ศาลฎีกาของญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่ง ที่กำหนดให้คู่สมรสต้องใช้นามสกุลเดียวกันนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังจากกลุ่มแม่บ้านรวมตัวฟ้องศาลเพื่อขอให้สามารถใช้คนละนามสกุลกับสามีได้หลังแต่งงาน
ตามกฎหมายของญี่ปุ่น คู่สมรสต้องเลือกว่าจะใช้นามสกุลของฝ่ายภรรยาหรือฝ่ายสามี ขณะที่จดทะเบียนสมรส โดยส่วนใหญ่ฝ่ายหญิงจะเลือกใช้นามสกุลตามสามี
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแม่บ้านญี่ปุ่น 5 คนได้ฟ้องเรียกเงินสินไหมทดแทนจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยอ้างว่าบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งที่มีมาราว 100 ปีนั้นถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
ฝ่ายโจทก์อ้างว่าการไม่เปิดทางให้คู่สมรสใช้นามสกุลต่างกัน เป็นการละเมิดเสรีภาพในการสมรสที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากคู่สมรสสามารถเลือกใช้นามสกุลของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ได้
คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาเต็มคณะ 15 คน ได้ฟังคำให้การจากทั้งสองฝ่ายในวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน โดยกลุ่มแม่บ้านที่เป็นโจทก์ระบุว่า คู่สมรสร้อยละ 96 ในญี่ปุ่นเลือกใช้นามสกุลของฝ่ายสามี และขอเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากศาล เนื่องจากไม่อาจคาดหวังให้รัฐสภาญี่ปุ่นแก้ไขกฎหมายได้
ทั้งนี้ ศาลฎีกาญี่ปุ่นจะรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และคาดว่าจะมีคำพิพากษาในช่วงสิ้นปีนี้.
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000123487
แม่บ้านญี่ปุ่นฟ้องศาลขอใช้คนละนามสกุลกับสามีหลังแต่งงาน
ศาลฎีกาของญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่ง ที่กำหนดให้คู่สมรสต้องใช้นามสกุลเดียวกันนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังจากกลุ่มแม่บ้านรวมตัวฟ้องศาลเพื่อขอให้สามารถใช้คนละนามสกุลกับสามีได้หลังแต่งงาน
ตามกฎหมายของญี่ปุ่น คู่สมรสต้องเลือกว่าจะใช้นามสกุลของฝ่ายภรรยาหรือฝ่ายสามี ขณะที่จดทะเบียนสมรส โดยส่วนใหญ่ฝ่ายหญิงจะเลือกใช้นามสกุลตามสามี
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแม่บ้านญี่ปุ่น 5 คนได้ฟ้องเรียกเงินสินไหมทดแทนจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยอ้างว่าบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งที่มีมาราว 100 ปีนั้นถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
ฝ่ายโจทก์อ้างว่าการไม่เปิดทางให้คู่สมรสใช้นามสกุลต่างกัน เป็นการละเมิดเสรีภาพในการสมรสที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากคู่สมรสสามารถเลือกใช้นามสกุลของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ได้
คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาเต็มคณะ 15 คน ได้ฟังคำให้การจากทั้งสองฝ่ายในวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน โดยกลุ่มแม่บ้านที่เป็นโจทก์ระบุว่า คู่สมรสร้อยละ 96 ในญี่ปุ่นเลือกใช้นามสกุลของฝ่ายสามี และขอเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากศาล เนื่องจากไม่อาจคาดหวังให้รัฐสภาญี่ปุ่นแก้ไขกฎหมายได้
ทั้งนี้ ศาลฎีกาญี่ปุ่นจะรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และคาดว่าจะมีคำพิพากษาในช่วงสิ้นปีนี้.
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000123487