สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ในอนาคตผมอาจจะเขียนกระทู้เล่าเรื่องต้นเหตุความขัดแย้งในยูโกสลาเวีย เนื่องจากกระทู้ในคห.1 เล่าเจาะจงแค่สงครามยูโกสลาเวียเมื่อ 20 กว่าปีก่อนแต่ไม่ได้ท้าวความถึงสาเหตุที่สืบเนื่องมาก่อนตั้งแต่ตอนเกิดรัฐชาวสลาฟใต้เมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่จะกลายเป็นยูโกสลาเวียหลังปี 1929 ก็อ่านกระทู้นั้นให้เข้าใจรายละเอียดพื้นฐานของสงครามก่อน
ผมจะแยกหัวข้อลำดับความคร่าวๆก่อนแต่คงอธิบายอะไรมากตอนนี้ไม่ได้เพราะผมติดงานยาวจนถึงราวต้นเดือนหน้า กระทู้ที่ว่าจะเขียนอาจเริ่มได้ราวๆเดือนพฤศจิกา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ราวๆปีค.ศ. 1300 → โครเอเชียเป็นรัฐที่รวมอยู่กับอาณาจักรฮังการี บอสเนียเป็นกึ่งๆ vessal ของฮังการี(ตอนนั้นคนในบอสเนียยังเป็นสลาฟนับถือศาสนาคริสต์อยู่) เซอร์เบียเป็นรัฐของตัวเองอยู่ค่อนทางใต้ลงมาแถวๆโคโซโว มอนเตเนโกร มาซิโดเนีย ปัจจุบัน
ปี 1389 → เซอร์เบียรบแพ้ออตโตมันที่ศึกทุ่งโคโซโว รัฐเซอร์เบียแตก ออตโตมันเข้าไล่ยึดดินแดนของเซอร์เบียมาเรื่อยๆ คาดว่าชาวอัลเบเนียที่ถูกออตโตมันเปลี่ยนให้นับถืออิสลามเริ่มเข้ามาอยู่ในโคโซโวตั้งแต่ช่วงนี้ที่โคโซโวถูกออตโตมันยึดไปจากเซอร์เบีย
ราวปี 1403 → เจ้าผู้ปกครองของเซอร์เบียไปขอความช่วยเหลือจากฮังการี ฮังการีมอบเมืองเบลเกรด(เมืองหลวงปัจจุบันของเซอร์เบียแต่ตอนนั้นเป็นของฮังการี)ให้เจ้าผู้ปกครองเซอร์เบียและตั้งเป็นรัฐ despot ของเซอร์เบีย แต่พอเจ้าองค์นี้สิ้นพระชนม์ ฮังการีก็ยึดเมืองเบลเกรดคืน ลูกหลานซึ่งขึ้นมาเป็นเจ้าครองรัฐ despot ของเซอร์เบียจึงต้องลงไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ Smederevo และแพ้ออตโตมันถูกยึดเอกราชโดยสิ้นเชิงในปี 1459
ราวๆปี 1453 เป็นต้นมา → ออตโตมันเข้ามายึดบอสเนีย ชาวสลาฟในบอสเนียเริ่มถูกเปลี่ยนศาสนาให้นับถืออิสลามแทน
ปี 1521 → เบลเกรดแตก ตั้งแต่ปี 1456 เบลเกรดเป็นเมืองปราการใหญ่ทางชายแดนใต้ของฮังการีที่คอยยันทัพออตโตมันไว้ พอเบลเกรดถูกออตโตมันยึดได้ เพราะฮังการีเองก็มีปัญหาความไม่เป็นปึกแผ่นภายในด้วยทำให้พอเบลเกรดแตกแล้วฮังการีแทบจะล้มพับยันออตโตมันนานๆแบบแต่ก่อนไม่ได้เลย จนปี 1526 กษัตริย์ของฮังการีสิ้นพระชนม์ในศึกกับออตโตมันที่ Mohacs ทำให้ฮังการียิ่งโดนออตโตมันพับสนามยึดดินแดนลึกเข้ามาเรื่อยๆจนยึดบูดา(เมืองหลวงฮังการี)ได้ในปีนั้น จากนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของฮังการีก็ถูกยึดแต่เหลือส่วนทางตะวันตก(รวมถึงบางส่วนของสโลวาเกียในปัจจุบันด้วย)ที่ไม่ถูกยึดแล้วไปเข้ากับออสเตรียโดยยอมให้ออสเตรียเข้ามาปกครอง
หลังปี 1526 → ภูมิภาคสลาโวเนียทางตะวันออกของโครเอเชียถูกออตโตมันยึดเกือบหมด แต่ส่วนแกนกลางโครเอเชียยังรอดอยู่และไปเข้ากับออสเตรียเพื่อร่วมมือกันต้านทัพออตโตมัน(เมืองหลักๆที่เหลือไม่ถูกยึดในตอนนั้นก็เช่น ซาเกร็บ Varazdin Sisak แต่บางเมืองก็รอดเพราะไปอยู่กับอาณาจักร Venetia)
ตั้งแต่ปี 1687 → ออสเตรีย และพันธมิตร(รวมถึงโครเอเชียหรือแม้แต่ชาวเซิร์บที่อพยพหนีออตโตมันไปขออยู่กับดินแดนฝ่ายออสเตรีย) เริ่มรุกกลับตีไล่เอาดินแดนคืนจากออตโตมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ ภูมิภาคสลาโวเนียของโครเอเชียหลุดจากอำนาจออตโตมันได้หมดหลังสนธิสัญญา Karlowitz ปี 1699
ปี 1717 → ทัพออสเตรียรุกหนักและสามารถยึดกระทั่งเบลเกรดจากออตโตมันได้ รวมถึงไล่ตีลงทางใต้จนได้ดินแดนของเซอร์เบียกลับคืนมาก็เยอะ แต่สุดท้ายปี 1739 ออสเตรียรบแพ้ออตโตมัน ต้องเซ็นสนธิสัญญาเบลเกรด และเสียดินแดนฝั่งใต้ของเส้นแบ่งเขตตามแม่น้ำซาว่า-ดานูบให้ออตโตมัน(คือประเทศเซอร์เบียส่วนอื่นที่ไม่ใช่ Vojvodina รวมถึงเมืองเบลเกรดด้วย) ส่วนพื้นที่ที่ออสเตรียยังคงรักษาไว้ได้หลังสนธิสัญญานั้นคือภูมิภาค Vojvodina ของเซอร์เบียในปัจจุบัน
ปี 1804 → เซอร์เบียเริ่มก่อกบฏต่อต้านการถูกปกครองโดยออตโตมันเรียกว่า First Serbian uprising แต่ยังไม่สำเร็จจนต้องก่อ Second Serbian uprising อีกครั้งในปี 1815 จึงจะได้รับสถานะกึ่งเอกราช (คือออตโตมันเอาไม่อยู่ ไม่อยากรบด้วยแล้วแต่ก็ยังไม่ปล่อยอย่างเต็มตัว)
ปี 1849 → เกิดกบฏในออสเตรียคือฮังการีที่ตั้งแต่ราวคริสตศวรรษที่ 16 ที่ยอมให้ออสเตรียปกครองเริ่มอยากได้อำนาจปกครองตัวเองมากขึ้นจึงก่อกบฏรบกับออสเตรีย ดินแดนบางส่วนที่อยู่กับฝ่ายฮังการี(ในนาม)เพราะเคยเป็นส่วนนึงของฮังการีเช่นโครเอเชีย สลาโวเนีย Vojvodina จึงก่อกบฏซ้ำซ้อนโดยประกาศแยกตัวจากฮังการีไปเข้ากับฝ่ายออสเตรีย สุดท้ายฮังการีแพ้แต่ก็ยอมตกลงกันได้จึงได้กลายสภาพเป็นอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี โดยโครเอเชียกับสลาโวเนียรวมตัวกันเป็นโครเอเชีย-สลาโวเนีย ส่วน Vojvodina ก็เป็นดินแดนของชาวเซิร์บที่ไปอยู่ใต้ฮังการี
ปี 1878 → เซอร์เบียไปรบกับออตโตมันอีกครั้งและได้ดินแดนทางใต้เพิ่มมา (แถวเมือง Nis Pirot Leskovac Vranje) สนธิสัญญา San Stefano ทำให้เซอร์เบียได้เอกราชจากออตโตมันโดยสิ้นเชิงแต่ดินแดนแถวโคโซโวก็ยังอยู่ใต้การปกครองของออตโตมันอยู่ดี ในปีเดียวกับออตโตมันยกบอสเนียให้ออสเตรีย ซึ่งไปขัดใจฝั่งเซอร์เบียเพราะเซอร์เบียอยากได้บอสเนียมาเป็นของตัวเองเพราะถือว่าเป็นพวกเดียวกัน(ในสมัยนั้นตามทฤษฎียังไม่มีชนชาติ Bosniak(ชาวสลาฟที่นับถืออิสลาม) พวกเซิร์บกับโครแอทจะมองว่าคนในบอสเนียที่ไม่ใช่แขกเติร์กชัดๆคือคนของตัวเองซึ่งถูกบังคับให้รับศาสนาอิสลาม)
ปี 1912 → เกิดสงครามบัลข่าน ที่ประเทศพวกอดีตดินแดนใต้ปกครองของออตโตมัน (เซอร์เบีย มอนเตเนโกร บัลกาเรีย กรีซ) รวมหัวกันรบกับออตโตมันเพื่อแย่งดินแดนขับไล่ออตโตมันออกไป เซอร์เบียได้มาซีโดเนีย(ซึ่งตอนนั้นเหมือนบอสเนีย คือยังไม่มีชนชาติมาซีโดเนียนแยกออกมาต่างหาก คนมาซีโดเนียคิดว่าตัวเองเป็นเซิร์บไม่ก็บัลกาเรีย)กับโคโซโวมาเป็นของตัวเองในตอนนี้
ผมจะข้ามสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปละกันเพราะคิดว่าน่าจะพอทราบรายละเอียดคร่าวๆแล้ว แต่เหตุการณ์หลังจากจบสงครามต่างหากที่สำคัญ
จบสงครามโลกครั้งที่ 1 → ดินแดนที่มีชนชาติสลาฟใต้ของออสเตรีย-ฮังการี (สโลวีเนีย โครเอเชีย บอสเนีย Vojvodina) ประกาศแยกตัวจากออสเตรีย-ฮังการีออกมาเป็น State of Slovenes, Croats and Serbs ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับ Kingdon of Serbia ที่เป็นรัฐเซอร์เบียในช่วงนั้น แต่บางส่วนของรัฐชาวสลาฟใต้ที่เพิ่งเกิดมานั้นก็แยกออกไปรวมกับรัฐเซอร์เบีย จนในที่สุดก็มีการลงเสียงว่า State of Slovenes, Croats and Serbs จะมีอนาคตยังไง ฝ่ายคนโครแอทกับสโลวีนมีท่าทีค่อนข้างจะอยากได้การปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่มีกลุ่มคนสัญชาติโครเอเชียที่เป็นเชื้อสายเซิร์บ(คือพวกที่มีบรรพบุรุษเป็นคนเซิร์บที่ย้ายหนีออตโตมันมาอยู่โครเอเชีย)ผลักดันให้ไปรวมกับเซอร์เบีย สุดท้ายฝ่ายคนโครแอทกับสโลวีนก็ยอมตกลงไปรวม ทางเซอร์เบียก็ส่งทหารเข้ามารวบอำนาจแบบค่อนข้างไม่มีการขัดขืน รัฐต้นกำเนิดของยูโกสลาเวียจึงกำเนิดขึ้นมาในชื่อ Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes โดยมีราชวงศ์ของเซอร์เบียเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งถัดมาไม่นานในเดือนมกราปี 1919 ก็เกิดกบฏล้มราชวงศ์ของมอนเตเนโกรเพื่อให้มอนเตเนโกรที่เป็นประเทศเอกราชมาก่อนได้เข้ามารวมกับรัฐชาวสลาฟใต้
ปี 1929 → Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes ไม่ค่อยเป็นไปตามที่ฝ่ายชาวโครแอทกับสโลวีนต้องการนักเพราะถูกราชวงศ์ของเซอร์เบียกดขี่ เอาผลประโยชน์ไปบำรุงฝ่ายเมืองเซิร์บมากกว่า กระแสชาตินิยมที่ไม่ต้องการอยู่ใต้อำนาจฝ่ายเซิร์บของชาวสโลวีนกับโครแอทจึงเริ่มแรงขึ้น จนวันนึงในรัฐสภาที่เบลเกรด ระหว่างการประชุมสภา Stjepan Radic ซึ่งเป็นนักการเมืองฝ่ายค่อนข้างชาตินิยมของฝ่ายโครเอเชียถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมาโดยนักการเมืองมอนเตเนโกรเชื้อสายเซิร์บซึ่งเป็นพวกชาตินิยมเซิร์บหัวรุนแรง(เรียกกันว่ากลุ่ม Chetnikซึ่งจะมีบทบาทในภายหลัง) กษัตริย์ของ Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes ในเวลานั้นคือ พระเจ้า Alexander I จึงประกาศยึดอำนาจการปกครองจากสภากลายเป็นระบบสมบูรณายาสิทธิ์เพื่อพยายามระงับความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่อาจจะระเบิดขึ้นได้หากปล่อยไว้ แต่นั่นก็ทำให้ฝ่ายที่ไม่ใช่ชาวเซิร์บยิ่งไม่พอใจมากขึ้นอีก และเริ่มมีองค์กรการเคลื่อนไหวทางชาตินิยมโดยเฉพาะที่เด่นชัดเคือกลุ่ม Ustaša ที่เป็นชาตินิยมโครแอทหัวรุนแรง
ปี 1934 → พระเจ้า Alexander I ถูกปลงพระชนม์ขณะเดินทางไปประกอบพระราชกรณียกิจที่ฝรั่งเศส โดยผู้ลงมือเป็นสมาชิกกลุ่มเคลื่อนไหวทางชาตินิยมของโครเชียรวมมือกับกลุ่มชาตินิยมของมาซีโดเนีย เนื่องจากองค์มกุฏราชกุมาร Peter ยังทรงพระเยาว์เกินจะรับตำแหน่งกษัตริย์ได้ เจ้าชาย Paul ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ พระเจ้า Alexander I จึงดำรงตำแหน่งประมุขผู้สำเร็จราชการแทนองค์มกุฏราชกุมาร
ปี 1941 → ยุโกสลาเวียดำรงความเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้เกือบ 2 ปี แต่ทว่าเดือนมีนาคมปี 1941 เจ้าชาย Paul ถูกบีบบังคับให้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ทำให้เกิดการโค่นล้มอำนาจของพระองค์เพื่อปฏิเสธการเป็นพันธมิตรกับอักษะในเบลเกรด และ องค์มกุฏราชกุมารได้ถูกยกขึ้นมาเป็นพระเจ้า Peter II ปกครองยูโกสลาเวียแทน ฝ่ายอักษะจึงเข้าโจมตียูโกสลาเวียและแยกดินแดนยูโกสลาเวียเป็นส่วนๆแบ่งสรรกันในหมู่ฝ่ายอักษะ(อิตาลี เยอรมัน บัลกาเรีย ฮังการี โรมาเนีย อัลเบเนีย) แต่ที่สำคัญคือยกกลุ่ม Ustaša ให้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลปกครองรัฐหุ่นเชิดโครเอเชีย (Independent State of Croatia)
ปี 1941-1945 ฝ่ายโครเอเชียที่เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีไม่ได้มีเพียงดินแดนโครเอเชียแต่ยังรวมเอาดินแดนทั้งหมดของบอสเนียเข้าไปด้วยเพราะความเชื่อที่ว่าชาวบอสเนียคคือคนเชื้อสายโครแอทที่ถูกบังคับให้รับศาสนาอิสลาม(ดังนั้นช่วงนั้นจึงไม่มีการฆ่าชาวบอสเนียคเพียงเพราะเป็นมุสลิม แต่หากฆ่าจะฆ่าเพราะต่อต้านรัฐบาล Ustaša หรือเพราะสนับสนุนฝ่าย Partizan(กลุ่มลัทธิสังคมนิยมที่ต่อต้านฝ่ายอักษะนำโดยติโต้))
อย่างไรก็ตามในช่วงนี้เองที่ฝ่าย Ustaša นอกจากจะมีอำนาจปกครองตัวเองระดับนึงแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยนาซีจับชาวยิวในยูโกสลาเวียมาสังหารเป็นจำนวนมาก ทว่า Ustaša ยังไล่สังหารชาวเซิร์บที่อยู่ในดินแดนรัฐหุ่นเชิดของตนเป็นหลักแสนคน ค่ายสังหารที่ดังที่สุดของฝ่าย Ustaša อยู่ที่ Jasenovac
ในเวลาเดียวกับ ฝ่ายคนเซิร์บในเซอร์เบียซึ่งถูกนาซียึดไว้และมีการตั้งผู้นำหุ่นเชิดที่เป็นชาวเซิร์บเองมาปกครองใต้ความดูแลของนาซี ก็มีการรวมตัวกันของพวก Chetnik ซึ่งกล่าวอ้างว่าเป็นฝ่ายคนเซิร์บที่จงรักภักดีกับราชวงศ์ของเซอร์เบีย มาก่อสงครามกองโจรกับฝ่าย Ustaša(ซึ่งหมายถึงมาไล่สังหารชาวโครแอทกับบอสเนียคที่อยู่ฝ่าย Ustaša นั่นเอง) แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อกลุ่มคอมมูนิสต์Partizanเริ่มมีอำนาจในดินแดนแถบนี้จากการต่อสู้ต่อต้านฝ่ายอักษะได้เป็นผลสำเร็จ ฝ่าย Chetnik เล็งเห็นว่าพวกคอมมูนิสต์จะเป็นภัยเสียยิ่งกว่าฝ่ายอักษะและตอนหลังจึงได้กลับไปร่วมมือกับฝ่ายอักษะเพื่อต่อต้านกลุ่มคอมมูนิสต์
ช่วงปลายสงครามปี 1944 กลุ่มปาร์ติซานนำโดยติโต้ได้ตกลงร่วมมือกับกองทัพโซเวียตที่จะเข้ามารบเพื่อปลดปล่อยยูโกสลาเวียจากฝ่ายอักษะ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเซอร์เบียถูกปลดปล่อยในปลายปี 1944 แต่บางส่วนที่อยู่ในการปกครองของ Ustaša กว่าจะยึดคืนมาได้ก็ต้องรอไปจนถึงปี 1945
เมื่อฝ่ายอักษะกำลังจะพ่ายแพ้ ฝ่ายคนโครแอทที่สนับสนุน Ustaša จำนวนหลายหมื่นคนจึงรวมตัวกันหนีไปทางเหนือเพื่อหวังจะไปมอบตัวเป็นเชลยสงครามแก่กองกำลังของอังกฤษในออสเตรีย ทว่าเมื่อไปถึง ฝ่ายอังกฤษกลับไม่ยอมรับมอบตัวแต่ส่งคนกลุ่มนี้กลับไปให้ฝ่าย Partizan ซึ่งสุดท้ายแล้ว คนโครแอทกลุ่มนี้ก็ถูกสังหารในฐานะทรยศบ้านเมืองที่ Bleiburg
ส่วนพระเจ้า Peter II หลังประเทศสิ้นสุดภัยสงครามแล้วท่านก็ไม่ได้กลับมาปกครองประเทศเพราะติโต้สั่งล้มระบอบกษัตริย์ ยึดความเป็นพลเมืองและทรัพย์สินของราชวงศ์และห้ามราชวงศ์กลับเข้ามาในยูโกสลาเวีย หลังจากนั้นติโต้แกก็ดำเนินนโยบายกดความเป็นชาตินิยมของทุกกลุ่มชนชาติโดยสิ้นเชิง(ก็แล้วแต่คนจะมองว่านโยบายนี้ดีรึไม่ดี ซึ่งในยูโกเองก็มีทั้งคนชอบและไม่ชอบนโยบายนี้) ใครออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องทางเชื้อชาติก็โดนโยนเข้าคุกหมด
ขอตัดเล่าได้ไม่หมดแค่นี้ โปรดดูหมายเหตุในคห.ย่อย
ผมจะแยกหัวข้อลำดับความคร่าวๆก่อนแต่คงอธิบายอะไรมากตอนนี้ไม่ได้เพราะผมติดงานยาวจนถึงราวต้นเดือนหน้า กระทู้ที่ว่าจะเขียนอาจเริ่มได้ราวๆเดือนพฤศจิกา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ราวๆปีค.ศ. 1300 → โครเอเชียเป็นรัฐที่รวมอยู่กับอาณาจักรฮังการี บอสเนียเป็นกึ่งๆ vessal ของฮังการี(ตอนนั้นคนในบอสเนียยังเป็นสลาฟนับถือศาสนาคริสต์อยู่) เซอร์เบียเป็นรัฐของตัวเองอยู่ค่อนทางใต้ลงมาแถวๆโคโซโว มอนเตเนโกร มาซิโดเนีย ปัจจุบัน
ปี 1389 → เซอร์เบียรบแพ้ออตโตมันที่ศึกทุ่งโคโซโว รัฐเซอร์เบียแตก ออตโตมันเข้าไล่ยึดดินแดนของเซอร์เบียมาเรื่อยๆ คาดว่าชาวอัลเบเนียที่ถูกออตโตมันเปลี่ยนให้นับถืออิสลามเริ่มเข้ามาอยู่ในโคโซโวตั้งแต่ช่วงนี้ที่โคโซโวถูกออตโตมันยึดไปจากเซอร์เบีย
ราวปี 1403 → เจ้าผู้ปกครองของเซอร์เบียไปขอความช่วยเหลือจากฮังการี ฮังการีมอบเมืองเบลเกรด(เมืองหลวงปัจจุบันของเซอร์เบียแต่ตอนนั้นเป็นของฮังการี)ให้เจ้าผู้ปกครองเซอร์เบียและตั้งเป็นรัฐ despot ของเซอร์เบีย แต่พอเจ้าองค์นี้สิ้นพระชนม์ ฮังการีก็ยึดเมืองเบลเกรดคืน ลูกหลานซึ่งขึ้นมาเป็นเจ้าครองรัฐ despot ของเซอร์เบียจึงต้องลงไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ Smederevo และแพ้ออตโตมันถูกยึดเอกราชโดยสิ้นเชิงในปี 1459
ราวๆปี 1453 เป็นต้นมา → ออตโตมันเข้ามายึดบอสเนีย ชาวสลาฟในบอสเนียเริ่มถูกเปลี่ยนศาสนาให้นับถืออิสลามแทน
ปี 1521 → เบลเกรดแตก ตั้งแต่ปี 1456 เบลเกรดเป็นเมืองปราการใหญ่ทางชายแดนใต้ของฮังการีที่คอยยันทัพออตโตมันไว้ พอเบลเกรดถูกออตโตมันยึดได้ เพราะฮังการีเองก็มีปัญหาความไม่เป็นปึกแผ่นภายในด้วยทำให้พอเบลเกรดแตกแล้วฮังการีแทบจะล้มพับยันออตโตมันนานๆแบบแต่ก่อนไม่ได้เลย จนปี 1526 กษัตริย์ของฮังการีสิ้นพระชนม์ในศึกกับออตโตมันที่ Mohacs ทำให้ฮังการียิ่งโดนออตโตมันพับสนามยึดดินแดนลึกเข้ามาเรื่อยๆจนยึดบูดา(เมืองหลวงฮังการี)ได้ในปีนั้น จากนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของฮังการีก็ถูกยึดแต่เหลือส่วนทางตะวันตก(รวมถึงบางส่วนของสโลวาเกียในปัจจุบันด้วย)ที่ไม่ถูกยึดแล้วไปเข้ากับออสเตรียโดยยอมให้ออสเตรียเข้ามาปกครอง
หลังปี 1526 → ภูมิภาคสลาโวเนียทางตะวันออกของโครเอเชียถูกออตโตมันยึดเกือบหมด แต่ส่วนแกนกลางโครเอเชียยังรอดอยู่และไปเข้ากับออสเตรียเพื่อร่วมมือกันต้านทัพออตโตมัน(เมืองหลักๆที่เหลือไม่ถูกยึดในตอนนั้นก็เช่น ซาเกร็บ Varazdin Sisak แต่บางเมืองก็รอดเพราะไปอยู่กับอาณาจักร Venetia)
ตั้งแต่ปี 1687 → ออสเตรีย และพันธมิตร(รวมถึงโครเอเชียหรือแม้แต่ชาวเซิร์บที่อพยพหนีออตโตมันไปขออยู่กับดินแดนฝ่ายออสเตรีย) เริ่มรุกกลับตีไล่เอาดินแดนคืนจากออตโตมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ ภูมิภาคสลาโวเนียของโครเอเชียหลุดจากอำนาจออตโตมันได้หมดหลังสนธิสัญญา Karlowitz ปี 1699
ปี 1717 → ทัพออสเตรียรุกหนักและสามารถยึดกระทั่งเบลเกรดจากออตโตมันได้ รวมถึงไล่ตีลงทางใต้จนได้ดินแดนของเซอร์เบียกลับคืนมาก็เยอะ แต่สุดท้ายปี 1739 ออสเตรียรบแพ้ออตโตมัน ต้องเซ็นสนธิสัญญาเบลเกรด และเสียดินแดนฝั่งใต้ของเส้นแบ่งเขตตามแม่น้ำซาว่า-ดานูบให้ออตโตมัน(คือประเทศเซอร์เบียส่วนอื่นที่ไม่ใช่ Vojvodina รวมถึงเมืองเบลเกรดด้วย) ส่วนพื้นที่ที่ออสเตรียยังคงรักษาไว้ได้หลังสนธิสัญญานั้นคือภูมิภาค Vojvodina ของเซอร์เบียในปัจจุบัน
ปี 1804 → เซอร์เบียเริ่มก่อกบฏต่อต้านการถูกปกครองโดยออตโตมันเรียกว่า First Serbian uprising แต่ยังไม่สำเร็จจนต้องก่อ Second Serbian uprising อีกครั้งในปี 1815 จึงจะได้รับสถานะกึ่งเอกราช (คือออตโตมันเอาไม่อยู่ ไม่อยากรบด้วยแล้วแต่ก็ยังไม่ปล่อยอย่างเต็มตัว)
ปี 1849 → เกิดกบฏในออสเตรียคือฮังการีที่ตั้งแต่ราวคริสตศวรรษที่ 16 ที่ยอมให้ออสเตรียปกครองเริ่มอยากได้อำนาจปกครองตัวเองมากขึ้นจึงก่อกบฏรบกับออสเตรีย ดินแดนบางส่วนที่อยู่กับฝ่ายฮังการี(ในนาม)เพราะเคยเป็นส่วนนึงของฮังการีเช่นโครเอเชีย สลาโวเนีย Vojvodina จึงก่อกบฏซ้ำซ้อนโดยประกาศแยกตัวจากฮังการีไปเข้ากับฝ่ายออสเตรีย สุดท้ายฮังการีแพ้แต่ก็ยอมตกลงกันได้จึงได้กลายสภาพเป็นอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี โดยโครเอเชียกับสลาโวเนียรวมตัวกันเป็นโครเอเชีย-สลาโวเนีย ส่วน Vojvodina ก็เป็นดินแดนของชาวเซิร์บที่ไปอยู่ใต้ฮังการี
ปี 1878 → เซอร์เบียไปรบกับออตโตมันอีกครั้งและได้ดินแดนทางใต้เพิ่มมา (แถวเมือง Nis Pirot Leskovac Vranje) สนธิสัญญา San Stefano ทำให้เซอร์เบียได้เอกราชจากออตโตมันโดยสิ้นเชิงแต่ดินแดนแถวโคโซโวก็ยังอยู่ใต้การปกครองของออตโตมันอยู่ดี ในปีเดียวกับออตโตมันยกบอสเนียให้ออสเตรีย ซึ่งไปขัดใจฝั่งเซอร์เบียเพราะเซอร์เบียอยากได้บอสเนียมาเป็นของตัวเองเพราะถือว่าเป็นพวกเดียวกัน(ในสมัยนั้นตามทฤษฎียังไม่มีชนชาติ Bosniak(ชาวสลาฟที่นับถืออิสลาม) พวกเซิร์บกับโครแอทจะมองว่าคนในบอสเนียที่ไม่ใช่แขกเติร์กชัดๆคือคนของตัวเองซึ่งถูกบังคับให้รับศาสนาอิสลาม)
ปี 1912 → เกิดสงครามบัลข่าน ที่ประเทศพวกอดีตดินแดนใต้ปกครองของออตโตมัน (เซอร์เบีย มอนเตเนโกร บัลกาเรีย กรีซ) รวมหัวกันรบกับออตโตมันเพื่อแย่งดินแดนขับไล่ออตโตมันออกไป เซอร์เบียได้มาซีโดเนีย(ซึ่งตอนนั้นเหมือนบอสเนีย คือยังไม่มีชนชาติมาซีโดเนียนแยกออกมาต่างหาก คนมาซีโดเนียคิดว่าตัวเองเป็นเซิร์บไม่ก็บัลกาเรีย)กับโคโซโวมาเป็นของตัวเองในตอนนี้
ผมจะข้ามสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปละกันเพราะคิดว่าน่าจะพอทราบรายละเอียดคร่าวๆแล้ว แต่เหตุการณ์หลังจากจบสงครามต่างหากที่สำคัญ
จบสงครามโลกครั้งที่ 1 → ดินแดนที่มีชนชาติสลาฟใต้ของออสเตรีย-ฮังการี (สโลวีเนีย โครเอเชีย บอสเนีย Vojvodina) ประกาศแยกตัวจากออสเตรีย-ฮังการีออกมาเป็น State of Slovenes, Croats and Serbs ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับ Kingdon of Serbia ที่เป็นรัฐเซอร์เบียในช่วงนั้น แต่บางส่วนของรัฐชาวสลาฟใต้ที่เพิ่งเกิดมานั้นก็แยกออกไปรวมกับรัฐเซอร์เบีย จนในที่สุดก็มีการลงเสียงว่า State of Slovenes, Croats and Serbs จะมีอนาคตยังไง ฝ่ายคนโครแอทกับสโลวีนมีท่าทีค่อนข้างจะอยากได้การปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่มีกลุ่มคนสัญชาติโครเอเชียที่เป็นเชื้อสายเซิร์บ(คือพวกที่มีบรรพบุรุษเป็นคนเซิร์บที่ย้ายหนีออตโตมันมาอยู่โครเอเชีย)ผลักดันให้ไปรวมกับเซอร์เบีย สุดท้ายฝ่ายคนโครแอทกับสโลวีนก็ยอมตกลงไปรวม ทางเซอร์เบียก็ส่งทหารเข้ามารวบอำนาจแบบค่อนข้างไม่มีการขัดขืน รัฐต้นกำเนิดของยูโกสลาเวียจึงกำเนิดขึ้นมาในชื่อ Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes โดยมีราชวงศ์ของเซอร์เบียเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งถัดมาไม่นานในเดือนมกราปี 1919 ก็เกิดกบฏล้มราชวงศ์ของมอนเตเนโกรเพื่อให้มอนเตเนโกรที่เป็นประเทศเอกราชมาก่อนได้เข้ามารวมกับรัฐชาวสลาฟใต้
ปี 1929 → Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes ไม่ค่อยเป็นไปตามที่ฝ่ายชาวโครแอทกับสโลวีนต้องการนักเพราะถูกราชวงศ์ของเซอร์เบียกดขี่ เอาผลประโยชน์ไปบำรุงฝ่ายเมืองเซิร์บมากกว่า กระแสชาตินิยมที่ไม่ต้องการอยู่ใต้อำนาจฝ่ายเซิร์บของชาวสโลวีนกับโครแอทจึงเริ่มแรงขึ้น จนวันนึงในรัฐสภาที่เบลเกรด ระหว่างการประชุมสภา Stjepan Radic ซึ่งเป็นนักการเมืองฝ่ายค่อนข้างชาตินิยมของฝ่ายโครเอเชียถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมาโดยนักการเมืองมอนเตเนโกรเชื้อสายเซิร์บซึ่งเป็นพวกชาตินิยมเซิร์บหัวรุนแรง(เรียกกันว่ากลุ่ม Chetnikซึ่งจะมีบทบาทในภายหลัง) กษัตริย์ของ Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes ในเวลานั้นคือ พระเจ้า Alexander I จึงประกาศยึดอำนาจการปกครองจากสภากลายเป็นระบบสมบูรณายาสิทธิ์เพื่อพยายามระงับความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่อาจจะระเบิดขึ้นได้หากปล่อยไว้ แต่นั่นก็ทำให้ฝ่ายที่ไม่ใช่ชาวเซิร์บยิ่งไม่พอใจมากขึ้นอีก และเริ่มมีองค์กรการเคลื่อนไหวทางชาตินิยมโดยเฉพาะที่เด่นชัดเคือกลุ่ม Ustaša ที่เป็นชาตินิยมโครแอทหัวรุนแรง
ปี 1934 → พระเจ้า Alexander I ถูกปลงพระชนม์ขณะเดินทางไปประกอบพระราชกรณียกิจที่ฝรั่งเศส โดยผู้ลงมือเป็นสมาชิกกลุ่มเคลื่อนไหวทางชาตินิยมของโครเชียรวมมือกับกลุ่มชาตินิยมของมาซีโดเนีย เนื่องจากองค์มกุฏราชกุมาร Peter ยังทรงพระเยาว์เกินจะรับตำแหน่งกษัตริย์ได้ เจ้าชาย Paul ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ พระเจ้า Alexander I จึงดำรงตำแหน่งประมุขผู้สำเร็จราชการแทนองค์มกุฏราชกุมาร
ปี 1941 → ยุโกสลาเวียดำรงความเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้เกือบ 2 ปี แต่ทว่าเดือนมีนาคมปี 1941 เจ้าชาย Paul ถูกบีบบังคับให้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ทำให้เกิดการโค่นล้มอำนาจของพระองค์เพื่อปฏิเสธการเป็นพันธมิตรกับอักษะในเบลเกรด และ องค์มกุฏราชกุมารได้ถูกยกขึ้นมาเป็นพระเจ้า Peter II ปกครองยูโกสลาเวียแทน ฝ่ายอักษะจึงเข้าโจมตียูโกสลาเวียและแยกดินแดนยูโกสลาเวียเป็นส่วนๆแบ่งสรรกันในหมู่ฝ่ายอักษะ(อิตาลี เยอรมัน บัลกาเรีย ฮังการี โรมาเนีย อัลเบเนีย) แต่ที่สำคัญคือยกกลุ่ม Ustaša ให้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลปกครองรัฐหุ่นเชิดโครเอเชีย (Independent State of Croatia)
ปี 1941-1945 ฝ่ายโครเอเชียที่เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีไม่ได้มีเพียงดินแดนโครเอเชียแต่ยังรวมเอาดินแดนทั้งหมดของบอสเนียเข้าไปด้วยเพราะความเชื่อที่ว่าชาวบอสเนียคคือคนเชื้อสายโครแอทที่ถูกบังคับให้รับศาสนาอิสลาม(ดังนั้นช่วงนั้นจึงไม่มีการฆ่าชาวบอสเนียคเพียงเพราะเป็นมุสลิม แต่หากฆ่าจะฆ่าเพราะต่อต้านรัฐบาล Ustaša หรือเพราะสนับสนุนฝ่าย Partizan(กลุ่มลัทธิสังคมนิยมที่ต่อต้านฝ่ายอักษะนำโดยติโต้))
อย่างไรก็ตามในช่วงนี้เองที่ฝ่าย Ustaša นอกจากจะมีอำนาจปกครองตัวเองระดับนึงแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยนาซีจับชาวยิวในยูโกสลาเวียมาสังหารเป็นจำนวนมาก ทว่า Ustaša ยังไล่สังหารชาวเซิร์บที่อยู่ในดินแดนรัฐหุ่นเชิดของตนเป็นหลักแสนคน ค่ายสังหารที่ดังที่สุดของฝ่าย Ustaša อยู่ที่ Jasenovac
ในเวลาเดียวกับ ฝ่ายคนเซิร์บในเซอร์เบียซึ่งถูกนาซียึดไว้และมีการตั้งผู้นำหุ่นเชิดที่เป็นชาวเซิร์บเองมาปกครองใต้ความดูแลของนาซี ก็มีการรวมตัวกันของพวก Chetnik ซึ่งกล่าวอ้างว่าเป็นฝ่ายคนเซิร์บที่จงรักภักดีกับราชวงศ์ของเซอร์เบีย มาก่อสงครามกองโจรกับฝ่าย Ustaša(ซึ่งหมายถึงมาไล่สังหารชาวโครแอทกับบอสเนียคที่อยู่ฝ่าย Ustaša นั่นเอง) แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อกลุ่มคอมมูนิสต์Partizanเริ่มมีอำนาจในดินแดนแถบนี้จากการต่อสู้ต่อต้านฝ่ายอักษะได้เป็นผลสำเร็จ ฝ่าย Chetnik เล็งเห็นว่าพวกคอมมูนิสต์จะเป็นภัยเสียยิ่งกว่าฝ่ายอักษะและตอนหลังจึงได้กลับไปร่วมมือกับฝ่ายอักษะเพื่อต่อต้านกลุ่มคอมมูนิสต์
ช่วงปลายสงครามปี 1944 กลุ่มปาร์ติซานนำโดยติโต้ได้ตกลงร่วมมือกับกองทัพโซเวียตที่จะเข้ามารบเพื่อปลดปล่อยยูโกสลาเวียจากฝ่ายอักษะ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเซอร์เบียถูกปลดปล่อยในปลายปี 1944 แต่บางส่วนที่อยู่ในการปกครองของ Ustaša กว่าจะยึดคืนมาได้ก็ต้องรอไปจนถึงปี 1945
เมื่อฝ่ายอักษะกำลังจะพ่ายแพ้ ฝ่ายคนโครแอทที่สนับสนุน Ustaša จำนวนหลายหมื่นคนจึงรวมตัวกันหนีไปทางเหนือเพื่อหวังจะไปมอบตัวเป็นเชลยสงครามแก่กองกำลังของอังกฤษในออสเตรีย ทว่าเมื่อไปถึง ฝ่ายอังกฤษกลับไม่ยอมรับมอบตัวแต่ส่งคนกลุ่มนี้กลับไปให้ฝ่าย Partizan ซึ่งสุดท้ายแล้ว คนโครแอทกลุ่มนี้ก็ถูกสังหารในฐานะทรยศบ้านเมืองที่ Bleiburg
ส่วนพระเจ้า Peter II หลังประเทศสิ้นสุดภัยสงครามแล้วท่านก็ไม่ได้กลับมาปกครองประเทศเพราะติโต้สั่งล้มระบอบกษัตริย์ ยึดความเป็นพลเมืองและทรัพย์สินของราชวงศ์และห้ามราชวงศ์กลับเข้ามาในยูโกสลาเวีย หลังจากนั้นติโต้แกก็ดำเนินนโยบายกดความเป็นชาตินิยมของทุกกลุ่มชนชาติโดยสิ้นเชิง(ก็แล้วแต่คนจะมองว่านโยบายนี้ดีรึไม่ดี ซึ่งในยูโกเองก็มีทั้งคนชอบและไม่ชอบนโยบายนี้) ใครออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องทางเชื้อชาติก็โดนโยนเข้าคุกหมด
ขอตัดเล่าได้ไม่หมดแค่นี้ โปรดดูหมายเหตุในคห.ย่อย
เด็กวัดสะพานใหม่ ถูกใจ, LittLe_Boi ถูกใจ, Angioletto_b ถูกใจ, lyonheartz ถูกใจ, นายช่างเลือดเดือด ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 952658 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 888587 ถูกใจ, ckman ถูกใจ, Intimidate หลงรัก, CYMG ถูกใจรวมถึงอีก 2 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
อยากทราบเรื่องราวของอดีตยูโกสลาเวียครับ
ที่เห็นเด่นชัดคือ ความขัดแย้งทาง ดินแดน,ศาสนา จนลุกลามกลายเป็นสงคราม แม้ปัจจุบันก็ยังไม่สงบ
จึงอยากทราบปูมหลังที่มาของดินแดนแถบนี้ครับ