สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
เห็นด้วยกับคุณนางฟ้าค่ะ รัฐบาลที่ดีคือรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ รู้จักหาข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต
ที่ผ่านมาแต่ละรัฐบาลมักจะคิดแค่นโยบายระยะสั้นๆ เพื่อหวังคะแนนเสียง เราขาดนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์
ที่มองทุกอย่างอย่างเป็นระบบ จนถึงรัฐบาลนายกทักษิณและนายกปู แต่ก็น่าเสียดาย...
ปัญหาสังคมผู้สูงอายุเกิดขึ้นแน่ๆ ญี่ปุ่นประสบแล้ว แต่เขามีวิธีจัดการที่ดี ซึ่งเราก็ควรต้องคิดถึงให้มาก
อย่ารอให้เกิดขึ้นแล้วค่อยจัดการ ปัญหาสังคมผู้สูงอายุหากไม่มีแผนรับมือแล้วจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ ตามมามากมาย
หากผู้สูงอายุได้รับโอกาส การดูแลที่ดี ยอมไม่ค่อยมีปัญหาสุขภาพกายและใจ ลูกหลานไม่ต้องกังวลหรือมีภาระเพิ่มขึ้น
รัฐบาลประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้มากมายตรงส่วนนี้
ประเทศญี่ปุ่นมองทุกด้าน ถึงขนาดส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงได้ทำงานเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ร่างกาย สมอง
ได้ตื่นตัวช่วยเรื่องสุขภาพ และทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกตัวเองมีคุณค่า
อย่าลืมว่า "ผู้สูงอายุ" คือ ทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่า เพราะมีประสบการณ์ดีๆ ที่สั่งสมกันมา มีภูมิปัญญาพร้อมถ่ายทอดให้สังคม
ดังนั้นสังคมควรต้องให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุให้มาก
ที่ผ่านมาแต่ละรัฐบาลมักจะคิดแค่นโยบายระยะสั้นๆ เพื่อหวังคะแนนเสียง เราขาดนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์
ที่มองทุกอย่างอย่างเป็นระบบ จนถึงรัฐบาลนายกทักษิณและนายกปู แต่ก็น่าเสียดาย...
ปัญหาสังคมผู้สูงอายุเกิดขึ้นแน่ๆ ญี่ปุ่นประสบแล้ว แต่เขามีวิธีจัดการที่ดี ซึ่งเราก็ควรต้องคิดถึงให้มาก
อย่ารอให้เกิดขึ้นแล้วค่อยจัดการ ปัญหาสังคมผู้สูงอายุหากไม่มีแผนรับมือแล้วจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ ตามมามากมาย
หากผู้สูงอายุได้รับโอกาส การดูแลที่ดี ยอมไม่ค่อยมีปัญหาสุขภาพกายและใจ ลูกหลานไม่ต้องกังวลหรือมีภาระเพิ่มขึ้น
รัฐบาลประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้มากมายตรงส่วนนี้
ประเทศญี่ปุ่นมองทุกด้าน ถึงขนาดส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงได้ทำงานเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ร่างกาย สมอง
ได้ตื่นตัวช่วยเรื่องสุขภาพ และทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกตัวเองมีคุณค่า
อย่าลืมว่า "ผู้สูงอายุ" คือ ทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่า เพราะมีประสบการณ์ดีๆ ที่สั่งสมกันมา มีภูมิปัญญาพร้อมถ่ายทอดให้สังคม
ดังนั้นสังคมควรต้องให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุให้มาก
ความคิดเห็นที่ 4
เรื่องปัญญาผู้สูงอายุ ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วค่อยมาแก้กันไปแบบวัวหายล้อมคอก เรื่องนี้ต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์วางแผนรับมือล่วงหน้ากันสิบปี เพราะอีก 15 ปี หรือปี 2567 ประเทศเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย Aged Society โดยสมบูรณ์
เห็นด้วยที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ออกมากระตุ้นเตือนเรื่องนี้
ประเทศเราขาดการวางแผนหลายเรื่องแล้ว แม้แต่ AEC ปีหน้าคนที่เตรียมวางแผนบริหารซะดิบดีถูกล้มไป คนที่เข้ามาใหม่กลับไม่ได้นำพาอะไรขาดวิสัยทัศน์ เอาแต่ไล่จับผิดโน่นนี่เหวี่ยงหมัดวืดวาด เป็นมวยใบจากปิดตามชกตามงานวัดเท่านั้น แล้วพวกเราจะรับมือกับอนาคตกันอย่างไร ....
เห็นด้วยที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ออกมากระตุ้นเตือนเรื่องนี้
ประเทศเราขาดการวางแผนหลายเรื่องแล้ว แม้แต่ AEC ปีหน้าคนที่เตรียมวางแผนบริหารซะดิบดีถูกล้มไป คนที่เข้ามาใหม่กลับไม่ได้นำพาอะไรขาดวิสัยทัศน์ เอาแต่ไล่จับผิดโน่นนี่เหวี่ยงหมัดวืดวาด เป็นมวยใบจากปิดตามชกตามงานวัดเท่านั้น แล้วพวกเราจะรับมือกับอนาคตกันอย่างไร ....
ความคิดเห็นที่ 2
รัฐบาลที่ดีคือรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ รู้จักหาข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต
และนี่แหละคือสิ่งที่พรรคคู่แข่งที่ตั้งพรรคมานานแต่ไม่เคยคิดจะทำ วุ่นวายแต่แบ่งเค้กกันยามได้เป็นรัฐบาล จนไม่เคยทิ้งผลงานที่จับต้องได้สักชิ้น
มาวันนี้ยิ่งไปกันใหญ่. คนที่เลือกมากับมือแท้ๆ ยังทำงานไม่ได้เรื่อง จนทำให้เสียเวลาไปปีเศษแต่กลับต้องมานับ1กันใหม่ โดยที่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ มิหนำซ้ำยังมีข่าวว่าบางคนยังเรียกกลับมาใช้งานอีกรอบ
การฝากอนาคตให้กับคนไร้ความรับผิดชอบแบบนี้. ถือว่าเป็นกรรมของประเทศชาติเลยนะฮ้า
และนี่แหละคือสิ่งที่พรรคคู่แข่งที่ตั้งพรรคมานานแต่ไม่เคยคิดจะทำ วุ่นวายแต่แบ่งเค้กกันยามได้เป็นรัฐบาล จนไม่เคยทิ้งผลงานที่จับต้องได้สักชิ้น
มาวันนี้ยิ่งไปกันใหญ่. คนที่เลือกมากับมือแท้ๆ ยังทำงานไม่ได้เรื่อง จนทำให้เสียเวลาไปปีเศษแต่กลับต้องมานับ1กันใหม่ โดยที่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ มิหนำซ้ำยังมีข่าวว่าบางคนยังเรียกกลับมาใช้งานอีกรอบ
การฝากอนาคตให้กับคนไร้ความรับผิดชอบแบบนี้. ถือว่าเป็นกรรมของประเทศชาติเลยนะฮ้า
แสดงความคิดเห็น
วิสัยทัศน์ ของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับปัญหาสังคมไทยเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
เรื่องประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548
โดยมีประชากรผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด
และใน 20 ปีนับจากนี้ ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์”
โดยประชากรทุก 5 คน จะมี 1 เป็นผู้สูงอายุ
ยิ่งไปกว่านั้น อัตราการเกิดของประเทศเรายังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนประชากรวัยพึ่งพิงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
โดยจากข้อมูลของสภาพัฒน์ ในปี 2553 มีสัดส่วนประชากรวัยทำงาน 10 คน ต่อประชากรวัยพึ่งพิงเพียง 5 คน
แต่ในปี 2583 หรือในอีก 25 ปี ประชากรวัยทำงาน 10 คน จะต้องดูแลผู้สูงอายุและเด็กประมาณ 8 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 60%
แม้ว่าในขณะนี้จะเป็นช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่รัฐบาล รวมถึงสังคม คงไม่อาจจะละเลยที่จะช่วยกันเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสภาพของสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตระยะยาว
ซึ่งนอกจากจะต้องส่งเสริมให้คนมีบุตร โดยควรต้องเตรียมการในแง่มาตรการการจูงใจทั้งทางด้านภาษี เช่น การลดหย่อนภาษีเงินได้ให้กับผู้มีบุตร หรือลดหย่อนภาษีนิติบุคคลให้กับเอกชนที่สนับสนุนการสร้างสิ่งจูงใจให้พ่อแม่สมัยใหม่มีลูกกันมากขึ้น
โดยไม่ต้องละทิ้งหน้าที่การงานเพื่อมีบุตร เช่น ศูนย์เลี้ยงดูเด็ก หรือสิทธิประโยชน์ในการลาคลอด เป็นต้น
และในเรื่องผู้สูงอายุ นอกจากการให้สวัสดิการผู้สูงอายุ และการส่งเสริมการออมแล้ว ยังอาจจะต้องพิจารณาหามาตรการที่จะรับมือกับค่ารักษาพยาบาล และจำนวนผู้ป่วยติดเตียงที่จะเพิ่มมากขึ้น
โดยในหลายประเทศ อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ก็ใช้กลไกของประชาชน ในการจัดศูนย์และให้การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้อยู่ในสภาพที่คุ้นเคยแล้ว ยังสามารถลดความแออัดของโรงพยาบาลได้อีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ อาจพิจารณาสนับสนุนให้ทั้งเอกชน และราชการ ออกแบบ หรือปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อให้ผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้พิการ สามารถดูแลตัวเองทั้งในการเดินทางสัญจรไปมาและการทำกิจกรรมนอกบ้านได้สะดวกมากขึ้น
ปรากฏการณ์กลุ่มคนผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ หากใครมีวิสัยทัศน์ ก็จะมีโอกาศมากกว่าผู้ที่ดูดาย
อ้างอิง ข้อความจากเฟสบุ๊คยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภาพจากอินเตอร์เนต