▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
หน้าต่างโลก
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์สากล
อาวุธยุทโธปกรณ์
รัฐศาสตร์
ล้างพันธุ์ยูโกสลาเวีย (ตอนที่ 3)
ข้อมูลต่อไปนี้ข้าพเจ้าสืบค้นฐานข้อมูลจากวิกิพีเดียทั้งภาคภาษาไทยและอังกฤษ รวมถึงเว็บไซต์จากต่างประเทศด้วย หากแต่ข้อมูลและบทความนี้มีข้อผิดพลาดประการใดแล้วไซร้ ข้าพเจ้าจึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
( อ่านบทความตอนที่แล้วตามลิงก์นี้ครับ http://ppantip.com/topic/34978383 )
***บทความต่อไปนี้ มีรูปภาพประกอบซึ่งมีเนื้อหารุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชมด้วยครับ***
(ความเดิมตอนที่แล้ว) .....ยูโกสลาเวียในช่วงสงครามเย็นนี้ ยังคงดำเนินไปด้วยความปกติสุขของคนในสหพันธ์ แต่น้ำนิ่งมันย่อมไหลลึก ขบวนการแบ่งแยกดินแดนยังคงปฏิบัติการเคลื่อนไหวอยู่อย่างลับๆ รอเพียงเวลาที่เหมาะสมมันจะเผยให้เห็นเองว่า แท้จริงแล้วยังมีคนบางกลุ่ม ไม่ต้องการอยู่ใต้อธิปไตยของยูโกสลาเวียเลย.....
ยูโกสลาเวียภายใต้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ของจอมพลตีโต้ ซึ่งได้ประกาศจุดยืนถือเข็มมุ่งจะไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในสงครามแพร่ขยายและต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่กำลังดำเนินไปอย่างระอุในภูมิภาคลาตินอเมริกาและอินโดจีน ยังผลทำให้ยูโกสลาเวียเหินห่างกับกลุ่มประเทศสมาชิกคอมมิวนิสต์อื่นๆ เพราะยูโกสลาเวียเริ่มที่จะสร้างวิธีการของตัวเอง ในแบบสังคมนิยมภายใต้ผู้นำทางการเมืองที่แข็งแกร่งของตีโต้ ดังนั้น สตาลิจึงตัดขาดความช่วยเหลือทางการเงินต่อยูโกสลาเวีย ฝ่ายสหรัฐเองซึ่งดำเนินแผนการมาร์แชล ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ต่อประเทศในยุโรปเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลก สหรัฐจึงมีความพยายามเข้าให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อยูโกสลาเวีย แต่ตีโต้ก็ปฏิเสธความช่วยเหลือดังกล่าว ยังผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มถดถอยลงอย่างหนัก แต่รัฐคอมมิวนิสต์อิสระอื่นๆในสหพันธ์ยูโกสลาเวียทนรับสภาพความย่ำแย่ในสังคมอุดมคติของตีโต้ไม่ไหว จึงขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมหาศาลจาก IMF แต่ถึงกระนั้น พิษเศรษฐกิจยังผลให้ 248 บริษัทประกาศล้มละลาย , ยอมรับเข้าสู่โปรแกรมการชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศอีก 889 องค์กร นำไปสู่การออกจากกว่า 600,000 คนงาน จากแรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด.....
โครงสร้างทางสังคมทรุด ประชากรสิ้นหวัง นี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต !
ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมล้อมยูโกสลาเวียอย่างหนัก ยังผลให้กลุ่มประเทศสมาชิกในสหพันธ์เริ่มเคลื่นไหว ด้วยการเปิดประชุมสภาเพื่อเตรียมบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปรับโครงสร้างภายในประเทศขึ้นใหม่ ให้เอื้ออำนวยต่อการแยกตนเป็นอิสระจากกลุ่มชนชั้นปกครองชาวเซิร์บ รวมถีงกลุ่มนักเรียน นักศึกษาในเบลเกรดและเมืองอื่น ๆ เข้าร่วมการประท้วงเรื่องการถูกกดขี่อิสระภาพ ถือเป็นอีกแรงกระตุ้นหนึ่งที่ผลักดันให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ ในสหพันธ์ยูโกสลาเวียต้องการแยกตัวออกมา
มติในที่ประชุมสภาการปรับโครงสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมุ่งประเด็นการลดอำนาจอิทธิพลของเซอร์เบีย แน่นอนครับ ประเด็นหัวข้อนี้ผ่านความเห็นชอบเป็นที่ยอมรับในปี 1974 ยังผลให้แต่ละรัฐในสหพันธ์ยูโกสลาเวีย เริ่มการปกครองตนเองแบบสาธารณะรัฐมีสิทธิที่จะแยกออกจากยูโกสลาเวีย เรื่องนี้สร้างความตึงเครียดในความเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวเซอร์เบียที่เป็นเจ้าหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์ พวกชาวเซิร์บจึงมองว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับปี 1974 นี้เป็นอันตรายต่อความเป็นเอกภาพของประเทศ
ภายหลังการอสัญกรรมของจอมพลติโต ในวันที่ 4 พฤษภาคม 1980 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของสาธารณรัฐต่างๆ ในยูโกสลาเวีย เริ่มก่อตัวเป็นมรสุมใหญ่ ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นในยูโกสลาเวีย เมื่อมรดกของรัฐธรรมนูญ 1974 ทิ้งไว้ให้แต่เพียงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามมาด้วยความขัดแย้งในสภา เริ่มมีการเรียกร้องการแยกปกครองตนเองของแต่ละสาธารณรัฐ ภาวะการณ์เช่นนี้มันสั่นคลอนอำนาจของเซอร์เบีย และพรรคคอมมิวนิสต์มีวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ ด้วยการสรรหาบุคคลที่สามารถยุติความขัดแย้งให้ได้อย่างเฉียบขาด เพื่อให้คงไว้ซึ่งเอกภาพของรัฐบาลกลางต่อไป.... นาย สลอบอดัน มิลอเชวิช ผู้นำเชื้อสายเซิร์บ ซึ่งมีแนวคิดชาตินิยมจึงได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1989 .
จากการที่สาธารณรัฐต่างๆ ที่รวมกันเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติเป็นปัญหาที่คุกรุ่นมานับพันปี รวมถึงความขัดแย้งที่ดำเนินมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักหลังสงครามโลก ยังผลให้สโลวีเนีย และโครเอเชีย ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ไม่อยู่ภายใต้การปกครองของยูโกสลาเวียอีกต่อไป ภายหลังจากการออกเสียงประชามติทั่วประเทศในสาธารณรัฐทั้งสองเมื่อเดือนธันวาคม 1990 และเดือนพฤษภาคม 1991 ถัดมา มาซิโดเนีย และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ก็ได้ประกาศแยกตัวออกเป็นรัฐเอกราชเช่นเดียวกัน เมื่อเดือนกันยายนและตุลาคม 1991 ตามลำดับ การประกาศเป็นเอกราชดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการณ์ยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ขยายตัวเป็นสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา
.....เมื่อบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียนั้น ชาวเซิร์บซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาไม่พอใจต่อการประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียของชาวบอสเนียน (มุสลิม) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ เนื่องจากเคยดำรงอยู่ในชนชั้นผู้กดขี่ จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกับชาวมุสลิม ภายหลังการแยกตัวออกจากยูโกสลาเวีย ชาวเซิร์บจึงประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐบาลบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา รวมทั้งเป็นพันธมิตรร่วมกับชาวเซิร์บในเมืองคราจินาของโครเอเชีย เพื่อยึดครองพื้นที่และนำดินแดนที่ยึดได้จากชาวมุสลิม ไปผนวกรวมกับดินแดนของเซอร์เบียในยูโกสลาเวีย ในขณะเดียวกัน ชาวโครแอตในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ก็ได้ประกาศยึดครองดินแดนส่วนหนึ่งในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เพื่อตั้งเป็น"รัฐเฮอร์เซก-บอสนา"ขึ้น ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกัน
("เส้นทางของเราคือการญีฮัจ" สงครามนี้มูจาฮีดีนเข้าร่วมกันเพียบครับ ทั้งซาอุฯ อัฟกานิสถาน โดยการสนับสนุนจากอัลกออิดะห์)
.....ต่อมาชาวเซิร์บในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ได้รับการสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยจากรัฐบาลเซอร์เบียในยูโกสลาเวีย สงครามจึงขยายตัวรุนแรง และยืดเยื้อจนกลายเป็นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในที่สุด โดยมีผู้สูญหายและเสียชีวิตกว่า 250,000 คน และประชาชนอีก 2 ล้านคน กลายเป็นผู้อพยพพลัดถิ่น สหประชาชาติจึงได้ร้องขอให้นาโต ส่งกองกำลังเข้าไปในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และเพื่อกดดันให้ทั้งสามฝ่ายยอมร่วมโต๊ะเจรจาสงบศึก ซึ่งทำให้เมื่อปี 1995 สงครามดังกล่าวได้ยุติลง ภายหลังการลงนามในข้อตกลงสันติภาพเดย์ตัน (Dayton Accord) ซึ่งได้มีจัดการลงนามย่อขึ้นที่ฐานทัพอากาศ Wright-Patterson เมืองเดย์ตัน มลรัฐโอไฮโอ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1995 และมีการลงนามอย่างเป็นทางการขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 1995 โดยผู้เข้าร่วมลงนามได้แก่ นาย Bill Clinton ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Jacques Chirac ประธานาธิบดีฝรั่งเศส นาย John Major นายกรัฐมนตรี สหราชอาณาจักรฯ นาย Helmut Kohl นายกรัฐมนตรีเยอรมนี นาย Viktor Chernomyrdin นายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Slobodan Milosevic ประธานาธิบดีเซอร์เบีย ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเซิร์บในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา นาย Franco Tudman ประธานาธิบดีโครเอเชีย และนาย Alija Izetbegovic ประธานาธิบดีบอสเนียฯ.....
ภาพประกอบต่อไปนี้มีเนื้อหารุนแรง โปรดใช้วิจารณญษณในการรับชมด้วยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้