เราสามารถใช้ยาคูลท์เป็นหัวเชื้อทำโยเกิร์ตได้รึเปล่าครับ

ขออนุญาตตั้งกระทู้ถามเป็นข้อ ๆ แบบโง่ ๆ เลยนะครับ

1. เราสามารถใช้ยาคูลท์แทนหัวเชื้อทำโยเกิร์ตได้รึเปล่าครับ
     1.1 ผลที่ได้มันจะเป็นอย่างไร ได้เป็นเนื้อโยเกิร์ต หรือได้เป็นนมเปรี้ยวใสๆ แทน
     1.2 หรือไม่ได้เพราะเรื่องสายพันธุ์ ประเภทของจุลินทรีย์ ฯลฯ

2. ผมซื้อโยเกิร์ตแบบเนื้อแน่น ไขมันต่ำ (set yogurt - low fat) มาอยู่ยี่ห้อหนึ่ง เปิดตักแบ่งออกมาทานไปนิดเดียว (เปิดแผ่นฟอยล์ออกมาเพียงนิดเดียวด้วยครับ) และแช่ไว้ถาดเลื่อนใต้ช่องฟรีซ จนลืม มาดูอีกครั้งมันหมดอายุไปตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2557 ผมเข้าใจว่าโยเกิร์ตยิ่งเก็บไว้นานเชื้อจะยิ่งดี แต่พอเอาไปทำหัวเชื้อโยเกิร์ต ผมใช้นมพาสเจอไรซ์ขาดมันเนย 0% ปริมาณ 830ml ต้มนมซ้อนหม้อตามขั้นตอน (แต่ผมพักนมรอให้อุ่นนานไปหน่อย นมไม่ค่อยอุ่นเท่าที่ควร) และตักโยเกิร์ตใส่ไป 3 ช้อนโต๊ะพูน ๆ และทิ้งไว้ในไมโครเวฟปิดฝา 6-7 ช.ม. พอมาเปิดดูมันไม่จับตัวเป็นเนื้อโยเกิร์ตเลยครับ เป็นน้ำเหลว ๆ เหมือนเดิม ก็เลยคิดเองว่าหรือเพราะว่าเราปล่อยนมให้เย็นเกินไป อุณหภูมิเลยไม่ได้ จึงลองทำซ้ำตามขั้นตอนเดิม (โดยใช้นมหม้อเดิม) แต่คราวนี้ต้มนมแค่พอให้มันอุ่น ๆ และใส่โยเกิร์ตปริมาณมากกว่าเดิมอีก 1 ช้อน ทิ้งไว้ระยะเวลาใกล้เคียงกัน ผลออกมาเหมือนเดิมครับ (ข้างบรรจุภัณฑ์ระบุไว้ว่า มีเชื้อ แล็กโทบาซิลลัส บัลแกริคัส และสเตรปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส) ..ขอรบกวนถามนะครับ
     2.1 การที่ได้ผลออกมาเช่นนี้ ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดครับ
     2.2 เชื้อในโยเกิร์ต ถ้าเก็บไว้นานเป็นปี ๆ มันมีการตาย หรือหมดความเป็นเชื้อจุลินทรีย์ไปไหมครับ
     2.3 ความข้น-เหลว ของโยเกิร์ตแต่ละยี่ห้อ มันขึ้นอยู่กับอะไรครับ ประเภทเชื้อ/ปริมาณเชื้อ หรือสาเหตุอื่น ๆ ครับ
     2.4 ถ้าเรานำมาใช้ทำหัวเชื้อ ความข้น-เหลวที่ว่า มีผลต่อโยเกิร์ตที่เราจะทำอย่างไรบ้างครับ

     ขอบคุณสำหรับคำตอบไว้ล่วงหน้านะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่