ประเทศไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล

เหตุที่ทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต้องเดินทางไปนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เนื่องจากไปเข้าร่วมการประชุมกับสหประชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี คศ.2015 จากที่เห็นประเด็นที่ทาง UN ยกขึ้นมมา 17 ข้อแล้ว ประเทศไทยแทบจะไม่สามารถทำได้เลยสักข้อในปัจจุบัน หรือในอีก 15 ปีข้างหน้าก็ยังว่ายากที่จะสำเร็จได้

ถ้ารัฐบาล และเอกชนต่างๆ ยังคงมองแต่ภาพรวมของเศรษฐกิจ โดยไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
เม่ารดน้ำพาพันปั่นจักรยาน



การพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล (Global Goals for Sustainable Development)


ในการเข้าร่วมประชุมสหประชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี คศ. 2015 และการประชุมสมัชชาสหประชาติสมัยสามัญครั้งที่ 70 สาระสำคัญในวาระการพัฒนาภายหลังปี คศ. 2015 สหประชาติกำหนดให้ภายในปีคศ. 2030 จะต้องขจัดความยากจน และความหิวโหยในทุกพื้นที่ ลดความเลื่อมล้ำทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ  สร้างสังคมที่มีความสงบสุข ยุติธรรม และครอบคลุม ปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ รวมทั้งเสริมพลังแก่สตรี และเด็กผู้หญิง และปกป้องโลก และทรัพยากรธรรมชาติ

เป้าหมายสำคัญในการดำเนินการ 17 ประการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล (Global Goals for Sustainable Development) ประกอบด้วย

1. ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่
2. ขจัดความหิวโหยบรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน
3. ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ
4. ทำให้แน่ใจถึงการได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียม และทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
5. บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรี และเด็กหญิงทุกคน
6. ทำให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำ และการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน
7. ทำให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ ตามกำลังซื้อของตน
8. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำ และการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
9. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
10. ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายใน และระหว่างประเทศ
11. ทำให้เมือง และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน
12. ทำให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
13. ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
14. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
15. พิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้ง และฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน และหยุดยั้งการสุญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
16. ส่งเสริมให้สังคมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวมมีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ
17. เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฎิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ "หน้าต่าง CSR" ฉบับวันที่ 24 กันยายน 2558
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่