พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
อยู่เฉยๆนี้ไม่กระทำอุบายแยบคายในใจอย่างนี้
จะให้จิตมันเบื่อมันหน่ายต่อสังขารร่างกาย
จะให้มันปลงมันวางนี่ มันไม่วางแล้ว
ต่อเมื่อใดได้พิจารณาแล้วพิจารณาอีก เห็นแล้วเห็นอีก
เห็นความแตกความดับของร่างกายอันนี้อยู่อย่างนั้น
หมายความว่าเห็นเป็น "ภาพ" นา ที่ท่านเรียกว่า
เป็น “อุคคหนิมิต” เป็น “ปฏิภาคนิมิต”
อันนิมิตเหล่านี้ต้องเจริญบ่อยๆ
อันนี้แหละเป็น “อาหารของใจ” นะ ขอให้เข้าใจ
ถ้านิมิตอย่างว่านี้ไม่เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว
ใจนั้นจะเบื่อหน่ายในการพิจารณา ไม่ดูดดื่ม
จะอ่อนแอลงไป โอ้ย พิจารณาอะไรก็ไม่เห็นพอว่า
เมื่อมันไม่เห็นแล้วมันก็ไม่ค่อยเชื่อแล้วบัดนี้นะ
มันเป็นอย่างนั้นเรื่องมันน่ะ
ถ้ามันเห็นเป็นภาพปรากฏ
เอ้า พอนึกถึงความแตกดับอย่างนี้นะ
ปรากฏภาพแห่งความแตกดับนั้นมันก็ปรากฏขึ้นในใจ
มันเป็นอย่างนั้น ถ้านึกถึงความเป็นสภาวะธาตุอย่างนี้
เอ้า ร่างกายนี้มันก็แตกลงเป็นธาตุดินธาตุน้ำไฟ
อันนิมิตภาพเหล่านี้ย่อมปรากฏขึ้นในใจ
นี้นะท่านเรียกว่า “อุคคหนิมิต” น่ะ
อัน“ปฏิภาคนิมิต” นั้นเพ่งธาตุเหล่านี้นะ
จนว่า "ใสเหมือนแก้ว" เพ่งกระดูกอย่างนี้
จนใสเหมือนแก้วนั้นเลย ถ้าเพ่งปรากฏได้อย่างนี้แล้ว
จิตก็ยิ่งสงบลงไปอย่างสนิทสนม สงบอย่างละเอียดลออเข้าไป
เรียกว่า จิตสงบอย่างแนบเนียน เมื่อจิตสงบอย่างนี้แล้ว
มันก็อยู่ได้นาน อยู่ในสมาธินั้นนะ
ความเจ็บปวด ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอันใด
มันก็ระงับไป เพราะว่าจิตนี้มันละเอียดเข้าไปแล้ว
มันไม่ได้สัมผัสกับร่างกายส่วนหยาบนี้มากมาย
สัมผัสก็สัมผัสเบาๆละเอียดมาก
เช่นนี้ทุกขเวทนามันจึงได้เบาบางไป พึงพากันเข้าใจ
การที่จิตมามีความรู้สึกต่อร่างกายนี้หยาบๆไม่ละเอียดนี้น่ะ
มันย่อมได้เสวยทุกขเวทนามาก เป็นอย่างนั้น
ดังนั้นจงพยายาม เมื่อเวลาปกติโรคภัยไม่เบียดเบียน
ก็พยายามเพ่งให้อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต บังเกิดขึ้นในจิตใจให้ได้
เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็รักษานิมิตนั้นไว้ อย่าเพิ่งให้มันเสื่อม
นึกถึงเวลาใดก็ปรากฏเวลานั้น อย่างนี้นะ
เมื่อทำใจได้อย่างนี้แล้ว มันมีสักขีพยานอยู่นี่บัดนี้นะ
มันจึงไม่หลงรักหลงชัง ไปในรูปในนามต่างๆ เหล่านั้น
พอมานึกถึงรูปนั้นเวลาใดมันก็แตกก็ดับให้เห็นอยู่
มันก็เป็นเถ้าเป็นถ่าน เป็นอัฐิธาตุลงไป
คำว่าสัตว์ว่าบุคคล คำว่าสวยว่าขี้ร้ายหมู่นั้นไม่มีแล้ว
หายไปหมด อันจิตนี้มันไม่ยอมรับสภาพความจริงดังกล่าวมานี้
ส่วนมากเป็นอย่างนั้นแหละ
ทั้งที่รู้อยู่ว่ามันเป็นอย่างนั้น
แต่แล้วมันก็ยังไม่ยอมรับความจริงนั้น ตรงนี้สำคัญมาก
ดังนั้นพระศาสดาจึงได้ทรงสอนให้ใช้อุบายปัญญา
สอนจิตนี้เข้าไป ก็หมายความว่า ตัวเองสอนตัวเองนั้นแหละ
สำคัญมาก
เมื่อตนน้อมสติเข้าไปควบคุมจิต
ให้นิ่งให้สงบอยู่แล้วอย่างนี้ก็ใช้อุบายปัญญาสอน
เมื่อจิตใจมันข้องอยู่กับสิ่งใดก็สอนให้มันเห็นโทษสิ่งนั้น
สอนให้มันเห็นความไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"คนใจลอยมีแต่คิด วันที่ ๒๑ ส.ค ๒๕๓๖"
อุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
อยู่เฉยๆนี้ไม่กระทำอุบายแยบคายในใจอย่างนี้
จะให้จิตมันเบื่อมันหน่ายต่อสังขารร่างกาย
จะให้มันปลงมันวางนี่ มันไม่วางแล้ว
ต่อเมื่อใดได้พิจารณาแล้วพิจารณาอีก เห็นแล้วเห็นอีก
เห็นความแตกความดับของร่างกายอันนี้อยู่อย่างนั้น
หมายความว่าเห็นเป็น "ภาพ" นา ที่ท่านเรียกว่า
เป็น “อุคคหนิมิต” เป็น “ปฏิภาคนิมิต”
อันนิมิตเหล่านี้ต้องเจริญบ่อยๆ
อันนี้แหละเป็น “อาหารของใจ” นะ ขอให้เข้าใจ
ถ้านิมิตอย่างว่านี้ไม่เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว
ใจนั้นจะเบื่อหน่ายในการพิจารณา ไม่ดูดดื่ม
จะอ่อนแอลงไป โอ้ย พิจารณาอะไรก็ไม่เห็นพอว่า
เมื่อมันไม่เห็นแล้วมันก็ไม่ค่อยเชื่อแล้วบัดนี้นะ
มันเป็นอย่างนั้นเรื่องมันน่ะ
ถ้ามันเห็นเป็นภาพปรากฏ
เอ้า พอนึกถึงความแตกดับอย่างนี้นะ
ปรากฏภาพแห่งความแตกดับนั้นมันก็ปรากฏขึ้นในใจ
มันเป็นอย่างนั้น ถ้านึกถึงความเป็นสภาวะธาตุอย่างนี้
เอ้า ร่างกายนี้มันก็แตกลงเป็นธาตุดินธาตุน้ำไฟ
อันนิมิตภาพเหล่านี้ย่อมปรากฏขึ้นในใจ
นี้นะท่านเรียกว่า “อุคคหนิมิต” น่ะ
อัน“ปฏิภาคนิมิต” นั้นเพ่งธาตุเหล่านี้นะ
จนว่า "ใสเหมือนแก้ว" เพ่งกระดูกอย่างนี้
จนใสเหมือนแก้วนั้นเลย ถ้าเพ่งปรากฏได้อย่างนี้แล้ว
จิตก็ยิ่งสงบลงไปอย่างสนิทสนม สงบอย่างละเอียดลออเข้าไป
เรียกว่า จิตสงบอย่างแนบเนียน เมื่อจิตสงบอย่างนี้แล้ว
มันก็อยู่ได้นาน อยู่ในสมาธินั้นนะ
ความเจ็บปวด ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอันใด
มันก็ระงับไป เพราะว่าจิตนี้มันละเอียดเข้าไปแล้ว
มันไม่ได้สัมผัสกับร่างกายส่วนหยาบนี้มากมาย
สัมผัสก็สัมผัสเบาๆละเอียดมาก
เช่นนี้ทุกขเวทนามันจึงได้เบาบางไป พึงพากันเข้าใจ
การที่จิตมามีความรู้สึกต่อร่างกายนี้หยาบๆไม่ละเอียดนี้น่ะ
มันย่อมได้เสวยทุกขเวทนามาก เป็นอย่างนั้น
ดังนั้นจงพยายาม เมื่อเวลาปกติโรคภัยไม่เบียดเบียน
ก็พยายามเพ่งให้อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต บังเกิดขึ้นในจิตใจให้ได้
เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็รักษานิมิตนั้นไว้ อย่าเพิ่งให้มันเสื่อม
นึกถึงเวลาใดก็ปรากฏเวลานั้น อย่างนี้นะ
เมื่อทำใจได้อย่างนี้แล้ว มันมีสักขีพยานอยู่นี่บัดนี้นะ
มันจึงไม่หลงรักหลงชัง ไปในรูปในนามต่างๆ เหล่านั้น
พอมานึกถึงรูปนั้นเวลาใดมันก็แตกก็ดับให้เห็นอยู่
มันก็เป็นเถ้าเป็นถ่าน เป็นอัฐิธาตุลงไป
คำว่าสัตว์ว่าบุคคล คำว่าสวยว่าขี้ร้ายหมู่นั้นไม่มีแล้ว
หายไปหมด อันจิตนี้มันไม่ยอมรับสภาพความจริงดังกล่าวมานี้
ส่วนมากเป็นอย่างนั้นแหละ ทั้งที่รู้อยู่ว่ามันเป็นอย่างนั้น
แต่แล้วมันก็ยังไม่ยอมรับความจริงนั้น ตรงนี้สำคัญมาก
ดังนั้นพระศาสดาจึงได้ทรงสอนให้ใช้อุบายปัญญา
สอนจิตนี้เข้าไป ก็หมายความว่า ตัวเองสอนตัวเองนั้นแหละ
สำคัญมาก เมื่อตนน้อมสติเข้าไปควบคุมจิต
ให้นิ่งให้สงบอยู่แล้วอย่างนี้ก็ใช้อุบายปัญญาสอน
เมื่อจิตใจมันข้องอยู่กับสิ่งใดก็สอนให้มันเห็นโทษสิ่งนั้น
สอนให้มันเห็นความไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"คนใจลอยมีแต่คิด วันที่ ๒๑ ส.ค ๒๕๓๖"