http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412722202
จากกรณีที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าว โดยมีนโยบายไม่เข้าไปแทรกเเซงกลไกตลาดเช่นการประกันราคาข้าวหรือการรับจำนำ แต่เลือกวิธีการให้การช่วยเหลือทางตรงโดยการจ่ายเงินให้เกษตรไร่ละ 1,000 บาท หรือไม่เกิน 15 ไร่ จำนวนเงิน 15,000 บาท ผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้กลายเป็นบรรทัดฐานให้พืชผลทางการเกษตรชนิดอื่น ๆ ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขอรับเงินชดเชยแบบข้าวบ้าง
โดยล่าสุด สมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ก็เตรียมเข้าพบกับพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ เพื่อขอให้รัฐบาลแก้ไขปัฐหาชาวไร่มันอย่างเร่งด่วน ให้รัฐบาลสนับสนุนการลดต้นทุนการเพาะปลูกของเกษตรกร ไร่ละ 1,800 บาท รายละไม่เกิน 25 ไร่ เนื่องจาก ชาวไร่มันในปัจจุบัน ต้องประสบภาวะต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ตันละ 6,124 บาท เป็นตันละ 6,337 บาท ทั้งค่าปุ๋ย ค่าแรง ค่าบำรุงรักษา สารเคมี ทำให้ราคาขายหัวมันสำปะหลังที่ได้กลับลดลงจากปีก่อนที่ขายได้ กิโลกรัมละ 2.45 บาทเหลือ 2.35 บาท กำไร ลดลงจากกิโลกรัมละ 0.23 บาทเหลือ กิโลกรัมละ 0.11 บาท
ทั้งนี้ทางสมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลัง ย้ำว่า ในแต่ละปีมันสำปะหลังสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกปีละ 60,000-70,000 ล้านบาท ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไม่ต่างจากข้าว
เช่นเดียวกับชาวไร่อ้อย ที่มีรายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมว่าชาวไร่อ้อยมีความเคลื่อนไหวเรียกร้องขอเงินช่วยเหลือราคาอ้อยจากรัฐบาลด้วยการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปล่อยกู้ผ่านกองทุนอ้อย จากราคาอ้อย 900 บาทต่อตันให้เพิ่มอีกตันละ 160 บาท วงเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท
สุดท้ายคือกลุ่ม ชาวสวนยาง นำโดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ยื่นข้อเรียกร้องผ่านนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือปัจจัยการผลิตยางไร่ละ 2,520 บาท หรือรายละไม่เกิน 25 ไร่ รวมเป็นเงิน 63,000 บาท เนื่องจากราคายางต่ำกว่าต้นทุนการผลิต
- ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ
งานเข้า! มัน-ยาง-อ้อย เลียนแบบข้าว ขอรบ.จ่ายเงินช่วย อ้างสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศเหมือนกัน
จากกรณีที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าว โดยมีนโยบายไม่เข้าไปแทรกเเซงกลไกตลาดเช่นการประกันราคาข้าวหรือการรับจำนำ แต่เลือกวิธีการให้การช่วยเหลือทางตรงโดยการจ่ายเงินให้เกษตรไร่ละ 1,000 บาท หรือไม่เกิน 15 ไร่ จำนวนเงิน 15,000 บาท ผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้กลายเป็นบรรทัดฐานให้พืชผลทางการเกษตรชนิดอื่น ๆ ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขอรับเงินชดเชยแบบข้าวบ้าง
โดยล่าสุด สมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ก็เตรียมเข้าพบกับพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ เพื่อขอให้รัฐบาลแก้ไขปัฐหาชาวไร่มันอย่างเร่งด่วน ให้รัฐบาลสนับสนุนการลดต้นทุนการเพาะปลูกของเกษตรกร ไร่ละ 1,800 บาท รายละไม่เกิน 25 ไร่ เนื่องจาก ชาวไร่มันในปัจจุบัน ต้องประสบภาวะต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ตันละ 6,124 บาท เป็นตันละ 6,337 บาท ทั้งค่าปุ๋ย ค่าแรง ค่าบำรุงรักษา สารเคมี ทำให้ราคาขายหัวมันสำปะหลังที่ได้กลับลดลงจากปีก่อนที่ขายได้ กิโลกรัมละ 2.45 บาทเหลือ 2.35 บาท กำไร ลดลงจากกิโลกรัมละ 0.23 บาทเหลือ กิโลกรัมละ 0.11 บาท
ทั้งนี้ทางสมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลัง ย้ำว่า ในแต่ละปีมันสำปะหลังสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกปีละ 60,000-70,000 ล้านบาท ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไม่ต่างจากข้าว
เช่นเดียวกับชาวไร่อ้อย ที่มีรายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมว่าชาวไร่อ้อยมีความเคลื่อนไหวเรียกร้องขอเงินช่วยเหลือราคาอ้อยจากรัฐบาลด้วยการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปล่อยกู้ผ่านกองทุนอ้อย จากราคาอ้อย 900 บาทต่อตันให้เพิ่มอีกตันละ 160 บาท วงเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท
สุดท้ายคือกลุ่ม ชาวสวนยาง นำโดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ยื่นข้อเรียกร้องผ่านนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือปัจจัยการผลิตยางไร่ละ 2,520 บาท หรือรายละไม่เกิน 25 ไร่ รวมเป็นเงิน 63,000 บาท เนื่องจากราคายางต่ำกว่าต้นทุนการผลิต
- ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ