๓. ไม่มีใครเกิด-ไม่มีใครตาย
ปรัศนี: มีผู้กล่าวว่า ท่านอาจารย์สอนว่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย? นั้นเป็นมิจฉาทิฎฐิ ดังนี้ ท่านอาจารย์จะว่าอย่างไรครับ?
พุทธทาส: เฮ้ย! เล่นไม่ซื่อ เล่นสกปรกแล้ว เราไม่ได้ว่าโว้ย! พระพุทธเจ้าว่านะ พระพุทธเจ้าท่านว่านะ อย่าไปพูดว่า ตายแล้วเกิด หรือ ตายแล้วไม่เกิด มันไม่มีใครเกิด มันมีแต่สังขารการปรุงแต่งตามกฎของธรรมชาติ
ทีนี้ เขาไปสมมติให้ไป เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตายเป็นเกิด มันเป็นกิริยาปรุงแต่ง เปลี่ยนแปลงของ สังขาร ธาตุ ขันธ์ อะไรนี้ ไปตามกฎของธรรมชาติ เป็นอย่างนั้นๆ แล้วชาวบ้านนั้น ก่อนพระพุทธเจ้าเสียอีก. เขาไปสมมติว่า กิริยาอย่างนี้เรียกว่า เกิด กิริยาอย่างนี้เรียกว่า ตาย ทีนี้ เขามีความยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน มีตัวมีตนมาก่อนแล้ว ก็เรียกว่า ตนมันเกิด ตนมันตาย เป็นความเกิด ความตายของตน ทีนี้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนี้แล้ว ก็สอนว่านั้นมันเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติล้วนๆ สุทฺธัมฺมา ปวตฺตนฺติ ธรรมชาติล้วนๆ เท่านั้นมันเป็นไป อ้ายธรรมชาติล้วนๆ นี้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน. ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มันเป็นไป คือมันเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของกฏอิทัปปัจจยตา เป็นต้น ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แล้วมันก็ไม่มีใครตาย ไม่มีใครเกิด
รู้พุทธศาสนาอย่างเด็กๆ ก็จะรู้ว่า มีคนตายมีคนเกิด ถ้ารู้พุทธศาสนาอย่างเป็นผู้ใหญ่พอสมควรแล้ว ก็จะเห็นตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า มันไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มันก็ไม่มีใครตาย ไม่มีใครเกิด มีแต่กิริยาแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังขาร ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย ที่นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมดก็ไม่ใช่คนนะ เป็นสังขารที่กำลังดำรงอยู่ตามเหตุตามปัจจัย ที่นั่งอยู่ที่นี่ก็ไม่ใช่คนมันอยู่อย่างอาการที่ว่ามันปรุงแต่งกันอยู่ในลักษณะอย่างนี้ จึงนั่งอยู่อย่างนี้ ถ้ามันจะปรุงแต่งในลักษณะที่ตาย มันก็เป็นการปรุงแต่งอยู่นั่นแหละ ไม่ใช่มีคนอยู่ที่นี่ หรือมีคนตาย หรือมีคนเกิด นี่คือ หลักของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มิจฉาทิฎฐิ.
การที่บอกว่ามีแต่สังขาร ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา จึงถือว่าไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย นั่นนะไม่ใช่มิจฉาทิฎฐิ นั่นแหละ คือสัมมาทิฏฐิ เอ้ามีอะไรอีก..
ผู้ใดจะอธิบายธรรมข้อนี้ให้แจ้งหน่อย "ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย"
ปรัศนี: มีผู้กล่าวว่า ท่านอาจารย์สอนว่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย? นั้นเป็นมิจฉาทิฎฐิ ดังนี้ ท่านอาจารย์จะว่าอย่างไรครับ?
พุทธทาส: เฮ้ย! เล่นไม่ซื่อ เล่นสกปรกแล้ว เราไม่ได้ว่าโว้ย! พระพุทธเจ้าว่านะ พระพุทธเจ้าท่านว่านะ อย่าไปพูดว่า ตายแล้วเกิด หรือ ตายแล้วไม่เกิด มันไม่มีใครเกิด มันมีแต่สังขารการปรุงแต่งตามกฎของธรรมชาติ
ทีนี้ เขาไปสมมติให้ไป เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตายเป็นเกิด มันเป็นกิริยาปรุงแต่ง เปลี่ยนแปลงของ สังขาร ธาตุ ขันธ์ อะไรนี้ ไปตามกฎของธรรมชาติ เป็นอย่างนั้นๆ แล้วชาวบ้านนั้น ก่อนพระพุทธเจ้าเสียอีก. เขาไปสมมติว่า กิริยาอย่างนี้เรียกว่า เกิด กิริยาอย่างนี้เรียกว่า ตาย ทีนี้ เขามีความยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน มีตัวมีตนมาก่อนแล้ว ก็เรียกว่า ตนมันเกิด ตนมันตาย เป็นความเกิด ความตายของตน ทีนี้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนี้แล้ว ก็สอนว่านั้นมันเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติล้วนๆ สุทฺธัมฺมา ปวตฺตนฺติ ธรรมชาติล้วนๆ เท่านั้นมันเป็นไป อ้ายธรรมชาติล้วนๆ นี้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน. ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มันเป็นไป คือมันเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของกฏอิทัปปัจจยตา เป็นต้น ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แล้วมันก็ไม่มีใครตาย ไม่มีใครเกิด
รู้พุทธศาสนาอย่างเด็กๆ ก็จะรู้ว่า มีคนตายมีคนเกิด ถ้ารู้พุทธศาสนาอย่างเป็นผู้ใหญ่พอสมควรแล้ว ก็จะเห็นตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า มันไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มันก็ไม่มีใครตาย ไม่มีใครเกิด มีแต่กิริยาแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังขาร ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย ที่นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมดก็ไม่ใช่คนนะ เป็นสังขารที่กำลังดำรงอยู่ตามเหตุตามปัจจัย ที่นั่งอยู่ที่นี่ก็ไม่ใช่คนมันอยู่อย่างอาการที่ว่ามันปรุงแต่งกันอยู่ในลักษณะอย่างนี้ จึงนั่งอยู่อย่างนี้ ถ้ามันจะปรุงแต่งในลักษณะที่ตาย มันก็เป็นการปรุงแต่งอยู่นั่นแหละ ไม่ใช่มีคนอยู่ที่นี่ หรือมีคนตาย หรือมีคนเกิด นี่คือ หลักของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มิจฉาทิฎฐิ.
การที่บอกว่ามีแต่สังขาร ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา จึงถือว่าไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย นั่นนะไม่ใช่มิจฉาทิฎฐิ นั่นแหละ คือสัมมาทิฏฐิ เอ้ามีอะไรอีก..