JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี..ซี้จุกสูญ นักวิชาการชี้ไทยเข้าสู่วิกฤตต้มกบ ผลจากศก.ซึม-ลงทุนกระจุกแค่รายใหญ่

กระทู้คำถาม
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในงานเสวนา “เศรษฐกิจไทย 2560 : SOMTUM Crisis ?” ว่า ระยะสั้นเศรษฐกิจไทยไม่น่าเป็นห่วง วงจรเศรษฐกิจอยู่ในทิศทางดีขึ้น เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจทั้งการบริโภค ราคาสินค้าเกษตร การส่งออก การลงทุนภาคเอกชน เริ่มดีขึ้น และการใช้จ่ายการลงทุนภาครัฐจะเป็นเครื่องจักรใหญ่ที่เริ่มต้นลงนามสัญญาแต่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามคือภัยแล้ง จะกระทบต่อเกษตรกรและกำลังซื้อแค่ไหน รวมทั้ง เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และการเมืองระหว่างประเทศจะส่งผลต่อส่งออกไทยอย่างไร โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 3.3-3.5%

“แต่ระยะกลางและยาว การลงทุนภาคเอกชนยังไม่กระจายตัว กระจุกแค่อุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใช้เงินลงทุนสูงแต่ไม่ได้สร้างรายได้กับการจ้างงานนัก เพราะใช้แรงงานน้อย โจทย์ใหญ่จากนี้คือ ภาครัฐและส่วนที่กี่ยวข้องจะแก้ไขและพัฒนาอย่างไรให้การลงทุนกระจายสู่เอสเอ็มอี ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการจ้างงานของประเทศ ”

นายสุทธิกร กิ่งแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ มธ. กล่าวว่า แม้ว่าศรษฐกิจไทยไม่มีสัญญาณวิกฤตเศรษฐกิจส้มตำ แต่เศรษฐกิจไทยขณะนี้เหมือนวิกฤตต้มกบ โดยกบอยู่ในน้ำกำลังต้ม แต่กบปรับอุณหภูมิตัวเองช้าๆ ตามน้ำ ซึ่งไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังจะตาย จนน้ำเดือดกบตัวนั้นก็จะตาย เช่นกันกับเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจเติบโตช้าลง หลายอุตสาหกรรมปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะสิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อย่างฮาร์ดดิสก์ และรถยนต์ จะถูกรถยนต์ไฟฟ้ามาแทนที่ หากไม่ปรับตัว ไม่สามารถแข่งขันได้และตายในที่สุดดังกบต้ม

นายวิทวัส รุ่งเรืองผล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มธ. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่มีสัญญาณเข้าสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ แต่จะทรงตัวและเติบโตอย่างช้าๆ เพราะที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยซึมตัวจากปัจจัยลบสะสม ทั้งส่งออกไม่ดี การบริโภคในประเทศไม่คึกคัก การลงทุนของภาคเอกชนโตช้า ภาคการลงทุนกลับมาดีขึ้น แต่กระจุกตัวเฉพาะกลุ่มธุรกิจรายใหญ่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่