“หมูก็เหมือนคน พอโตถึงจุดหนึ่ง จะไม่โตแล้ว”
เจ้าสัวเริ่มต้นเรื่องราวของหมูด้วยการเปรียบเทียบแบบง่ายๆ ให้เห็นภาพ
เจ้าสัวอธิบายว่า เมื่อหมูโตถึงจุดหนึ่งแล้ว มันจะหยุดโต กินทุกวันแต่ไม่โต เวลาหมูล้นตลาด ราคาไม่ดี ทำให้ไม่มีใครมาจับหมูจากเกษตรกรไปขาย เกษตรกรก็จำต้องเลี้ยงหมูตัวนั้นต่อไป
เจ้าสัวยกตัวอย่างเป็นตัวเลขกลมๆ ให้ฟังว่า สมมติปกติขายได้กำไรตัวละ 500 บาท แต่ถ้าเลี้ยงหมูตัวนั้นต่อไป ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ทั้งค่าอาหาร ค่าดูแลต่างๆ กำไร 500 บาทต่อตัวที่ควรจะได้ก็ไม่เหลือ ยิ่งจับช้า จากกำไรก็จะกลายเป็นขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ
ฟังแบบนี้เกษตรกรก็แย่น่ะสิ...
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เจ้าสัวบอกว่า ต้องจับหมูจากเกษตรกรไปขายให้ตรงเวลา วันไหน ชั่วโมงไหน นาทีไหน ต้องมีคนไปจับเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ จับเสร็จแล้วก็ต้องมีลูกหมูมาให้เกษตรกรเลี้ยงต่อทันที
ถ้าไม่วางแผนอย่างรอบคอบถึงวันนั้น หมูขายไปแล้ว แต่โรงเรือนว่าง ไม่มีลูกหมูมาลงใหม่ ค่าใช้จ่ายเกิด แต่รายได้ไม่เกิด มีค่าเสื่อมโรงเรือน ดอกเบี้ยก็เดินอยู่ทุกวัน ฉะนั้นหากไม่ทำแบบครบวงจร (Integration) เกษตรกรก็จะมีความเสี่ยง
...หมูโตแล้วจะไปขายที่ไหน
...ถ้าหมูล้นตลาด ใครจะรับซื้อ
... หาลูกหมูมาลงไม่ได้ โรงเรือนว่าง เสียโอกาสการสร้างรายได้จากโรงเรือน
ทั้งหมดนี้คือ ต้นทุนที่เกษตรกรจะต้องเสียหากไม่มีการวางแผนมาอย่างเป็นระบบ
เจ้าสัวบอกว่า ซีพี. เองก็ต้องวางแผนยาว 3 ปี ถึงจะบริหารจัดการทุกอย่างให้ลงตัวตามเวลาที่เหมาะสม (เรื่องความต้องการของตลาด เรื่องพ่อแม่พันธุ์ ลูกหมู การเลี้ยง การชำแหละ ฯลฯ เรื่องเหล่านี้มีผลหมด)
เรื่องหมู...นี่มันไม่หมูจริงๆ
ปล. 1 ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.cpfworldwide.com ด้วยนะคะ ต้องขออภัยที่ไม่ได้ถ่ายรูปน้องหมูมาให้ดูด้วยตัวเอง เพราะตอนไปฟาร์มหมูต้องปลอดเชื้อไม่สามารถเอากล้องไปถ่ายน้องหมูได้ค่ะ ^^
ปล. 2 เนื้อหาในบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของเจ้าสัวให้กับนักธุรกิจโดยเฉพาะผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ SMEs และผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน ดังนั้น ผู้เขียนของดพูดถึงประเด็นขัดแย้งทางสังคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าสัว และ CP ในกระทู้นี้ค่ะ ^^
The Side Story
FB:
https://www.facebook.com/Dhaninsidestory
เรื่องหมูๆ ที่ไม่หมู
“หมูก็เหมือนคน พอโตถึงจุดหนึ่ง จะไม่โตแล้ว”
เจ้าสัวเริ่มต้นเรื่องราวของหมูด้วยการเปรียบเทียบแบบง่ายๆ ให้เห็นภาพ
เจ้าสัวอธิบายว่า เมื่อหมูโตถึงจุดหนึ่งแล้ว มันจะหยุดโต กินทุกวันแต่ไม่โต เวลาหมูล้นตลาด ราคาไม่ดี ทำให้ไม่มีใครมาจับหมูจากเกษตรกรไปขาย เกษตรกรก็จำต้องเลี้ยงหมูตัวนั้นต่อไป
เจ้าสัวยกตัวอย่างเป็นตัวเลขกลมๆ ให้ฟังว่า สมมติปกติขายได้กำไรตัวละ 500 บาท แต่ถ้าเลี้ยงหมูตัวนั้นต่อไป ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ทั้งค่าอาหาร ค่าดูแลต่างๆ กำไร 500 บาทต่อตัวที่ควรจะได้ก็ไม่เหลือ ยิ่งจับช้า จากกำไรก็จะกลายเป็นขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ
ฟังแบบนี้เกษตรกรก็แย่น่ะสิ...
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เจ้าสัวบอกว่า ต้องจับหมูจากเกษตรกรไปขายให้ตรงเวลา วันไหน ชั่วโมงไหน นาทีไหน ต้องมีคนไปจับเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ จับเสร็จแล้วก็ต้องมีลูกหมูมาให้เกษตรกรเลี้ยงต่อทันที
ถ้าไม่วางแผนอย่างรอบคอบถึงวันนั้น หมูขายไปแล้ว แต่โรงเรือนว่าง ไม่มีลูกหมูมาลงใหม่ ค่าใช้จ่ายเกิด แต่รายได้ไม่เกิด มีค่าเสื่อมโรงเรือน ดอกเบี้ยก็เดินอยู่ทุกวัน ฉะนั้นหากไม่ทำแบบครบวงจร (Integration) เกษตรกรก็จะมีความเสี่ยง
...หมูโตแล้วจะไปขายที่ไหน
...ถ้าหมูล้นตลาด ใครจะรับซื้อ
... หาลูกหมูมาลงไม่ได้ โรงเรือนว่าง เสียโอกาสการสร้างรายได้จากโรงเรือน
ทั้งหมดนี้คือ ต้นทุนที่เกษตรกรจะต้องเสียหากไม่มีการวางแผนมาอย่างเป็นระบบ
เจ้าสัวบอกว่า ซีพี. เองก็ต้องวางแผนยาว 3 ปี ถึงจะบริหารจัดการทุกอย่างให้ลงตัวตามเวลาที่เหมาะสม (เรื่องความต้องการของตลาด เรื่องพ่อแม่พันธุ์ ลูกหมู การเลี้ยง การชำแหละ ฯลฯ เรื่องเหล่านี้มีผลหมด)
เรื่องหมู...นี่มันไม่หมูจริงๆ
ปล. 1 ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.cpfworldwide.com ด้วยนะคะ ต้องขออภัยที่ไม่ได้ถ่ายรูปน้องหมูมาให้ดูด้วยตัวเอง เพราะตอนไปฟาร์มหมูต้องปลอดเชื้อไม่สามารถเอากล้องไปถ่ายน้องหมูได้ค่ะ ^^
ปล. 2 เนื้อหาในบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของเจ้าสัวให้กับนักธุรกิจโดยเฉพาะผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ SMEs และผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน ดังนั้น ผู้เขียนของดพูดถึงประเด็นขัดแย้งทางสังคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าสัว และ CP ในกระทู้นี้ค่ะ ^^
The Side Story
FB: https://www.facebook.com/Dhaninsidestory