http://www.thai.ac/news/show/87854
ไม่สามารถก๊อบเนื้อหามาได้เพราะเหตุผลทางเทคนิค
ความเดิมตอนที่แล้ว
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/784029
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมแก้ไขประมวลรัษฎากรเพื่อเพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับคนที่มีบุตร เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีบุตรมากขึ้น จากปัจจุบันที่สังคมไทยมีบุตรน้อยลงและกำลังเข้าสู่สังคมคนชรา หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้จะกลายเป็นปัญหาทางสังคม คนวัยแรงงาน จำนวนน้อยต้องแบกรับภาระดูแลคนสูงอายุจำนวนมาก
อธิบดีกรมสรรพากร ยังกล่าวว่า การใช้มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้คนอยากมีลูกมากขึ้นนั้น เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้น ที่จะช่วยเพิ่มจำนวนประชากรในประเทศ แต่จำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆเพื่อรองรับ เช่น เมื่อจำนวนคนเกิดน้อยลง มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต้องปรับตัวอย่างไร เช่น จะต้องปรับหลักสูตรอย่างไร เพื่อรองรับคนในอนาคต หรือด้านการจ้างงาน เมื่อกำลังคนน้อยลง จะต้องรับมืออย่างไร เป็นต้น
“การแก้ไขประมวลรัษฎากร ในเรื่องค่าลดหย่อนบุตร ดังกล่าวนั้น คาดว่า จะสามารถเริ่มใช้ในปีภาษี 2561 เป็นต้นไป ซึ่งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ขณะนี้ ได้ส่งตัวร่างให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พิจารณาแล้ว” นายประสงค์กล่าว
ปัจจุบัน ตามกฎหมายกรมสรรพากร ให้ค่าลดหย่อนบุตร สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรตามสายเลือด ให้ลดหย่อนบุตร ได้ 3 หมื่นบาท /ปีโดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และทั้งสามีและภรรยา สามารถนำค่าลดหย่อนนี้ไปหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 3 หมื่นบาท โดยไม่ต้องหารครึ่ง จากเดิมก่อนหน้านี้กฎหมายเคยกำหนดว่า การหักลดหย่อนบุตรได้ไม่เกิน 3 คน
การแก้ไขกฎหมาย ในเรื่องการลดหย่อนบุตรดังกล่าว ที่จะเริ่มใช้ในปีหน้านั้น จะเป็นอีกครั้งที่กรมสรรพากร เพิ่มแรงจูงใจให้คนมีบุตรมากกว่า 1 คน กล่าวคือ สำหรับบุตรคนแรก จะได้รับการลดหย่อนตามเดิม คือ 3 หมื่นบาท/ปี แต่สำหรับบุตรตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป จะสามารถหักลดหย่อนได้คนละ 6 หมื่นบาท/ปีนอกจากนั้น เมื่อตั้งครรภ์แล้ว และไปฝากท้องกับโรงพยาบาล กรมฯก็จะให้ค่าลดหย่อนในกรณีฝากครรภ์ อีก 6 หมื่นบาท/ปี
อย่างไรก็ดีการเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรให้เพิ่มขึ้นดังกล่าว กรมสรรพากรเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของความพยายามแก้ไขปัญหาจำนวนประชากรของประเทศที่ปรับลดลง เป็นการส่งสัญญาณให้สังคมตระหนักว่า เรื่องดังกล่าวกำลังกลายเป็นปัญหาในสังคมและจำเป็นต้องแก้ไข ส่วนเรื่องภาษีที่ลดลงจากมาตรการดังกล่าวนั้น ยังคำนวณไม่ได้ว่าจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่ามาตรการดังกล่าวจะได้ผลหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับอัตราการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้มีบุตรในปัจจุบันนั้น มีหลักเกณฑ์คือ บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยต้องเข้าเงื่อนไขอาทิ บุตรชอบด้วยกฎหมายหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน,บุตรบุญธรรมหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยบุตรที่นำมาหักลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป และเข้าหลักเกณฑ์ได้แก่ เป็นผู้เยาว์,บุตรมีอายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
อย่างไรก็ดีการนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยนับรวมบัตรที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการลดหย่อนด้วย
ชวนคนไทยปั๊มลูกเพิ่ม สรรพากรชงลดหย่อนภาษีลูกคนที่ 2 สูงสุด 1.2 แสนบาท
ไม่สามารถก๊อบเนื้อหามาได้เพราะเหตุผลทางเทคนิค
ความเดิมตอนที่แล้ว
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/784029
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมแก้ไขประมวลรัษฎากรเพื่อเพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับคนที่มีบุตร เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีบุตรมากขึ้น จากปัจจุบันที่สังคมไทยมีบุตรน้อยลงและกำลังเข้าสู่สังคมคนชรา หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้จะกลายเป็นปัญหาทางสังคม คนวัยแรงงาน จำนวนน้อยต้องแบกรับภาระดูแลคนสูงอายุจำนวนมาก
อธิบดีกรมสรรพากร ยังกล่าวว่า การใช้มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้คนอยากมีลูกมากขึ้นนั้น เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้น ที่จะช่วยเพิ่มจำนวนประชากรในประเทศ แต่จำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆเพื่อรองรับ เช่น เมื่อจำนวนคนเกิดน้อยลง มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต้องปรับตัวอย่างไร เช่น จะต้องปรับหลักสูตรอย่างไร เพื่อรองรับคนในอนาคต หรือด้านการจ้างงาน เมื่อกำลังคนน้อยลง จะต้องรับมืออย่างไร เป็นต้น
“การแก้ไขประมวลรัษฎากร ในเรื่องค่าลดหย่อนบุตร ดังกล่าวนั้น คาดว่า จะสามารถเริ่มใช้ในปีภาษี 2561 เป็นต้นไป ซึ่งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ขณะนี้ ได้ส่งตัวร่างให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พิจารณาแล้ว” นายประสงค์กล่าว
ปัจจุบัน ตามกฎหมายกรมสรรพากร ให้ค่าลดหย่อนบุตร สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรตามสายเลือด ให้ลดหย่อนบุตร ได้ 3 หมื่นบาท /ปีโดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และทั้งสามีและภรรยา สามารถนำค่าลดหย่อนนี้ไปหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 3 หมื่นบาท โดยไม่ต้องหารครึ่ง จากเดิมก่อนหน้านี้กฎหมายเคยกำหนดว่า การหักลดหย่อนบุตรได้ไม่เกิน 3 คน
การแก้ไขกฎหมาย ในเรื่องการลดหย่อนบุตรดังกล่าว ที่จะเริ่มใช้ในปีหน้านั้น จะเป็นอีกครั้งที่กรมสรรพากร เพิ่มแรงจูงใจให้คนมีบุตรมากกว่า 1 คน กล่าวคือ สำหรับบุตรคนแรก จะได้รับการลดหย่อนตามเดิม คือ 3 หมื่นบาท/ปี แต่สำหรับบุตรตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป จะสามารถหักลดหย่อนได้คนละ 6 หมื่นบาท/ปีนอกจากนั้น เมื่อตั้งครรภ์แล้ว และไปฝากท้องกับโรงพยาบาล กรมฯก็จะให้ค่าลดหย่อนในกรณีฝากครรภ์ อีก 6 หมื่นบาท/ปี
อย่างไรก็ดีการเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรให้เพิ่มขึ้นดังกล่าว กรมสรรพากรเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของความพยายามแก้ไขปัญหาจำนวนประชากรของประเทศที่ปรับลดลง เป็นการส่งสัญญาณให้สังคมตระหนักว่า เรื่องดังกล่าวกำลังกลายเป็นปัญหาในสังคมและจำเป็นต้องแก้ไข ส่วนเรื่องภาษีที่ลดลงจากมาตรการดังกล่าวนั้น ยังคำนวณไม่ได้ว่าจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่ามาตรการดังกล่าวจะได้ผลหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับอัตราการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้มีบุตรในปัจจุบันนั้น มีหลักเกณฑ์คือ บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยต้องเข้าเงื่อนไขอาทิ บุตรชอบด้วยกฎหมายหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน,บุตรบุญธรรมหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยบุตรที่นำมาหักลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป และเข้าหลักเกณฑ์ได้แก่ เป็นผู้เยาว์,บุตรมีอายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
อย่างไรก็ดีการนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยนับรวมบัตรที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการลดหย่อนด้วย