สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
ผมเดาว่าคุณน่าจะเป็นคนกรุงเทพ และไม่ค่อยได้สัมผัสกับเกษตรกรระดับล่างจริง ๆ นะครับ เพราะเมื่อก่อนตอนผมอยู่กรุงเทพผมก็คิดแบบคุณ แต่พอผมย้ายมาใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด และได้เจอเกษตรกร หลาย ๆ ระดับ ความคิดผมก็เริ่มเปลี่ยนครับ
สำหรับผมเกษตรกรผมจำแนกเป็นหลายประเภทครับ
1 เกษตรกรระดับนายทุน คือ คนระดับนี้จะมีความสามารถเข้าถึง ความรู้และเครื่องมือทุกประเภท และจะสามารถสร้างรายได้ ได้เยอะมากกกกก
2 เกษตรกรแบบระดับกลาง คือพอมีพอกินมีที่ดินของตัวเอง และไม่มีหนี้เยอะ พวกนี้ก็จะแล้วแต่บุคคลไป บางคนก็ทำงานแบบอยู่ไปวัน ๆ แต่บางคนก็หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ
3 เกษตรกรระดับล่าง ปัญหาจะอยู่ที่ประเภทนี้แหละครับ เพราะ
3.1 เกษตรกรประเภทนี้จะเป็นประเภทที่เยอะมากที่สุด
3.2 โอกาสในการเข้าถึงความรู้และเครื่องมือของเกษตรกรระดับนี้จะต่ำมากจนถึงเรียกว่าไม่มีโอกาสเลยก็ว่าได้ และอีกข้อของคนระดับนี้คือ การศึกษาพื้นฐานจะต่ำมาก พอความรู้พื้นฐานและโอกาสในการเข้าถึงความรู้ต่ำมากขนาดนี้เลยทำให้ยากมากในการที่จะพัฒนาตนเองครับ และ เกษตรกรระดับนี้มักจะถูกเอาเปรี ยบจาก พ่อค้าคนกลาง และเมื่อดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามหวัง ก็ทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสิน วนเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ และการช่วยเหลือของภาครัฐ มักจะไม่มีทางถึงมือ เกษตรกรระดับนี้หรอกครับ เพราะอีก 2 ระดับบนมักจะคว้าไปกินก่อน เนื่องด้วย พรรคพวก เงิน หรืออะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ที่คุณน่าจะเดาได้ไม่ยาก
ป.ล. ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้เกิดจากประสบการณ์ในการพูดคุยและได้สัมผัส กับ เกษตรกรหลาย ๆ แบบที่ผมพบเจอนะครับ ถ้าคุณอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรคุณลองมาสัมผัสดูครับ คุณอาจจะเปลี่ยนความคิดเหมือนผมก็ได้ครับ
ป.ล.2 ถ้าคุณไม่ได้ลองมาพูดคุยกับเกษตรกรระดับล่างด้วยตัวคุณเองจริง ๆ คุณจะไม่มีทางจินตนาการ ถึงความไม่รู้ของพวกเขาได้เลยครับ
สำหรับผมเกษตรกรผมจำแนกเป็นหลายประเภทครับ
1 เกษตรกรระดับนายทุน คือ คนระดับนี้จะมีความสามารถเข้าถึง ความรู้และเครื่องมือทุกประเภท และจะสามารถสร้างรายได้ ได้เยอะมากกกกก
2 เกษตรกรแบบระดับกลาง คือพอมีพอกินมีที่ดินของตัวเอง และไม่มีหนี้เยอะ พวกนี้ก็จะแล้วแต่บุคคลไป บางคนก็ทำงานแบบอยู่ไปวัน ๆ แต่บางคนก็หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ
3 เกษตรกรระดับล่าง ปัญหาจะอยู่ที่ประเภทนี้แหละครับ เพราะ
3.1 เกษตรกรประเภทนี้จะเป็นประเภทที่เยอะมากที่สุด
3.2 โอกาสในการเข้าถึงความรู้และเครื่องมือของเกษตรกรระดับนี้จะต่ำมากจนถึงเรียกว่าไม่มีโอกาสเลยก็ว่าได้ และอีกข้อของคนระดับนี้คือ การศึกษาพื้นฐานจะต่ำมาก พอความรู้พื้นฐานและโอกาสในการเข้าถึงความรู้ต่ำมากขนาดนี้เลยทำให้ยากมากในการที่จะพัฒนาตนเองครับ และ เกษตรกรระดับนี้มักจะถูกเอาเปรี ยบจาก พ่อค้าคนกลาง และเมื่อดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามหวัง ก็ทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสิน วนเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ และการช่วยเหลือของภาครัฐ มักจะไม่มีทางถึงมือ เกษตรกรระดับนี้หรอกครับ เพราะอีก 2 ระดับบนมักจะคว้าไปกินก่อน เนื่องด้วย พรรคพวก เงิน หรืออะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ที่คุณน่าจะเดาได้ไม่ยาก
ป.ล. ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้เกิดจากประสบการณ์ในการพูดคุยและได้สัมผัส กับ เกษตรกรหลาย ๆ แบบที่ผมพบเจอนะครับ ถ้าคุณอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรคุณลองมาสัมผัสดูครับ คุณอาจจะเปลี่ยนความคิดเหมือนผมก็ได้ครับ
ป.ล.2 ถ้าคุณไม่ได้ลองมาพูดคุยกับเกษตรกรระดับล่างด้วยตัวคุณเองจริง ๆ คุณจะไม่มีทางจินตนาการ ถึงความไม่รู้ของพวกเขาได้เลยครับ
แสดงความคิดเห็น
สงสัยครับ?? ทำไมอาชีพเกษตรกร ถึงไม่ปรับตัวตามกลไกตลาด ต้องให้รัฐบาลโอบอุ้มตลอดเวลา
เกษตรกรปลูกอะไรก็จะปลูกเป็นอยู่อย่างเดียว ราคาตกผลผลิตล้นตลาด ก็ปลูกแม่-อยู่นั่นแหละ ไม่เดือดร้อนเพราะ รัฐบาลต้องคอยประกันราคา
ราคาตกไม่ได้นะ ชุมนุม ปิดถนน ที่ประท้วงบ่อยๆก็มีข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา นี่แหละ
เกษตรกรทำไมจึงไม่ปรับตัว หาความรู้ เช่นปลูกอย่างอื่น หรือแปรรูปผลผลิต เมื่อผลผลิตมันล้นตลาดราคาตกต่ำ
ทำเหมือนเด็กอมมือ เรียกร้องโน่นนี่ สบายจนเคยตัว ไม่สนกลไกตลาด จะส่งออกได้ไม่ได้รัฐบาลขาดทุนเท่าไหร่ กรูไม่รู้เรื่องกรูจะขายราคาเท่านี้
รัฐบาลเก็บภาษีจากคนเหล่านี้ได้สักเท่าไหร่กันเชียว คุ้มค่าหรือไม่