เรื่องสั้น
หนีสงคราม (๒)
อำพา พึ่งเกตุ
เรื่อง หนีภัยสงคราม ของ อัมพา พึ่งเกตุ ตอนต่อจากคราวที่แล้ว
ทุกเช้าแม่จะจัดอาหารใส่ปิ่นโตและมีตะกร้า ๑ ใบ เป็นตะกร้าหวาย มีฝาเปิดได้ ๒ ข้าง ประกบกัน แล้วมีไม้เล็กขัดฝาไว้ไม่ให้ฝาเปิดได้ ให้ลูก ๆ ที่พอจะรู้เรื่องคอยหิ้วไว้ ผู้เขียนลืมเล่าไปเรื่องหนึ่งตรงที่ว่า ทางราชการจะมีสัญญาณภัย (เสียงหวูดของกรมอู่ปัจจุบันนี้) ทางอากาศเตือนให้รู้ว่าข้าศึกมาแล้ว พอได้ยินเสียงอย่างที่ว่า ปิ่นโตและกระเป๋าจะมีผู้หิ้วไป ความกลัวนั้นมีมากหิ้วไปได้อย่างรวดเร็ว วิ่งไปเหมือนเล่นงูกินหาง ครอบครัวของใครของมัน ไปในสวนให้ลึกเข้าไปแล้วไปพักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ต้องเลือกทำเลที่มีลำประโดงแห้งด้วย เพื่อจะได้เคลื่อนตัวหมอบได้เต็มที่เมื่อได้ยินเสียงระเบิด พวกเด็กจะต้องถูกสอนให้หมอบ เวลาได้ยินเสียงเครื่องบินทิ้งระเบิด
เสียงของระเบิดที่ทิ้งมานั้น ครั้งแรกจะมีเสียงวี้ดก่อน แล้วมีเสียงบึ้มตามมา มองไปจะเห็นท้องฟ้าสีแดงฉาน พอเงียบเสียงเราก็เดากันว่าบริเวณใดบ้างที่ถูกระเบิดลง ยังไม่มีใครกลับบ้านจนกว่าจะมีเสียงสัญญาณปลอดภัยขึ้น ก็จะพากันกลับบ้าน ส่วนใหญ่มักเป็นเวลาเย็น พอกลับถึงบ้านก็ต้องรีบหาข้าวหาปลากิน จะมัวช้าไม่ได้ เพราะไม่แน่ว่ากลางคืนอาจจะมีอีก บางวันมีทั้งกลางวันกลางคืน บางวันเราก็ทราบข่าวจากกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบันนี้) ว่าบ้านเมืองเราได้รับความเสียหายที่ไหนบ้าง คนที่มีอาชีพนอกบ้าน ครอบครัวทางบ้านก็ใจคอไม่สบายรอเวลากลับ พอกลับบ้านมาพร้อมหน้าตา คนในครอบครัวก็โล่งอก
บางวันผู้เขียนจำได้ว่า ขณะกลับมาถึงบ้านแล้วเป็นเวลากลางคืน ก็มีเสียงร้องเรียกจากหน้าบ้าน เมื่อแม่ออกไปพบว่ามีคนเจ็บผ่านมาขอความช่วยเหลือ บางคนช่วยได้ก็ช่วยไป ยาใส่ให้ก็มีน้อย บางครั้งต้องใช้น้ำมันก๊าดราดแผลให้ แล้วก็ฉีกผ้าอ้อมน้องพันแผลให้ก็ยังมี บางวันแม่ต้องรับเด็กเข้ามานอนในมุ้งกับเราก็มี เพราะพ่อกับแม่เขาถูกสะเก็ดระเบิดต้องไปส่งโรงพยาบาล จะเอาลูกไปไม่ได้ต้องฝากไว้
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะพวกเขารู้ดีว่า บ้านนี้หัวหน้าครอบครัวเป็นครู คงต้องพึ่งพาอาศัยได้ คำที่พวกลูก ๆ ได้ยินอยู่เสมอคือ “ ช่วยหน่อยเถิดคุณครู นึกว่าเอาบุญ “ เด็กที่แม่รับมาไว้นั้น บางคนก็เหนื่อยอ่อนเพลียหลับง่าย แต่บางครั้งก็ไม่เป็นอย่างนั้น เพื่อนร้องเกือบทั้งคืนขนาดหลับยังถอนสะอื้น เช้าขึ้นเป็นหน้าที่ของแม่ที่จะต้องเลี้ยงข้าวปลาอาหารพวกที่พักพิงเหล่านั้น สงครามทำให้คนเห็นใจกันในยามทุกข์ยากเช่นนี้ ใครช่วยกันได้ก็ช่วยกันไป แล้วเราไม่ลืมบุญคุณกัน
เรื่องบางเรื่องดูเป็นเรื่องน่าขบขันเมื่อพูดถึง แต่เป็นเรื่องหัวเราะไม่ออก ของคนที่อยู่ในภาวะสงครามเช่นนั้น ความรักตัวกลัวตายเป็นธรรมดาของสัตว์โลก เมื่อมีทุกข์ภัยก็ต้องหนี สิ่งที่เป็นเครื่องช่วยป้องกันอันตราย ซึ่งคนไทยยึดกันนอกจากพระเครื่องแล้วก็คือ เครื่องรางทั้งหลายใครมีเท่าใดขนมาใช้หมด เท่าที่ผู้เขียนจำได้ใช้กันมากคือ ผ้าประเจียด ที่บ้านของผู้เขียน แม่ย่าเป็นผู้นำมาแจก ไม่ทราบว่าท่านได้มาจากไหนเป็นผ้าสีขาว สีเหลืองคล้ายจีวรพระ กว้างไม่เกินสองนิ้ว และมีคาถาจารึกไว้ แม่ย่าจะเก็บไว้พอมีสัญญาณภัยเกิดขึ้น ก็จะแจกให้พวกหลาน ๆ ผูกคอไว้
พวกที่โตพอรู้เรื่องก็สอนให้ท่องคาถา มีอยู่หลายบท ผู้เขียนจำได้คล่องบทหนึ่ง เวลากลัวมาก ๆ ท่องเร็วปรื๋อ คือคาถาที่ว่า “ อากาเสจะ ทิมังกะโร นะโม
พุทธายะ “ ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกหรือเปล่า เพราะตอนนั้นยังอ่านหนังสือไม่แตก (คาถาบทนี้ทราบภายหลังว่าใช้ท่องตอนฝนตกฟ้าคะนอง) และยังมีบทอื่น ๆ อีกแต่จำได้ไม่จบ
ส่วนก่อนนอนก็จะได้รับคำสอนให้สวดบทว่า “นะกอขอ หน่อพระศรีอาริย์ พระพุทธเจ้าเข้านิพพาน นะโมพุทธายะ “ สวดบทนี้มาจนเป็นผู้ใหญ่ ยังไม่จบครบเรื่องเครื่องราง บางคนมีเสื้อยันต์ เสื้อยันต์นี้ก็แปลกต้องใช้สีแดง พอเสียงเครื่องบินมาพวกเสื้อสีแดงวิ่งเร็วกว่าเพื่อน
ปฏิกิริยาของพวกหนีสงครามอีกอย่างหนึ่งคือ พอได้ยินสัญญาณ บางคนก็ปวดท้องขึ้นมาทันที บางครั้งวิ่งเข้าส้วมแทบไม่ทัน การวิ่งหนีภัยนั้นจะพบว่าบางคนไปแต่ตัวเสื้อผ้าน้อยชิ้น ตอนนั้นไม่อายไม่มีใครสังเกต แต่ขากลับเจ้าตัวอายต้องขอยืมคนอื่นใส่กลับก็มี ถ้านึกภาพไม่ออกก็ดูสภาพของคนที่วิ่งหนีไฟไหม้ในปัจจุบันนี้ก็แล้วกัน จะต่างกันแต่เพียงว่า คนหนีไฟไหม้นั้น โชคร้ายก็อาจจะหมดตัว ไม่ถึงกับชีวิต แต่ลูกระเบิดนั้น อาจไม่ได้กลับบ้านอีกก็ได้ บางทีเสียทั้งบ้านทั้งชีวิตด้วย
(ความเห็นแทรก)
เรื่องสัญญาณภัยทางอากาศนั้น ชาวบ้านเรียกว่า หวอ เมื่อมีภัยจะเป็นเสียงสั้น ๆ เหมือนไซเรนของรถดับเพลิง ถ้าหมดภัยจะเป็นเสียงยาวตั้งแต่ต้นจนหยุด เหมือนคนถอนหายใจโล่งอก ชาวบ้านเรียกสัญญาณมีภัยว่า “หวอมา” ต่อมาหลังสงครามมีคนเอาไปใช้ เรียกผู้หญิงที่นั่งรถสามล้อแล้วไม่ระวังผ้านุ่งหรือกระโปรง ให้เปิดเพยิบว่า “หวอออก”
เสียงหวีดของลูกระเบิดที่แหวกอากาศนั้น มีหลักอยู่ว่าถ้าดังก่อนที่เครื่องบินจะมาถึงหัวเรา ให้หมอบแนบติดดิน เพราะมันจะพุ่งมาทางเราหรือใกล้เรา ถ้าเครื่องบินอยู่บนหัวแล้ว จึงได้ยินเสียง ไม่ต้องตกใจลงที่อื่นแน่ เรื่องนี้ผมเห็นกับตาเวลากลางวัน เครื่องบินทิ้งระเบิดบินตามแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณเหนือวัดส้มเกลี้ยง เชิงสะพานกรุงธนเดี๋ยวนี้ มันเปิดท้องปล่อยลูกระเบิด เรียงลงมาเป็นนิ้วมือ ไปตกที่โรงไฟฟ้าสามเสน ที่ศรีย่านโน่น
เรื่องเวลาที่เครื่องบินจะมาทิ้งระเบิดนั้น ตอนต้นสงครามเขาจะมาเวลาเดือนหงาย พอข้างแรมเราก็นอนตาหลับว่าไม่มา ต่อมามีการทิ้งพลุลอยกลางอากาศ ส่องสว่างมากกว่าแสงพระจันทน์ เหมือนกลางวันเลย เขาก็มาได้ทั้งข้างขึ้นข้างแรม ต่อมาปลายสงครามเขาก็มากลางวันแสก ๆ เลย บินอย่างสง่าเผยเหมือนสวนสนาม ผมนอนคว่ำกับพื้น ใต้ถุนบ้านสวนอ้อย เสียงลูกระเบิดแหวกอากาศดังรอบตัวไม่รู้ทางไหนเป็นทางไหน วันนั้นเป็นวันวิสาขะบูชา สวนอ้อยโดนเข้าไปเกือบยี่สิบลูก ที่ใกล้สุดก็ห่างบ้านผมไปสามสี่หลัง แต่เป็นที่ว่างยังไม่ได้ปลูกบ้าน มันขุดดินดาลมาทิ้งใส่หลังคาบ้านผม กระเบื้องแตกโปร่งฟ้าเลย
เรื่องความกลัวเมื่อได้ยินเสียงหวอนั้น มันอยู่นอกเหนือการบังคับของประสาท บางคนปวดปัสสาวะขึ้นมาทันทีทันใด บางคนพูดคางสั่นระรัวเหมือนหนาว บางคนหัวเข่ากระตุกงึก ๆ อย่างหลังนี้คือผมเอง
เรื่องนี้ยังไม่จบแค่นี้.
#############
หนีสงคราม (๒) ๒๔ ก.ย.๕๘
หนีสงคราม (๒)
อำพา พึ่งเกตุ
เรื่อง หนีภัยสงคราม ของ อัมพา พึ่งเกตุ ตอนต่อจากคราวที่แล้ว
ทุกเช้าแม่จะจัดอาหารใส่ปิ่นโตและมีตะกร้า ๑ ใบ เป็นตะกร้าหวาย มีฝาเปิดได้ ๒ ข้าง ประกบกัน แล้วมีไม้เล็กขัดฝาไว้ไม่ให้ฝาเปิดได้ ให้ลูก ๆ ที่พอจะรู้เรื่องคอยหิ้วไว้ ผู้เขียนลืมเล่าไปเรื่องหนึ่งตรงที่ว่า ทางราชการจะมีสัญญาณภัย (เสียงหวูดของกรมอู่ปัจจุบันนี้) ทางอากาศเตือนให้รู้ว่าข้าศึกมาแล้ว พอได้ยินเสียงอย่างที่ว่า ปิ่นโตและกระเป๋าจะมีผู้หิ้วไป ความกลัวนั้นมีมากหิ้วไปได้อย่างรวดเร็ว วิ่งไปเหมือนเล่นงูกินหาง ครอบครัวของใครของมัน ไปในสวนให้ลึกเข้าไปแล้วไปพักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ต้องเลือกทำเลที่มีลำประโดงแห้งด้วย เพื่อจะได้เคลื่อนตัวหมอบได้เต็มที่เมื่อได้ยินเสียงระเบิด พวกเด็กจะต้องถูกสอนให้หมอบ เวลาได้ยินเสียงเครื่องบินทิ้งระเบิด
เสียงของระเบิดที่ทิ้งมานั้น ครั้งแรกจะมีเสียงวี้ดก่อน แล้วมีเสียงบึ้มตามมา มองไปจะเห็นท้องฟ้าสีแดงฉาน พอเงียบเสียงเราก็เดากันว่าบริเวณใดบ้างที่ถูกระเบิดลง ยังไม่มีใครกลับบ้านจนกว่าจะมีเสียงสัญญาณปลอดภัยขึ้น ก็จะพากันกลับบ้าน ส่วนใหญ่มักเป็นเวลาเย็น พอกลับถึงบ้านก็ต้องรีบหาข้าวหาปลากิน จะมัวช้าไม่ได้ เพราะไม่แน่ว่ากลางคืนอาจจะมีอีก บางวันมีทั้งกลางวันกลางคืน บางวันเราก็ทราบข่าวจากกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบันนี้) ว่าบ้านเมืองเราได้รับความเสียหายที่ไหนบ้าง คนที่มีอาชีพนอกบ้าน ครอบครัวทางบ้านก็ใจคอไม่สบายรอเวลากลับ พอกลับบ้านมาพร้อมหน้าตา คนในครอบครัวก็โล่งอก
บางวันผู้เขียนจำได้ว่า ขณะกลับมาถึงบ้านแล้วเป็นเวลากลางคืน ก็มีเสียงร้องเรียกจากหน้าบ้าน เมื่อแม่ออกไปพบว่ามีคนเจ็บผ่านมาขอความช่วยเหลือ บางคนช่วยได้ก็ช่วยไป ยาใส่ให้ก็มีน้อย บางครั้งต้องใช้น้ำมันก๊าดราดแผลให้ แล้วก็ฉีกผ้าอ้อมน้องพันแผลให้ก็ยังมี บางวันแม่ต้องรับเด็กเข้ามานอนในมุ้งกับเราก็มี เพราะพ่อกับแม่เขาถูกสะเก็ดระเบิดต้องไปส่งโรงพยาบาล จะเอาลูกไปไม่ได้ต้องฝากไว้
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะพวกเขารู้ดีว่า บ้านนี้หัวหน้าครอบครัวเป็นครู คงต้องพึ่งพาอาศัยได้ คำที่พวกลูก ๆ ได้ยินอยู่เสมอคือ “ ช่วยหน่อยเถิดคุณครู นึกว่าเอาบุญ “ เด็กที่แม่รับมาไว้นั้น บางคนก็เหนื่อยอ่อนเพลียหลับง่าย แต่บางครั้งก็ไม่เป็นอย่างนั้น เพื่อนร้องเกือบทั้งคืนขนาดหลับยังถอนสะอื้น เช้าขึ้นเป็นหน้าที่ของแม่ที่จะต้องเลี้ยงข้าวปลาอาหารพวกที่พักพิงเหล่านั้น สงครามทำให้คนเห็นใจกันในยามทุกข์ยากเช่นนี้ ใครช่วยกันได้ก็ช่วยกันไป แล้วเราไม่ลืมบุญคุณกัน
เรื่องบางเรื่องดูเป็นเรื่องน่าขบขันเมื่อพูดถึง แต่เป็นเรื่องหัวเราะไม่ออก ของคนที่อยู่ในภาวะสงครามเช่นนั้น ความรักตัวกลัวตายเป็นธรรมดาของสัตว์โลก เมื่อมีทุกข์ภัยก็ต้องหนี สิ่งที่เป็นเครื่องช่วยป้องกันอันตราย ซึ่งคนไทยยึดกันนอกจากพระเครื่องแล้วก็คือ เครื่องรางทั้งหลายใครมีเท่าใดขนมาใช้หมด เท่าที่ผู้เขียนจำได้ใช้กันมากคือ ผ้าประเจียด ที่บ้านของผู้เขียน แม่ย่าเป็นผู้นำมาแจก ไม่ทราบว่าท่านได้มาจากไหนเป็นผ้าสีขาว สีเหลืองคล้ายจีวรพระ กว้างไม่เกินสองนิ้ว และมีคาถาจารึกไว้ แม่ย่าจะเก็บไว้พอมีสัญญาณภัยเกิดขึ้น ก็จะแจกให้พวกหลาน ๆ ผูกคอไว้
พวกที่โตพอรู้เรื่องก็สอนให้ท่องคาถา มีอยู่หลายบท ผู้เขียนจำได้คล่องบทหนึ่ง เวลากลัวมาก ๆ ท่องเร็วปรื๋อ คือคาถาที่ว่า “ อากาเสจะ ทิมังกะโร นะโม
พุทธายะ “ ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกหรือเปล่า เพราะตอนนั้นยังอ่านหนังสือไม่แตก (คาถาบทนี้ทราบภายหลังว่าใช้ท่องตอนฝนตกฟ้าคะนอง) และยังมีบทอื่น ๆ อีกแต่จำได้ไม่จบ
ส่วนก่อนนอนก็จะได้รับคำสอนให้สวดบทว่า “นะกอขอ หน่อพระศรีอาริย์ พระพุทธเจ้าเข้านิพพาน นะโมพุทธายะ “ สวดบทนี้มาจนเป็นผู้ใหญ่ ยังไม่จบครบเรื่องเครื่องราง บางคนมีเสื้อยันต์ เสื้อยันต์นี้ก็แปลกต้องใช้สีแดง พอเสียงเครื่องบินมาพวกเสื้อสีแดงวิ่งเร็วกว่าเพื่อน
ปฏิกิริยาของพวกหนีสงครามอีกอย่างหนึ่งคือ พอได้ยินสัญญาณ บางคนก็ปวดท้องขึ้นมาทันที บางครั้งวิ่งเข้าส้วมแทบไม่ทัน การวิ่งหนีภัยนั้นจะพบว่าบางคนไปแต่ตัวเสื้อผ้าน้อยชิ้น ตอนนั้นไม่อายไม่มีใครสังเกต แต่ขากลับเจ้าตัวอายต้องขอยืมคนอื่นใส่กลับก็มี ถ้านึกภาพไม่ออกก็ดูสภาพของคนที่วิ่งหนีไฟไหม้ในปัจจุบันนี้ก็แล้วกัน จะต่างกันแต่เพียงว่า คนหนีไฟไหม้นั้น โชคร้ายก็อาจจะหมดตัว ไม่ถึงกับชีวิต แต่ลูกระเบิดนั้น อาจไม่ได้กลับบ้านอีกก็ได้ บางทีเสียทั้งบ้านทั้งชีวิตด้วย
(ความเห็นแทรก)
เรื่องสัญญาณภัยทางอากาศนั้น ชาวบ้านเรียกว่า หวอ เมื่อมีภัยจะเป็นเสียงสั้น ๆ เหมือนไซเรนของรถดับเพลิง ถ้าหมดภัยจะเป็นเสียงยาวตั้งแต่ต้นจนหยุด เหมือนคนถอนหายใจโล่งอก ชาวบ้านเรียกสัญญาณมีภัยว่า “หวอมา” ต่อมาหลังสงครามมีคนเอาไปใช้ เรียกผู้หญิงที่นั่งรถสามล้อแล้วไม่ระวังผ้านุ่งหรือกระโปรง ให้เปิดเพยิบว่า “หวอออก”
เสียงหวีดของลูกระเบิดที่แหวกอากาศนั้น มีหลักอยู่ว่าถ้าดังก่อนที่เครื่องบินจะมาถึงหัวเรา ให้หมอบแนบติดดิน เพราะมันจะพุ่งมาทางเราหรือใกล้เรา ถ้าเครื่องบินอยู่บนหัวแล้ว จึงได้ยินเสียง ไม่ต้องตกใจลงที่อื่นแน่ เรื่องนี้ผมเห็นกับตาเวลากลางวัน เครื่องบินทิ้งระเบิดบินตามแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณเหนือวัดส้มเกลี้ยง เชิงสะพานกรุงธนเดี๋ยวนี้ มันเปิดท้องปล่อยลูกระเบิด เรียงลงมาเป็นนิ้วมือ ไปตกที่โรงไฟฟ้าสามเสน ที่ศรีย่านโน่น
เรื่องเวลาที่เครื่องบินจะมาทิ้งระเบิดนั้น ตอนต้นสงครามเขาจะมาเวลาเดือนหงาย พอข้างแรมเราก็นอนตาหลับว่าไม่มา ต่อมามีการทิ้งพลุลอยกลางอากาศ ส่องสว่างมากกว่าแสงพระจันทน์ เหมือนกลางวันเลย เขาก็มาได้ทั้งข้างขึ้นข้างแรม ต่อมาปลายสงครามเขาก็มากลางวันแสก ๆ เลย บินอย่างสง่าเผยเหมือนสวนสนาม ผมนอนคว่ำกับพื้น ใต้ถุนบ้านสวนอ้อย เสียงลูกระเบิดแหวกอากาศดังรอบตัวไม่รู้ทางไหนเป็นทางไหน วันนั้นเป็นวันวิสาขะบูชา สวนอ้อยโดนเข้าไปเกือบยี่สิบลูก ที่ใกล้สุดก็ห่างบ้านผมไปสามสี่หลัง แต่เป็นที่ว่างยังไม่ได้ปลูกบ้าน มันขุดดินดาลมาทิ้งใส่หลังคาบ้านผม กระเบื้องแตกโปร่งฟ้าเลย
เรื่องความกลัวเมื่อได้ยินเสียงหวอนั้น มันอยู่นอกเหนือการบังคับของประสาท บางคนปวดปัสสาวะขึ้นมาทันทีทันใด บางคนพูดคางสั่นระรัวเหมือนหนาว บางคนหัวเข่ากระตุกงึก ๆ อย่างหลังนี้คือผมเอง
เรื่องนี้ยังไม่จบแค่นี้.
#############