คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ทุกขวรรคที่ ๖
๑. ปริวีมังสนสูตร
(บางส่วน)
[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ
วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่
พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏ
ทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทาง
ชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอัน
ตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น
เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๑๖๖ - ๒๒๗๘. หน้าที่ ๘๙ - ๙๓.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=2166&Z=2278&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=188
(บางส่วน)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเวทนานี้ (เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร) จึงตรัสว่า ภิกษุเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ.
คำว่า กายสฺส เภทา เพราะความแตกแห่งกาย ได้แก่ เพราะความแตกแห่งกาย.
บทว่า ชีวิตปริยาทานา อุทฺธํ ได้แก่ หลังจากการสิ้นชีวิต.
บทว่า อิเธว ในโลกนี้แล คือในโลกนี้แหละ เพราะมาข้างหน้าด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
บทว่า สีตีภวิสฺสนฺติ จักเป็นสิ่งที่เย็น ความว่า เป็นสิ่งที่เว้นจากความดิ้นรนและความกระวนกระวาย จึงชื่อว่า เป็นสิ่งที่เย็น คือมีความไม่เป็นไปเป็นธรรมดา.
บทว่า สรีรานิ ได้แก่ สรีรธาตุ.
บทว่า อวสิสฺสนฺติ จักเหลืออยู่ ได้แก่ จักเป็นสิ่งที่เหลืออยู่.
บทว่า กุมฺภการปากา จากเตาเผาหม้อ ได้แก่ จากที่เป็นที่เผาภาชนะของช่างหม้อ.
บทว่า ปติฏฺฐเปยฺย วางไว้ ได้แก่ ตั้งไว้.
บทว่า กปลฺลานิ กระเบื้องหม้อ ได้แก่ กระเบื้องหม้อที่เนื่องเป็นอันเดียวกันพร้อมทั้งขอบปาก.
บทว่า อวสิสฺเสยฺยุ ํ พึงเหลืออยู่ ได้แก่ พึงตั้งอยู่.
ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีข้อเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังนี้.
ภพ ๓ พึงเห็นเหมือนเตาเผาหม้อที่ไฟติดทั่วแล้ว. พระโยคาวจรเหมือนช่างหม้อ. อรหัตมรรคญาณเหมือนไม้ขอที่ใช้เกี่ยวภาชนะของช่างหม้อออกมาจากเตาเผา. พื้นพระนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เหมือนภาคพื้นที่เรียบเสมอ. เวลาที่พระโยคาวจรผุ้ปรารภวิปัสสนา เห็นแจ้งหมวด ๗ แห่งรูปและหมวด ๗ แห่งอรูป เมื่อกัมมัฎฐานปรากฏคล่องแคล่วแจ่มแจ้งอยู่ ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นเห็นปานนั้น นั่งอยู่บนอาสนะเดียว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ ยกตนขึ้นจากอบาย ๔ แล้วดำรงอยู่ในพระนิพพานอันเป็นอมตะ อันไม่มีปัจจัยปรุงแต่งด้วยอำนาจผลสมาบัติ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ช่างหม้อเอาไม้ขอเกี่ยวหม้อที่ร้อนมาแล้ว วางหม้อไว้บนพื้นที่เรียบเสมอ.
ส่วนพระขีณาสพไม่ปรินิพพานในวันบรรลุพระอรหัต เหมือนหม้อที่ยังร้อนฉะนั้น แต่เมื่อจะสืบต่อประเพณีแห่งศาสนาก็ดำรงอยู่ถึง ๕๐-๖๐ ปี ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะความแตกแห่งอุปาทินนกขันธ์ เพราะถึงจิตดวงสุดท้าย เมื่อนั้น สรีระที่ไม่มีใจครองของพระขีณาสพนั้น จักเหลืออยู่ เหมือนกระเบื้องหม้อแล.
ก็คำว่า สรีรานิ อวสิสฺสนฺตีติ ปชานาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อยกความพยายามของพระขีณาสพขึ้น.
บทว่า วิญฺญาณํ ปญฺญาเยถ วิญญาณพึงปรากฏ ได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณพึงปรากฏ.
บทว่า สาธุ สาธุ ดีละๆ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชื่นชมการพยากรณ์ของพระเถระ.
บทว่า เอวเมตํ ความว่า คำว่า เมื่ออภิสังขาร ๓ อย่างไม่มี ปฏิสนธิวิญญาณก็ไม่ปรากฏเป็นต้น.
คำนั้นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า อธิมุจฺจถ ได้แก่ จงได้ความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือความตกลงใจ.
ข้อว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส นั่นเป็นที่สุดทุกข์ ได้แก่ นี้แหละเป็นที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ คือนี้เป็นข้อกำหนด ได้แก่พระนิพพาน.
จบอรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พระองค์ทรงเปรียบเทียบหม้อเป็นกาย ไออุ่นของหม้อเป็นจิต ผมตีความจากข้อความด้านล่าง
ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ครับ? ขอบคุณล่วงหน้าครับ
คงไม่ใช่อย่างที่ จขกท เข้าใจมั่งครับ
จากพระไตรปิฏก อรรถกถา น่าจะหมายถึง พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ดับขันธ์ปรินิพพาน แต่ ท่านไม่มี ภพใด ๆ ไปเกิดแล้ว (เตาเผาหม้อที่ติดไฟ)
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ทุกขวรรคที่ ๖
๑. ปริวีมังสนสูตร
(บางส่วน)
[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ
วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่
พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏ
ทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทาง
ชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอัน
ตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น
เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๑๖๖ - ๒๒๗๘. หน้าที่ ๘๙ - ๙๓.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=2166&Z=2278&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=188
(บางส่วน)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเวทนานี้ (เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร) จึงตรัสว่า ภิกษุเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ.
คำว่า กายสฺส เภทา เพราะความแตกแห่งกาย ได้แก่ เพราะความแตกแห่งกาย.
บทว่า ชีวิตปริยาทานา อุทฺธํ ได้แก่ หลังจากการสิ้นชีวิต.
บทว่า อิเธว ในโลกนี้แล คือในโลกนี้แหละ เพราะมาข้างหน้าด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
บทว่า สีตีภวิสฺสนฺติ จักเป็นสิ่งที่เย็น ความว่า เป็นสิ่งที่เว้นจากความดิ้นรนและความกระวนกระวาย จึงชื่อว่า เป็นสิ่งที่เย็น คือมีความไม่เป็นไปเป็นธรรมดา.
บทว่า สรีรานิ ได้แก่ สรีรธาตุ.
บทว่า อวสิสฺสนฺติ จักเหลืออยู่ ได้แก่ จักเป็นสิ่งที่เหลืออยู่.
บทว่า กุมฺภการปากา จากเตาเผาหม้อ ได้แก่ จากที่เป็นที่เผาภาชนะของช่างหม้อ.
บทว่า ปติฏฺฐเปยฺย วางไว้ ได้แก่ ตั้งไว้.
บทว่า กปลฺลานิ กระเบื้องหม้อ ได้แก่ กระเบื้องหม้อที่เนื่องเป็นอันเดียวกันพร้อมทั้งขอบปาก.
บทว่า อวสิสฺเสยฺยุ ํ พึงเหลืออยู่ ได้แก่ พึงตั้งอยู่.
ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีข้อเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังนี้.
ภพ ๓ พึงเห็นเหมือนเตาเผาหม้อที่ไฟติดทั่วแล้ว. พระโยคาวจรเหมือนช่างหม้อ. อรหัตมรรคญาณเหมือนไม้ขอที่ใช้เกี่ยวภาชนะของช่างหม้อออกมาจากเตาเผา. พื้นพระนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เหมือนภาคพื้นที่เรียบเสมอ. เวลาที่พระโยคาวจรผุ้ปรารภวิปัสสนา เห็นแจ้งหมวด ๗ แห่งรูปและหมวด ๗ แห่งอรูป เมื่อกัมมัฎฐานปรากฏคล่องแคล่วแจ่มแจ้งอยู่ ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นเห็นปานนั้น นั่งอยู่บนอาสนะเดียว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ ยกตนขึ้นจากอบาย ๔ แล้วดำรงอยู่ในพระนิพพานอันเป็นอมตะ อันไม่มีปัจจัยปรุงแต่งด้วยอำนาจผลสมาบัติ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ช่างหม้อเอาไม้ขอเกี่ยวหม้อที่ร้อนมาแล้ว วางหม้อไว้บนพื้นที่เรียบเสมอ.
ส่วนพระขีณาสพไม่ปรินิพพานในวันบรรลุพระอรหัต เหมือนหม้อที่ยังร้อนฉะนั้น แต่เมื่อจะสืบต่อประเพณีแห่งศาสนาก็ดำรงอยู่ถึง ๕๐-๖๐ ปี ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะความแตกแห่งอุปาทินนกขันธ์ เพราะถึงจิตดวงสุดท้าย เมื่อนั้น สรีระที่ไม่มีใจครองของพระขีณาสพนั้น จักเหลืออยู่ เหมือนกระเบื้องหม้อแล.
ก็คำว่า สรีรานิ อวสิสฺสนฺตีติ ปชานาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อยกความพยายามของพระขีณาสพขึ้น.
บทว่า วิญฺญาณํ ปญฺญาเยถ วิญญาณพึงปรากฏ ได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณพึงปรากฏ.
บทว่า สาธุ สาธุ ดีละๆ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชื่นชมการพยากรณ์ของพระเถระ.
บทว่า เอวเมตํ ความว่า คำว่า เมื่ออภิสังขาร ๓ อย่างไม่มี ปฏิสนธิวิญญาณก็ไม่ปรากฏเป็นต้น.
คำนั้นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า อธิมุจฺจถ ได้แก่ จงได้ความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือความตกลงใจ.
ข้อว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส นั่นเป็นที่สุดทุกข์ ได้แก่ นี้แหละเป็นที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ คือนี้เป็นข้อกำหนด ได้แก่พระนิพพาน.
จบอรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พระองค์ทรงเปรียบเทียบหม้อเป็นกาย ไออุ่นของหม้อเป็นจิต ผมตีความจากข้อความด้านล่าง
ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ครับ? ขอบคุณล่วงหน้าครับ
คงไม่ใช่อย่างที่ จขกท เข้าใจมั่งครับ
จากพระไตรปิฏก อรรถกถา น่าจะหมายถึง พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ดับขันธ์ปรินิพพาน แต่ ท่านไม่มี ภพใด ๆ ไปเกิดแล้ว (เตาเผาหม้อที่ติดไฟ)
แสดงความคิดเห็น
ผมตีความที่พระพุทธเจ้ายกตัวอย่างไว้ถูกรึป่าวครับ?
พระองค์ทรงเปรียบเทียบหม้อเป็นกาย ไออุ่นของหม้อเป็นจิต ผมตีความจากข้อความด้านล่าง
ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ครับ? ขอบคุณล่วงหน้าครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ปริวีมังสนสูตร
[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ
วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่
พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏ
ทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทาง
ชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอัน
ตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น
เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ