โรคกระดูกพรุน: โรคที่เกิดจากพฤติกรรมตั้งแต่วัยหนุ่มสาว

โรคกระดูกพรุน: โรคที่เกิดจากพฤติกรรมตั้งแต่วัยหนุ่มสาว

เรามักจะคุ้นเคยกับ โรคกระดูกพรุน ว่าเป็นโรคของผู้สูงอายุ ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากกระดูกถูกสลายมากกว่าการสร้าง "ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว" ทำให้มวลกระดูกลดลงเรื่อย ๆ จนมาเป็นโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุนั่นเอง

เพราะฉะนั้น พฤติกรรมตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งผมจะขอแยกให้เห็นภาพง่ายๆ คือ

พฤติกรรมที่ช่วยให้มีการสร้างมวลกระดูกมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายจะทำให้มีแรงที่มากระทำต่อกระดูก เป็นการกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกให้มากขึ้น
- ทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมเป็นส่วนประกอบ: เพราะการสร้างมวลกระดูกต้องอาศัยระดับแคลเซี่ยมในเลือดที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้นำมาใช้ในการสร้างกระดูกได้
- โดนแดดในชีวิตประจำวันบ้าง: การที่โดนแสงแดดจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างกระดูกเช่นเดียวกับแคลเซี่ยม

พฤติกรรมที่ทำให้มีการสลายของมวลกระดูกมากขึ้น ซึ่งควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
- งดการดื่ม กาแฟ ชา น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: เนื่องจากร่างกายเราจะขับแคลเซี่ยมออกจากร่างกายได้หลายทาง ซึ่งทางที่ออกมากที่สุดคือ ทางปัสสาวะ การดื่มเครื่องดื่มพวกนี้จะทำให้เราปัสสาวะมากขึ้น ทำให้มีการขับแคลเซี่ยมออกมามากเช่นกัน
- งดการสูบบุหรี่: เพราะจะทำให้ระดับแคลเซี่ยมในเลือดลดลง

Facebook page: Dr. Gamabunta
https://www.facebook.com/pages/DrGamabunta/1455340874769253
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่