ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
----------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อัปปสุตสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมาก ทั้งเข้าถึงด้วยสุตะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างไร
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย
ทั้งเขาก็หาได้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างไร
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย
แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างไร
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก
แต่เขาหาได้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
ถ้าบุคคลมีสุตะน้อย ทั้งไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย แต่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก แต่ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียนเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์
ถ้าบุคคลมีสุตะมาก ทั้งตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง
ใครควรเพื่อจะติเตียนเขาผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ผู้เป็นประดุจแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ
จบสูตรที่ ๖
☆☆☆☆☆☆☆
สุตะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พหูสูต
(ข้อ ๒ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๓ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๔ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในอริยทรัพย์ ๗)
พหุสฺสุต
อ่านว่า พะ-หุด-สุ-ตะ
ประกอบด้วย พหู+สุต=พหุสฺสุต
ไทยเขียน "พหูสูต"
แปลตามศัพท์ว่า "ฟังมาก" หมายถึงผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก, ผู้คงแก่เรียน
คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพหูสูต มี ๕ ประการคือ
๑ พหุสสุตา (พหุสฺสุตา) (ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก -
having heard or learned many ideas)
๒ ธตา (จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ -
having retained or remembered them)
๓ วจสา ปริจิตา (คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจน -
having frequently practiced them verbally; having consolidated them by word of mouth)
๔ มนสานุเปกขิตา ( มนสานุเปกฺขิตา) (เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด -
having looked over them with the mind)
๕ ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา) (ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฐิ คือ
ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล -
having thoroughly penetrated them by view)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=369&p=1
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พหูสูต
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พาหุสัจจะ
ภาษาไทยใช้ว่า พหูสูต (พะ-หู-สูด)
ระวังอย่าเขียนผิดเป็น พหูสูตร
สุตตะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สุตฺต
สุตฺต อ่านว่า สุด-ตะ
แปลตามรากศัพท์ว่า
(1) “วจนะที่หลั่งเนื้อความออกมา”
(2) “วจนะที่ยังเนื้อความให้หลั่งไหลออกมาเหมือนแม่โคหลั่งน้ำนม”
(3) “วจนะที่รักษาธรรมไว้ด้วยดี”
(4) “วจนะที่ประกาศเนื้อความ”
“สุตฺต” ในที่นี้ในภาษาไทยใช้ว่า “สูตร” หรือ “พระสูตร”
หมายถึงพระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่งๆ ในพระสุตตันตปิฎก แสดงเจือด้วยบุคลาธิษฐาน คือมีตัวบุคคล เหตุการณ์ สถานที่
สาระสำคัญอยู่ที่เรื่องราวที่เกิดขึ้นหรือข้อธรรมที่แสดงในเหตุการณ์นั้น
ที่มา : บาลีวันละคำ (นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)
อานิสงส์การเป็นพหูสูตประการหนึ่งคือ
เป็นสชาติปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป
๛ ถ้าบุคคลมีสุตะมาก ทั้งตั้งมั่นดีแล้วในศีล ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้เป็นพหูสูต เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ๛
----------------------
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมาก ทั้งเข้าถึงด้วยสุตะ ๑
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย
ทั้งเขาก็หาได้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างนี้แล
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย
แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างนี้แล
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก
แต่เขาหาได้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างนี้แล
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก
ทั้งเขาก็รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
บุคคลผู้มีสุตะมาก ทั้งเข้าถึงด้วยสุตะ เป็นอย่างนี้แล
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย แต่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก แต่ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียนเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์
ถ้าบุคคลมีสุตะมาก ทั้งตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง
ใครควรเพื่อจะติเตียนเขาผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ผู้เป็นประดุจแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๓๔ - ๑๖๔. หน้าที่ ๖ - ๗.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=134&Z=164&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=6
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[6] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=21&item=6&Roman=0
สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ คือ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นวังคสัตถุสาสน์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นสชาติปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=60