เนื่องจากร่างกายของเด็กทารกยังทำงานไม่เต็มที่ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร การย่อย หรือลำไส้ คุณแม่อาจสังเกตสุขภาพของลูกจาก “อึ” ของลูกได้ว่ามีลักษณะผิดปกติเช่นไร ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ นั่นคือ เวลาเปลี่ยนนมให้ลูกเมื่อไร เจ้าตัวเล็กอาจจะมีปัญหาการขับถ่าย โดยเฉพาะท้องผูก ซึ่งทำให้ลูกเจ็บปวดเวลาถ่าย ส่งผลต่ออารมณ์จิตใจ และสุขภาพร่างกายที่ดี
ท้องผูก หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง แห้งๆ หรือถ่ายเป็นเม็ดๆ เจ็บเวลาถ่าย และอาจมีความรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด แม้ลูกจะถ่ายทุกวัน แต่ถ้ามีอาการที่ว่านี้ แสดงว่าลูก ท้องผูก หรือถ้า 2-3 วัน ถ่ายหนึ่งครั้งแต่อุจจาระนิ่มไม่แข็งก็ไม่เรียกว่า ท้องผูก
ลักษณะของอาการ ท้องผูก
– ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
– ถ่ายอุจจาระแข็งมาก อาจถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนลูกกระสุน หรือเป็นแท่งแข็ง อุจจาระก้อนใหญ่ๆ
– ลูกมีอาการถ่ายลำบาก เจ็บเวลาขับถ่าย บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาขณะถ่าย เนื่องจากอุจจาระแข็งมากจนทำให้รูทวารหนังเป็นแผลฉีกขาด
– อาจมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ร่วมกับถ่ายลำบากและเจ็บ
สาเหตุ ท้องผูก ที่พบบ่อยของเด็ก
ปัญหาท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุและเด็กแต่ละคน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้
– ความผิดปกติบริเวณรูทวาร เช่น รูทวารหนักตีบ มีแผลที่ปากทวารหนัก
– เด็กที่ทานนมแม่ อาจเกิดจากเด็กได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
– เด็กที่ทานนมผสม เกิดจากไม่ได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
– เด็กที่เริ่มทานนมผสม เมื่อเปลี่ยนนม ทั้งการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผสม หรือเปลี่ยนสูตรนม เนื่องจากนมแม่มีเวย์โปรตีนสูง ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพและย่อยง่ายกว่านมผสม ทารกที่กินนมแม่จึงมีปัญหาท้องผูกน้อยกว่า
– วิธีการนมผิด เช่น ชงนมเจือจางหรือเข้มข้นเกินไป ควรอ่านข้อมูลการชงยมบนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันภาวะท้องผูก
– คนในครอบครัวมีประวัติเรื่องท้องผูก
– เมื่อเริ่มให้อาหารเสริม ซึ่งมักพบในกรณีให้อาหารเสริมเร็วเกินไป หรือให้อาหารเสริมที่มีเส้นใยน้อย เช่น ผักหรือผลไม้
– โรคทางเมตาบอลิค เช่น ต่อมไธรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
– ความผิดปกติทางจิตใจ เช่น ฝึกให้เด็กนั่งกระโถนเร็วเกินไป โดยที่เด็กยังไม่พร้อมทำให้เด็กกลัวและพยายามกลั้นอุจจาระ
– เด็กที่ดื่มน้ำน้อยไป สูญเสียน้ำหรือขณะมีไข้อาจจะทำให้อุจจาระแข็งและท้องผูกได้
วิธีการดูแลรักษาลูกน้อยเมื่อท้องผูก
– วัยทารกที่กินน้ำนมแม่ ควรได้รับปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ โดยคำนวณเฉลี่ย ชั่วโมงละ 1 ออนซ์
– เมื่อเด็กเริ่มทานนมผสม ควรเลือกนมที่มีส่วนผสมใกล้เคียงนมแม่ให้มากที่สุด และดื่มน้ำให้มากขึ้นหรือดื่มน้ำหลังทานนมทุกครั้ง
– สังเกตุวิธีชงนมว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ชงนมเข้มข้นหรือเจือจางเกินไป ควรศึกษาข้อมูลในการชงนมโดยดูได้จากฉลากบนผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก
– เมื่อเด็กเริ่มทานอาหารเสริม ควรเพิ่มอาหารที่มีกากใย ให้เหมาะสม เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
– บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยการนวดท้อง โดยกดบริเวณรอบสะดือแล้วนวดวนไปเรื่อยๆ ช่วยในการระบาย หรือการจับเด็กทำท่าปั่นจักรยานอากาศจะช่วยให้เด็กขับถ่ายง่ายขึ้น
– ควรฝึกกระโถนเมื่อลูกพร้อม โดยปกติแล้วจะเริ่มเมื่อเด็ก อายุประมาณ 18 เดือน แต่หากลูกยังไม่พร้อม ไม่ควรบังคับเพราะจะทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย ควรให้เด็กทำความคุ้นเคยก่อนแล้วค่อยเริ่มฝึกใหม่
– ฝึกให้นั่งถ่ายประมาณ 10-15 นาที หลังกินอาหารเสร็จสักพัก เพราะหลังจากกินอาหารจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ช่วยให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น
– หากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ และที่สำคัญไม่ควรใช้ยาสวนเอง
ที่มา Thairats.com
ลูกน้อย ท้องผูก ดูแลอย่างไรดีนะ
เนื่องจากร่างกายของเด็กทารกยังทำงานไม่เต็มที่ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร การย่อย หรือลำไส้ คุณแม่อาจสังเกตสุขภาพของลูกจาก “อึ” ของลูกได้ว่ามีลักษณะผิดปกติเช่นไร ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ นั่นคือ เวลาเปลี่ยนนมให้ลูกเมื่อไร เจ้าตัวเล็กอาจจะมีปัญหาการขับถ่าย โดยเฉพาะท้องผูก ซึ่งทำให้ลูกเจ็บปวดเวลาถ่าย ส่งผลต่ออารมณ์จิตใจ และสุขภาพร่างกายที่ดี
ท้องผูก หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง แห้งๆ หรือถ่ายเป็นเม็ดๆ เจ็บเวลาถ่าย และอาจมีความรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด แม้ลูกจะถ่ายทุกวัน แต่ถ้ามีอาการที่ว่านี้ แสดงว่าลูก ท้องผูก หรือถ้า 2-3 วัน ถ่ายหนึ่งครั้งแต่อุจจาระนิ่มไม่แข็งก็ไม่เรียกว่า ท้องผูก
ลักษณะของอาการ ท้องผูก
– ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
– ถ่ายอุจจาระแข็งมาก อาจถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนลูกกระสุน หรือเป็นแท่งแข็ง อุจจาระก้อนใหญ่ๆ
– ลูกมีอาการถ่ายลำบาก เจ็บเวลาขับถ่าย บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาขณะถ่าย เนื่องจากอุจจาระแข็งมากจนทำให้รูทวารหนังเป็นแผลฉีกขาด
– อาจมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ร่วมกับถ่ายลำบากและเจ็บ
สาเหตุ ท้องผูก ที่พบบ่อยของเด็ก
ปัญหาท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุและเด็กแต่ละคน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้
– ความผิดปกติบริเวณรูทวาร เช่น รูทวารหนักตีบ มีแผลที่ปากทวารหนัก
– เด็กที่ทานนมแม่ อาจเกิดจากเด็กได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
– เด็กที่ทานนมผสม เกิดจากไม่ได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
– เด็กที่เริ่มทานนมผสม เมื่อเปลี่ยนนม ทั้งการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผสม หรือเปลี่ยนสูตรนม เนื่องจากนมแม่มีเวย์โปรตีนสูง ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพและย่อยง่ายกว่านมผสม ทารกที่กินนมแม่จึงมีปัญหาท้องผูกน้อยกว่า
– วิธีการนมผิด เช่น ชงนมเจือจางหรือเข้มข้นเกินไป ควรอ่านข้อมูลการชงยมบนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันภาวะท้องผูก
– คนในครอบครัวมีประวัติเรื่องท้องผูก
– เมื่อเริ่มให้อาหารเสริม ซึ่งมักพบในกรณีให้อาหารเสริมเร็วเกินไป หรือให้อาหารเสริมที่มีเส้นใยน้อย เช่น ผักหรือผลไม้
– โรคทางเมตาบอลิค เช่น ต่อมไธรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
– ความผิดปกติทางจิตใจ เช่น ฝึกให้เด็กนั่งกระโถนเร็วเกินไป โดยที่เด็กยังไม่พร้อมทำให้เด็กกลัวและพยายามกลั้นอุจจาระ
– เด็กที่ดื่มน้ำน้อยไป สูญเสียน้ำหรือขณะมีไข้อาจจะทำให้อุจจาระแข็งและท้องผูกได้
วิธีการดูแลรักษาลูกน้อยเมื่อท้องผูก
– วัยทารกที่กินน้ำนมแม่ ควรได้รับปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ โดยคำนวณเฉลี่ย ชั่วโมงละ 1 ออนซ์
– เมื่อเด็กเริ่มทานนมผสม ควรเลือกนมที่มีส่วนผสมใกล้เคียงนมแม่ให้มากที่สุด และดื่มน้ำให้มากขึ้นหรือดื่มน้ำหลังทานนมทุกครั้ง
– สังเกตุวิธีชงนมว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ชงนมเข้มข้นหรือเจือจางเกินไป ควรศึกษาข้อมูลในการชงนมโดยดูได้จากฉลากบนผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก
– เมื่อเด็กเริ่มทานอาหารเสริม ควรเพิ่มอาหารที่มีกากใย ให้เหมาะสม เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
– บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยการนวดท้อง โดยกดบริเวณรอบสะดือแล้วนวดวนไปเรื่อยๆ ช่วยในการระบาย หรือการจับเด็กทำท่าปั่นจักรยานอากาศจะช่วยให้เด็กขับถ่ายง่ายขึ้น
– ควรฝึกกระโถนเมื่อลูกพร้อม โดยปกติแล้วจะเริ่มเมื่อเด็ก อายุประมาณ 18 เดือน แต่หากลูกยังไม่พร้อม ไม่ควรบังคับเพราะจะทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย ควรให้เด็กทำความคุ้นเคยก่อนแล้วค่อยเริ่มฝึกใหม่
– ฝึกให้นั่งถ่ายประมาณ 10-15 นาที หลังกินอาหารเสร็จสักพัก เพราะหลังจากกินอาหารจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ช่วยให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น
– หากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ และที่สำคัญไม่ควรใช้ยาสวนเอง
ที่มา Thairats.com