ถ้าพูดถึงกำหนดรู้กองลมทั้งปวง ก็น่าจะมาจากการเจริญอานาปานสติ
แต่ก่อนที่เราจะรู้ว่า การกำหนดรู้กองลมทั้งปวงทำอย่างไร เราต้องถามตัวเราเองก่อนครับ
คำถาม: เรากำหนดรู้กองลมไปทำไม เราเจริญอานาปานสติไปทำไม
คำตอบมันเยอะครับ
1. เห็นเขานั่งสมาธิ ก็อยากลองนั่งมั่ง
2. คิดว่านั่งแล้วจะดี สร้างบุญบารมีกับตัวเอง
3. คิดว่านั่งแล้วจะบรรเทา โลภะ โทสะ โมหะ ได้
4. คิดว่านั่งแล้วจะบรรลุนิพพานได้
ฯลฯ
จริงๆแล้วการกำหนดอานาปานสติเป็นการผ่อนคลายด้วยลมหายใจอย่างนึง ทางจิตแพทย์ฝั่งตะวันตกเขาก็ใช้วิธีนี้กันนะครับ
นั่งผ่อนคลาย หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกลึกๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย
ทางฝั่งพราหมณ์ ฮินดู เขาก็กำหนดอานาปานสติกันนะครับ เพื่อให้ตั้งมั่น เป็นสมาธิเลยล่ะ แล้วก็ถึงจุดสุดยอดอาตมัน เข้าถึงสิ่งที่เขาเรียกว่านิพพาน
โดยที่นิพพานของพราหมณ์ฮินดูนั้น จะแตกต่างจากนิพพานของพุทธกันอย่างสิ้นเชิง
พระพุทธเจ้าแยกโดยใช้คำว่า นิพพานโลกียะ และนิพพานโลกุตตระ
แล้วอะไรคือความแตกต่าง ถ้าตอบได้ก็สามารถตอบได้ว่ากำหนดลมหายใจยังไงครับ
นิพพานโลกียะคือการนั่งกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ จุดมุ่งหมายคือดับความโลภ โกรธ หลง ให้สิ้นไป ซึ่งในความเป็นจริง นักบวชยุคนั้นจะสามารถดับความโลภได้สนิท ดับโกรธได้สนิท แต่ยังเหลือความหลงอยู่
เพราะยังมีความหลงอยู่ จึงติดอยู่ในนิพพานโลกียะ เพราะดับความหลง ดับอวิชชาได้ จึงจะสามารถเข้าสู่นิพพานโลกุตตระอันเป็นอมตะธรรมได้
อย่างเช่นปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 นี่ดับโลภดับโกรธสนิทไปหมดแล้ว เหลือแค่ความหลงเท่านั้นที่ยังไม่สามารถดับได้
พระพุทธเจ้าจึงเข้าไปตรัสสอนธรรมจักรฯ และอนัตตลักขณะสูตร จนปัญจวัคคีย์เข้าใจถึงเรื่องไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จึงพ้นไปจากความยึดมั่น ดับความหลงได้สนิท
ส่วนชาวบ้านธรรมดาที่ไม่ได้เคยนั่งสมาธิ ไม่เคยดับโลภ ไม่เคยดับโกรธเลย พระพุทธเจ้าเรียกว่ามีธุลีในดวงตา คือกิเลส ดังนั้นก็ต้องนั่งสมาธิเพื่อขัดเกลา ดับกิเลสในดวงตาเสียก่อน ถึงจะสามารถพิจารณาไตรลักษณ์ได้
ผมอยากให้ได้อ่านอานาปานสติที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนไว้เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วครับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2541&Z=2681
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
นี่เป็นการกำหนดอานาปานสติที่เป็นไปเพื่อความดับกิเลส เพื่อถึงความเป็นพระอรหันต์
ผู้ปฏิบัติจะออกจากบ้าน มาอยู่ป่า, โคนไม้ ออกห่างจากกองกิเลสต่างๆ ยินดีในอาหารที่ไมไ่ด้มาด้วยความโลภ มีอย่างดีก็กินอย่างดี ไม่มีกินก็คือไม่กิน
โดยผู้ปฏิบัติจะพิจารณาในธรรมที่สละคืนกิเลส ตัณหา ความอยาก ความโลภ ความโกรธ, พิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนของธรรม ของอากาศ ของลมหายใจ
แต่ถ้าเป็นพราหมณ์ จะไม่มีการพิจารณาไตรลักษณ์ครับ เขาจะนั่งกำหนดรู้ พิจารณาโลภ และโกรธ ไปเรื่อยๆจนดับไปในที่สุด
ถ้าเป็นการนั่งเพื่อผ่อนคลายของจิตเวช ก็จะไม่มีการพิจาณาดับความโลภ หรือความโกรธ แค่หายใจให้ผ่อนคลาย ร่างกาย และจิตใจ Relax
คำตอบของคำถามจึงมีหลายคำตอบ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ถาม "ต้องการอะไร"
ส่วนตัวผม ผมยังเพลิดเพลินในกิเลส ตัณหา อยู่ ส่วนความโกรธ ความขุ่นมัวนั้นผมไม่ค่อยมีติดตัวมาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว ความยึดมั่นถือมั่นนั้นผมใช้การพิจารณาในการบรรเทาเบาบาง เมื่อสิ่งที่ผมยึดมั่นแปรเปลี่ยนไปตามกฎของไตรลักษณ์ ผมจึงไม่ทุกข์กับมันมาก
ส่วนการกำหนดอานาปาฯ ผมกำหนดเพื่อ
1. ให้นอนหลับง่าย ยามฟุ้งซ่าน เวลามีเรื่องหนักๆ หรือไม่หนัก หรืออะไรต่างๆ นั่งตัวตรง ผ่อนคลาย กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ง่วงง่าย หลับสบาย อันนี้ไม่กำหนดอะไรมากเลย รู้ชัดลมหายใจเข้า หรือออกพอแล้ว
2. รอคอย เวลาผมต้องรออะไรซักอย่าง ผมจะไม่คว้าโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น facebook หรือ line ครับ แต่จะกำหนดอานาปานสติเพื่อเพิ่มสติ สัมปชัญญะ อันนี้จะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก สลับกับพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้น
3. เพื่อสู้กับกิเลส ตัณหา มีบางครั้งที่ผมอยากจะสู้กับกิเลส ผมจึงทิ้งมือถือ ขับรถไปหาที่สัปปายะ กางเต๊นท์ แล้วกำหนดอานาปาตลอดวันตลอดคืน ไม่หลับไม่นอน สู้กับนิวรณ์ บางครั้งก็ชนะ บางครั้งก็แพ้ อันนี้จะตั้งใจกำหนดไปเลย กายนี้มีอยู่เพื่อสักแต่ว่าอาศัยระลึกรู้เท่านั้น ตัณหา และทิฏฐิใดๆ ต้องหมดไปในขณะนี้
ส่วนกำหนดลมว่าจะอยู่ปลายจมูก หรือหลอดลม หรือกะบังลม พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ครับ ท่านให้รู้ชัดว่าหายใจเข้า-ออก สั้นหรือยาวเท่านั้นเอง ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจหรอกครับ สนใจธงของเราดีกว่า ความฟุ้งซ่าน, ความหดหู่, ตัณหา, ความโลภ, ความโกรธ, ความยึดมั่น, ฯลฯ
การกำหนดรู้กองลมทั้งปวงทำอย่างไร แขร์กันครับ
แต่ก่อนที่เราจะรู้ว่า การกำหนดรู้กองลมทั้งปวงทำอย่างไร เราต้องถามตัวเราเองก่อนครับ
คำถาม: เรากำหนดรู้กองลมไปทำไม เราเจริญอานาปานสติไปทำไม
คำตอบมันเยอะครับ
1. เห็นเขานั่งสมาธิ ก็อยากลองนั่งมั่ง
2. คิดว่านั่งแล้วจะดี สร้างบุญบารมีกับตัวเอง
3. คิดว่านั่งแล้วจะบรรเทา โลภะ โทสะ โมหะ ได้
4. คิดว่านั่งแล้วจะบรรลุนิพพานได้
ฯลฯ
จริงๆแล้วการกำหนดอานาปานสติเป็นการผ่อนคลายด้วยลมหายใจอย่างนึง ทางจิตแพทย์ฝั่งตะวันตกเขาก็ใช้วิธีนี้กันนะครับ
นั่งผ่อนคลาย หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกลึกๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย
ทางฝั่งพราหมณ์ ฮินดู เขาก็กำหนดอานาปานสติกันนะครับ เพื่อให้ตั้งมั่น เป็นสมาธิเลยล่ะ แล้วก็ถึงจุดสุดยอดอาตมัน เข้าถึงสิ่งที่เขาเรียกว่านิพพาน
โดยที่นิพพานของพราหมณ์ฮินดูนั้น จะแตกต่างจากนิพพานของพุทธกันอย่างสิ้นเชิง
พระพุทธเจ้าแยกโดยใช้คำว่า นิพพานโลกียะ และนิพพานโลกุตตระ
แล้วอะไรคือความแตกต่าง ถ้าตอบได้ก็สามารถตอบได้ว่ากำหนดลมหายใจยังไงครับ
นิพพานโลกียะคือการนั่งกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ จุดมุ่งหมายคือดับความโลภ โกรธ หลง ให้สิ้นไป ซึ่งในความเป็นจริง นักบวชยุคนั้นจะสามารถดับความโลภได้สนิท ดับโกรธได้สนิท แต่ยังเหลือความหลงอยู่
เพราะยังมีความหลงอยู่ จึงติดอยู่ในนิพพานโลกียะ เพราะดับความหลง ดับอวิชชาได้ จึงจะสามารถเข้าสู่นิพพานโลกุตตระอันเป็นอมตะธรรมได้
อย่างเช่นปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 นี่ดับโลภดับโกรธสนิทไปหมดแล้ว เหลือแค่ความหลงเท่านั้นที่ยังไม่สามารถดับได้
พระพุทธเจ้าจึงเข้าไปตรัสสอนธรรมจักรฯ และอนัตตลักขณะสูตร จนปัญจวัคคีย์เข้าใจถึงเรื่องไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จึงพ้นไปจากความยึดมั่น ดับความหลงได้สนิท
ส่วนชาวบ้านธรรมดาที่ไม่ได้เคยนั่งสมาธิ ไม่เคยดับโลภ ไม่เคยดับโกรธเลย พระพุทธเจ้าเรียกว่ามีธุลีในดวงตา คือกิเลส ดังนั้นก็ต้องนั่งสมาธิเพื่อขัดเกลา ดับกิเลสในดวงตาเสียก่อน ถึงจะสามารถพิจารณาไตรลักษณ์ได้
ผมอยากให้ได้อ่านอานาปานสติที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนไว้เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วครับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2541&Z=2681
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นี่เป็นการกำหนดอานาปานสติที่เป็นไปเพื่อความดับกิเลส เพื่อถึงความเป็นพระอรหันต์
ผู้ปฏิบัติจะออกจากบ้าน มาอยู่ป่า, โคนไม้ ออกห่างจากกองกิเลสต่างๆ ยินดีในอาหารที่ไมไ่ด้มาด้วยความโลภ มีอย่างดีก็กินอย่างดี ไม่มีกินก็คือไม่กิน
โดยผู้ปฏิบัติจะพิจารณาในธรรมที่สละคืนกิเลส ตัณหา ความอยาก ความโลภ ความโกรธ, พิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนของธรรม ของอากาศ ของลมหายใจ
แต่ถ้าเป็นพราหมณ์ จะไม่มีการพิจารณาไตรลักษณ์ครับ เขาจะนั่งกำหนดรู้ พิจารณาโลภ และโกรธ ไปเรื่อยๆจนดับไปในที่สุด
ถ้าเป็นการนั่งเพื่อผ่อนคลายของจิตเวช ก็จะไม่มีการพิจาณาดับความโลภ หรือความโกรธ แค่หายใจให้ผ่อนคลาย ร่างกาย และจิตใจ Relax
คำตอบของคำถามจึงมีหลายคำตอบ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ถาม "ต้องการอะไร"
ส่วนตัวผม ผมยังเพลิดเพลินในกิเลส ตัณหา อยู่ ส่วนความโกรธ ความขุ่นมัวนั้นผมไม่ค่อยมีติดตัวมาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว ความยึดมั่นถือมั่นนั้นผมใช้การพิจารณาในการบรรเทาเบาบาง เมื่อสิ่งที่ผมยึดมั่นแปรเปลี่ยนไปตามกฎของไตรลักษณ์ ผมจึงไม่ทุกข์กับมันมาก
ส่วนการกำหนดอานาปาฯ ผมกำหนดเพื่อ
1. ให้นอนหลับง่าย ยามฟุ้งซ่าน เวลามีเรื่องหนักๆ หรือไม่หนัก หรืออะไรต่างๆ นั่งตัวตรง ผ่อนคลาย กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ง่วงง่าย หลับสบาย อันนี้ไม่กำหนดอะไรมากเลย รู้ชัดลมหายใจเข้า หรือออกพอแล้ว
2. รอคอย เวลาผมต้องรออะไรซักอย่าง ผมจะไม่คว้าโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น facebook หรือ line ครับ แต่จะกำหนดอานาปานสติเพื่อเพิ่มสติ สัมปชัญญะ อันนี้จะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก สลับกับพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้น
3. เพื่อสู้กับกิเลส ตัณหา มีบางครั้งที่ผมอยากจะสู้กับกิเลส ผมจึงทิ้งมือถือ ขับรถไปหาที่สัปปายะ กางเต๊นท์ แล้วกำหนดอานาปาตลอดวันตลอดคืน ไม่หลับไม่นอน สู้กับนิวรณ์ บางครั้งก็ชนะ บางครั้งก็แพ้ อันนี้จะตั้งใจกำหนดไปเลย กายนี้มีอยู่เพื่อสักแต่ว่าอาศัยระลึกรู้เท่านั้น ตัณหา และทิฏฐิใดๆ ต้องหมดไปในขณะนี้
ส่วนกำหนดลมว่าจะอยู่ปลายจมูก หรือหลอดลม หรือกะบังลม พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ครับ ท่านให้รู้ชัดว่าหายใจเข้า-ออก สั้นหรือยาวเท่านั้นเอง ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจหรอกครับ สนใจธงของเราดีกว่า ความฟุ้งซ่าน, ความหดหู่, ตัณหา, ความโลภ, ความโกรธ, ความยึดมั่น, ฯลฯ