เวตาล เวตาลลลลลลลล......นืทานนนนน....อยู่ไหน นนนนนน

กระทู้สนทนา


เวตาล เป็นอมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายค้างคาวผี ตามความเชื่อในนิทานปรัมปราของศาสนาฮินดู กล่าวกันว่า ในตอนกลางวัน เวตาลจะมีชีวิตอยู่ในซากศพของผู้อื่น และศพเหล่านี้จะถูกเวตาลใช้เป็นเครื่องมือในการเดินทาง หากเวตาลเข้าไปอาศัยร่างของศพใด ซากศพนั้นก็จะไม่เน่าเหม็น ส่วนตอนกลางคืน เวตาลจะออกมาจากศพเพื่อออกหากิน แต่หากค้นหาความหมายของคำว่า เวตาล ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 จะพบความหมายว่า เวตาล คือ ผีที่ชอบสิงสถิตอยู่ในป่าช้า

ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าตามตำนานว่า เวตาลเป็นผีร้ายที่ไม่ยอมไปเกิด แต่ยังคงอาศัยอยู่ตามสุสาน เพื่อเข้าสิงร่างซากศพในบริเวณนั้น เวตาลชอบที่จะทำร้ายมนุษย์ที่เข้าไปรบกวน ทำให้มนุษย์กลายเป็นคนบ้า ฆ่าเด็ก และทำแท้งลูก ส่วนเหยื่อที่เวตาลเข้าสิงจะมีมือและเท้าหันกลับด้านไปข้างหลังเสมอ ส่วนข้อดีที่มีเพียงน้อยนิด ก็คือ เวตาลสามารถช่วยเฝ้าดูแลหมู่บ้านของมันได้

เนื่องด้วยความร้ายกาจของเวตาล เวตาลจึงมักคอยทำร้ายบุคคลที่ลูกหลานไม่ยอมทำพิธีศพให้ ทำให้พวกเขาถูกกักขังอยู่ในแดนสนธยาทั้งในช่วงที่ยังมีชีวิต และหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว เวตาลอาจได้รับครื่องเซ่นเป็นอามิส หรือถูกบังคับให้ตื่นตกใจด้วยเวทมนตร์ ปีศาจเหล่านี้จะพ้นจากความเป็นปิศาจได้ก็ต่อเมื่อมีการทำพิธีศพให้แก่ตนเอง แต่หากกลายร่างเป็นปิศาจแล้ว ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากกฎของกาลเวลาและเทศะได้

เวตาลจะมีความสามารถพิเศษเรื่องการรับรู้ถึงเรื่องประหลาดที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ทั้งอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตได้ อีกทั้งยังสามารถหยั่งรู้ถึงใจตนเองได้ ด้วยความสามารถดังกล่าว จึงทำให้หมอผีหลายคนต้องการตัวเวตาล เพื่อบังคับเอาไว้ใช้เป็นทาสได้

มีตำนานหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า เคยมีหมอผีทูลบอกให้พระเจ้าวิกรมาทิตย์ออกไปตามล่าเวตาล ที่อาศัยอยู่ที่ใจกลางของสุสานบนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเคล็ดลับที่จะช่วยจับเวตาลได้ ก็คือ ต้องไม่ทำเสียงดังทำ และห้ามเผลอพูดคำใดออกมา ไม่เช่นนั้น เวตาลจะไม่ยอมให้จับและหนีกลับไป

ครั้นเมื่อพระเจ้าวิกรมาทิตย์สามารถจับตัวเวตาลได้ ก็มักถูกเวตาลแกล้งเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งทุกครั้งนิทานจะจบลงด้วยคำถาม ที่ทำให้ต้องตอบคำถามนั้นทุกครั้งไป จนพระองค์ไม่สามารถอดทนต่อไปได้ สุดท้ายก็ไม่สามารถจับเวตาลได้ และมันก็กลับไปยังต้นไม้ต้นเดิม

เรื่องราวทั้งหมดของเวตาลถูกนักปราชญ์ชาวอินเดีย ที่มีนามว่า โสมเทวะ รวบรวมไว้ในหนังสือกถาสริตสาคร ที่เรียกว่า “เวตาลปัญจวิงศติ”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่