[กระทู้ความรู้]Headhunter แบบ Contingency และ Retained

ข้อมูลนี้เกิดจากการรวบรวมด้วยการพูดคุยกับบุคคลที่ทำงานทั้ง 2 ประเภทบริษัท และประสบการณ์ในการเป็น Headhunter ของผมเองครับ

ในปัจจุบันนี้เชื่อว่ามีหลายคนมากที่ได้รับการติดต่อจากบริษัทจัดหางานไม่มากก็น้อย ถ้าพูดถึงบริษัทเหล่านี้ หลายๆคนก็คงนึกไปยัง Adecco, PRTR, JAC, Parker Bridge, Robert Walters etc.

และก็เชื่อว่าไม่น้อย ที่ไม่ประทับใจการทำงานของบริษัทเหล่านี้เลย ในวันนี้เลยมีคำแนะนำมาฝากครับ
Contingency Search และ Retained Search

1.Contingency Search
คือ การเซ็นสัญญาสรรหาผู้สมัครและดำเนินการสรรหาล่วงหน้าก่อน โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าบริการ และจะเสียค่าบริการก็ต่อเมื่อมีการจ้างงานผู้สมัครที่นายหน้าจัดหาให้เกิดขึ้นเท่านั้น สรุป บริษัทที่สรรหาแบบนี้ จะส่งโปรไฟล์จำนวนมากให้ลูกค้า ดังนั้น คนที่ไม่ได้รับการติดต่อกลับก็เยอะ คนที่สัมภาษณ์แล้วไม่ผ่านก็เยอะ เพราะลูกค้ามีตัวเลือกเยอะ จึงไม่แปลกใจที่ผู้สมัครส่วนใหญ่ไม่ค่อยพึงพอใจเท่าไหร่ บริษัทส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดของที่มีในเมืองไทย เป็นแบบ Contingency Search และพนักงานที่ทำก็ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถหรือจบตรงมาก็สามารถทำได้

2.Retained Search
คือ การเซ็นสัญญาสรรหาผู้สมัคร โดยที่การดำเนินการสรรหาต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า ซึ่ง Rate ส่วนใหญ่จะแพงมาก (อาจจะ 25 - 50 %) ของเงินเดือนทั้งปีของผู้สมัคร ซึ่งแน่นอนว่า ตำแหน่งที่นายหน้าเหล่านี้จะทำให้ ก็ย่อมเป็นตำแหน่งสำคัญและสูงๆในบริษัท ผู้สมัครก็น้อยกว่า การแข่งขันต่ำกว่า และผลที่แน่นอนชัดเจนกว่า เพราะฉะนั้นคนทำงานในบริษัทนายหน้าเหล่านี้ ความเป็นมืออาชีพ ความรวดเร็วและมารยาท ย่อมดีกว่าแน่นอน และในไทยมีนับแห่งได้ เท่าที่ทราบก็จะมี Boyden, Heidrick & Struggles, Transearch, Robert Walters (อาจจะมีมากกว่านี้) บริษัทเหล่านี้ พนักงานจำเป็นต้องมีความเป็นมืออาชีพอย่างมาก ทั้งท่าทาง การพูดจา ความคิด ฯลฯ และไม่ใช่ใครๆจะเป็นได้อย่างแน่นอน

ดังนั้น คำแนะนำก็คือ หากมีการติดต่อจากบริษัทนายหน้า หรือที่บางท่านเรียกว่า Headhunter เราถามเค้าได้ว่าเป็นการหาตำแหน่งประเภทไหน เพราะบางบริษัทก็รับทำทั้ง Contingency และ Retained ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติการสรรหา และสิ่งที่รอเราอยู่ได้

หวังว่าคงพอเข้าใจถึงคนทำงาน headhunter มากขึ้นนะครับ ก็มีทั้งที่เป็นและไม่เป็นมืออาชีพ ขึ้นอยู่กับประเภทของการสรรหาด้วย
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่