิทยาลัย ประจำปี 2557 ในกลุ่มนายจ้างของบัณฑิต จำนวนกว่า 2 พันตัวอย่าง พบว่ามีความชื่นชอบ และเชื่อมั่นในศักยภาพของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งคุณสมบัติที่กลุ่มนายจ้างต้องการ ได้แก่ การมีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ มีความสามารถในนำเสนอผลงาน มีความเป็นผู้นำสูงมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยสุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ เสียสละ ฯลฯ
นอกจานี้ มธ.ยังได้รับการประเมินระดับ 5 Star จาก QS World University Rating ด้าน Employability หรือ การจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยจากสถาบันจัดอันดับและประเมินมาตรฐานด้านการศึกษาระดับโลก (QS) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา เช่น การสอบสัมภาษณ์ที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถในสาขาวิชานั้นๆ ความพร้อม และความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมตลอดจนอัตราการจ้างงานบัณฑิต ที่มีกำหนดว่าบัณฑิตกว่า 90 % สามารถหางานทำได้ภายใน 1 ปี หลังเรียนจบ ฯลฯ
"ปัจจุบัน มธ. สามารถผลิตบัณฑิตออกสู่สู่ตลาดแรงงานปีละกว่า 9,000 คน เน้นพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตทางด้านภาษา ด้านวิชาการ และคุณสมบัติของการเป็นผู้นำในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นโลกยุคใหม่ไร้พรมแดนทางการค้าและวัฒนธรรม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงปลายปีนี้"
"โดยวิชาชีพที่คาดว่าจะมีโอกาสเคลื่อนย้ายแรงงานสูงที่สุดในอาเซียน ได้แก่ สาขาวิชาชีพแพทย์,ทันตแพทย์,พยาบาล,วิศวกรรมสถาปัตยกรรม,การสำรวจ และบัญชี ซึ่งกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก (Mutual Recognition Arrangements: MRAs)"
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทย ผ่านการปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่ยึดมั่นในความเป็นธรรม การมีจิตสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติของการผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21
ธรรมศาสตร์ปลื้มคุณภาพบัณฑิต หลังผลสำรวจชี้ชัดนายจ้างอยากจ้างงาน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.)เผยผลสำรวจพบนายจ้างพึงพอใจคุณภาพบัณฑิต จากทักษะรอบด้านเหมาะกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน อาทิ มีความรู้ในการใช้ภาษาต่างประเทศความสามารถในนำเสนอผลงาน มีความเป็นผู้นำสูงซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และสุภาพ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับ 5 Star จาก QS World University Rating ในด้าน Employability หรือ การจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัย
ซึ่งพิจารณาจากความพร้อม และความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่น ตลอดจนสามารถหางานทำได้ภายใน 1 ปี หลังเรียนจบ ซึ่งปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก สู่ตลาดแรงงานปีละประมาณ 9,000 คน
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยผลสำรวจความพึงพอใจความคิดเห็น และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อมหาวิทยาลัย ประจำปี 2557 ในกลุ่มนายจ้างของบัณฑิต จำนวนกว่า 2 พันตัวอย่าง พบว่ามีความชื่นชอบ และเชื่อมั่นในศักยภาพของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งคุณสมบัติที่กลุ่มนายจ้างต้องการ ได้แก่ การมีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ มีความสามารถในนำเสนอผลงาน มีความเป็นผู้นำสูงมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยสุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ เสียสละ ฯลฯ
นอกจานี้ มธ.ยังได้รับการประเมินระดับ 5 Star จาก QS World University Rating ด้าน Employability หรือ การจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยจากสถาบันจัดอันดับและประเมินมาตรฐานด้านการศึกษาระดับโลก (QS) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา เช่น การสอบสัมภาษณ์ที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถในสาขาวิชานั้นๆ ความพร้อม และความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมตลอดจนอัตราการจ้างงานบัณฑิต ที่มีกำหนดว่าบัณฑิตกว่า 90 % สามารถหางานทำได้ภายใน 1 ปี หลังเรียนจบ ฯลฯ
"ปัจจุบัน มธ. สามารถผลิตบัณฑิตออกสู่สู่ตลาดแรงงานปีละกว่า 9,000 คน เน้นพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตทางด้านภาษา ด้านวิชาการ และคุณสมบัติของการเป็นผู้นำในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นโลกยุคใหม่ไร้พรมแดนทางการค้าและวัฒนธรรม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงปลายปีนี้"
"โดยวิชาชีพที่คาดว่าจะมีโอกาสเคลื่อนย้ายแรงงานสูงที่สุดในอาเซียน ได้แก่ สาขาวิชาชีพแพทย์,ทันตแพทย์,พยาบาล,วิศวกรรมสถาปัตยกรรม,การสำรวจ และบัญชี ซึ่งกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก (Mutual Recognition Arrangements: MRAs)"
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทย ผ่านการปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่ยึดมั่นในความเป็นธรรม การมีจิตสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติของการผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21