[ChaiGimme Film Critics] Inside Out (2015) : ลึกซึ้ง กินใจ สมบูรณ์แบบ สุดยอดภาพยนตร์อนิเมชันแห่งปี 2015
ในวงการภาพยนตร์ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงหนังอนิเมชัน (animated films) เชื่อว่าหลายๆคนคงจะนึกถึงค่ายหนังที่ทำผลงานออกมาได้อย่างน่าประทับใจ นั่นก็คือค่าย พิกซ่าร์ (Pixar) ซึ่งได้สร้างหนังอนิเมชันออกสู่สายตาชาวโลกมากถึง 14 เรื่อง เข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture) ถึง 2 เรื่อง คือ Up และ Toy Story 3 อีกทั้งหนังจากค่ายนี้ยังเข้าชิงออสการ์ในสาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature) มากถึง 9 ครั้ง และสามารถชนะไปได้ถึง 7 ครั้งเลยทีเดียว ในส่วนของรายได้ หนังพิกซ่าร์ก็โกยรายได้เกือบทุกเรื่อง โดยเรื่องที่ทำรายได้สูงที่สุดคือ Toy Story 3 ที่ทำรายได้ทั่วโลก 1,063ล้านเหรียญ ซึ่งถือว่าทั้งหมดเป็นการการันตีคุณภาพของหนังจากพิกซ่าร์ว่า เมื่อใดก็ตามที่หนังพิกซ่าร์ได้ออกสู่สายตาชาวโลก จะต้องได้รับการยอมรับอย่างท่วมท้นแน่นอน...
มาปีนี้ 2015 พิกซ่าร์ก็พร้อมที่จะการันตี และตอกย้ำถึงคุณภาพของหนังอีกครั้ง ด้วยภาพยนตร์อนิเมชันเรื่องล่าสุด “Inside Out” ฝีมือการกำกับของ Pete Docter ผู้กำกับมือดีเจ้าของรางวัลออสการ์ที่เคยสร้างผลงานมาแล้วจากเรื่อง Up และ Monsters, Inc. ที่ตอนนี้เรื่องนี้ออกฉายไปแล้วทั่วโลก สร้างกระแสวิจารณ์และคะแนนวิจารณ์สูงมากๆ โดยได้ 98% จากเว็บมะเขือเน่า (Rottentomatoes) และ 94% จากเว็บ Metacritics อีกทั้งรายได้ยังเป็นที่น่าพอใจ โดยหนังเปิดตัวด้วยรายได้ในอเมริกา 90.4ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นหนังต้นฉบับ (Original film) ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ล้มแชมป์เก่าเรื่อง Avatar ที่เคยทำไว้ 77ล้านเหรียญในปี 2009 และตอนนี้ Inside Out โกยรายได้ไปแล้ว 637ล้านเหรียญ จากทุนสร้าง 175ล้านเหรียญ ซึ่งคาดว่าจะยังทำเงินไปเรื่อยๆ จนสามารถปิดรายได้ในระดับ 800-900ล้านเหรียญเลยทีเดียว
Inside Out เป็นหนังที่พูดถึงระบบปฏิบัติการด้าน “อารมณ์” ที่อยู่ในหัวของเด็กหญิงที่ชื่อ "ไรลีย์” ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 อารมณ์ ได้แก่ Joy (ลั้ลลา), Sadness (เศร้าซึม), Fear (กลั๊วกลัว), Disgust (หยะแหยง) และ Anger (ฉุนเฉียว) ซึ่งทั้งห้าส่วนจะคอยควบคุมด้านอารมณ์ และความทรงจำในเรื่องต่างๆของเธอ โดยจะอยู่ในส่วนที่เรียกว่าศูนย์บัญชาการ จะมีการเก็บความทรงจั้งแบบระยะสั้น ระยะยาว และความทรงจำหลัก เพื่อให้สามารถนำความทรงจำเหล่านี้กลับมาใช้ในบางเวลาที่เธอต้องการมัน แต่เรื่องก็เกิดวุ่นขึ้นมา เมื่อ ลั้ลลาและเศร้าซึมเกิดถูกดูดหลงเข้าไปในส่วนที่เก็บความทรงจำ ทำให้ ณ ตอนนั้นไรลีย์จะมีอารมณ์แค่ 3 ส่วน คือ กลั๊วกลัว, หยะแหยง และ ฉุนเฉียว ซึ่งส่งผลทำให้การดำเนินชีวิตของเธอมีปัญหา ดังนั้น ลั้ลลาและเศร้าซึม จะต้องทำการผ่าวิกฤตและอุปสรรคต่างๆเพื่อกลับไปศูนย์บัญชาการให้ได้ เพื่อให้ไรลีย์มีอารมณ์ครบ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
หนังเปิดเรื่องด้วยการเล่าเรื่องราวตั้งแต่ไรลีย์เกิด ซึ่งจะมีอารมณ์แค่ ลั้ลลา เท่านั้น และเมื่อไรลีย์โตขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีส่วนของอารมณ์มากขึ้นจนครบห้าส่วน และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ ก็จะพบว่าอารมณ์เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น แน่นอนว่าหนังจะเน้นให้เห็นถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ของไรลีย์ ถ้าลองย้อนกลับไปเรื่องก่อนหน้าอย่างชุด Toy Story ที่หนังจะเน้นให้เห็นถึงพัฒนาการของ Andy แต่จะต่างกันที่ Inside Out จะเป็นพัฒนาการภายใน ส่วน Toy Story จะเป็นพัฒนาการภายนอก ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาท หรือแนวหนังของหนังพิกซ่าร์ ที่มักจะถ่ายทอดถึงพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆ แต่ในจะต่างในรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งส่วนตัวมองว่าถือเป็นจุดขายที่ขายได้เรื่อยๆเลยทีเดียว
Inside Out ดำเนินเรื่องในสองส่วนพร้อมกัน คือส่วนของ ลั้ลลาและเศร้าซึม ที่จะต้องกลับไปยังศูนย์บัญชาการให้ได้ และอีกส่วนจะเป็นรูปแบบชีวิตของไรลีย์ที่ขาด ลั้ลลาและเศร้าซึม การวางตำแหน่งในการเล่าเรื่อง การตัดไปตัดมา ทุกอย่างมันลงตัว ไหลลื่น ทำให้คนดูต้องคอยลุ้นตลอดว่า ลั้ลลาและเศร้าซึม จะไปทันมั๊ย แล้วไรลีย์ จะมีชีวิตยังไง?
บท และเนื้อเรื่อง ขอบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่มีจินตนาการล้ำลึก และสร้างสรรค์ที่สุดเรื่องนึงในวงการหนังอนิเมชันเลยทีเดียว หนังมีหลายๆฉากที่เพิ่มเข้ามาให้คนดูทึ่งและตระการตา ซึ่งทุกฉากที่เพิ่มเข้ามาล้วนเป็นจินตนาการในวัยเด็ก ที่หลายๆคนคงเคยผ่านจุดนั้นมา แต่ฉากทำลายภาพและจินตนาการจาก ไร้รูปทรง สามมิติ ไป สองมิติ ฉากนี้เป็นฉากที่ชอบที่สุด เป็นการขายไอเดียที่เจ๋งมากๆ ยอมรับว่าการคนคิดบทจินตนาการล้ำลึกจริงๆ
หนังเพิ่มมิติให้กับเนื้อเรื่องด้วยตัวละคร Bing Bong (ปิ๊งป่อง) เพื่อนในจิตนาการสมัยเด็กของไรลีย์ ซึ่งตัวละครนี้ส่วนตัวมองว่ามีบทบาทเด่นไม่แพ้ ลั้ลลาและเศร้าซึม เลย และที่สำคัญฉากจบของปิ๊งป่อง หนังแสดงให้เห็นเรื่องการถูกลืมเลือน ฉากนี้ถือเป็นฉากที่เศร้าที่สุดในเรื่อง การถูกลืมเลือน เป็นสิ่งที่ทำร้ายจิตใจคนดูมากที่สุด ไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม หนังทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของปิ๊งป่องที่ต่อไปในความทรงจำของไรลีย์จะไม่มีปิ๊งป่องอีกแล้ว ในขณะเดียวกันหนังยังทำให้คนดูรู้สึกได้ถึงความรู้สึกของไรลีย์ ที่ถึงแม้ไรลีย์อาจจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ากำลังสูญเสียความทรงจำของเพื่อนที่ตัวเองรักที่สุดในตอนเด็กไป ใช่...ที่ว่าไลรีย์อาจจะไม่รู้เรื่องนี้ แต่...สำหรับคนดูที่กำลังนั่งดูอยู่ รับรู้ถึงความรู้สึกการสูญเสีย ถึงแม้จะเป็นแค่การสูญเสียจินตนาการ แต่จินตนาการนี้ก็ถือเป็นจุดที่ทำให้ลั้ลลาสามารถผ่านอุปสรรคไปได้.... เศร้าที่สุด
เมื่อลั้ลลาได้พบความจริงบางอย่าง เกี่ยวกับเศร้าซึม จุดๆนี้ หนังแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของคนเรา ว่าในบางทีที่เราตกอยู่ในอารมณ์เศร้า ไร้จุดหมาย ดูโดดเดี่ยว ความรู้สึก Joy อย่างเดียวหรอที่จะมาช่วยเราได้? เพราะในบางครั้งอารมณ์เศร้า จะมาพร้อมกับการปลอบใจ และกำลังใจอันท่วมท้น... และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ ลั้ลลา เข้าใจถึงความรู้สึกและอารมณ์มากขึ้น ในช่วงฉากจบ ความทรงจำของไรลีย์จึงจะประกอบไปด้วยหลายๆอารมณ์ นั่นจึงถือเป็นความทรงจำที่สมบูรณ์แบบ ...
ขอพูดถึงเรื่อง ดนตรีประกอบ (score) สำหรับเรื่องนี้ได้ฝีมือการประพันธ์ของผู้ประพันธ์การันตีรางวัลออสการ์ Michael Giacchino คู่หูของ พีท ดอกเตอร์ จากเรื่อง Up ซึ่งเรื่องนี้ Theme หลักจะออกเป็นแนว Jazz เปียโน่ มีแทร็คที่เด่นที่สุด คือ “Bundle of joy” ใช้เป็นการเล่นโมเลดี้ผ่านเปียโน ที่ประทับใจ และไพเราะหาที่เปรียบไม่ได้จริงๆ ถึงแม้เมโลดี้อาจจะไม่เด่นเท่าเรื่อง Up แต่ส่วนตัวมองว่าดนตรีเรื่องนี้เข้ากับหนังมากๆ ดูออกแนวลึกลับซับซ้อนนิดๆตามอารมณ์ของหนัง
อนาคตในงานประกาศรางวัล เรียกได้ว่าสดใสแน่นอน ส่วนตัวมองว่า อาจจะเข้าชิง 2-3 รางวัลในเวทีออสการ์ นันก็คือ สาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม (100%), สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (90%) และสาขาใหญ่สุดในงานอย่าง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ส่วนตัวมองว่ามีสิทธิ์มากถึง 60-80% เลยทีเดียว เพราะคะแนนวิจารณ์ที่สูง บวกกับกระแสที่มาแรง ก็มีสิทธิ์ลุ้นเข้าชิงแน่นอน ซึ่งถ้าได้เข้าชิง ก็จะเป็นอนิเมชันเรื่องที่ 3 ของพิกซ่าร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลนี้
สุดท้ายนี้... ChaiGimme Film Critics ขอให้คะแนนเรื่องนี้ที่
10/10 สมบูรณ์แบบที่สุด และขอบอกเลยว่า เรื่องนี้เป็นอนิเมชันที่ประจำใจที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ต่อจาก Toy Story 3 ในใจก็หวังให้หนังดีๆอย่างนี้ทำรายได้เยอะๆ และมีบทบาทสำคัญในงานประกาศรางวัลต่างๆ
[ChaiGimme Film Critic] Inside Out (2015) : ลึกซึ้ง กินใจ สมบูรณ์แบบ สุดยอดภาพยนตร์อนิเมชันแห่งปี 2015 (spoil !!)
ในวงการภาพยนตร์ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงหนังอนิเมชัน (animated films) เชื่อว่าหลายๆคนคงจะนึกถึงค่ายหนังที่ทำผลงานออกมาได้อย่างน่าประทับใจ นั่นก็คือค่าย พิกซ่าร์ (Pixar) ซึ่งได้สร้างหนังอนิเมชันออกสู่สายตาชาวโลกมากถึง 14 เรื่อง เข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture) ถึง 2 เรื่อง คือ Up และ Toy Story 3 อีกทั้งหนังจากค่ายนี้ยังเข้าชิงออสการ์ในสาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature) มากถึง 9 ครั้ง และสามารถชนะไปได้ถึง 7 ครั้งเลยทีเดียว ในส่วนของรายได้ หนังพิกซ่าร์ก็โกยรายได้เกือบทุกเรื่อง โดยเรื่องที่ทำรายได้สูงที่สุดคือ Toy Story 3 ที่ทำรายได้ทั่วโลก 1,063ล้านเหรียญ ซึ่งถือว่าทั้งหมดเป็นการการันตีคุณภาพของหนังจากพิกซ่าร์ว่า เมื่อใดก็ตามที่หนังพิกซ่าร์ได้ออกสู่สายตาชาวโลก จะต้องได้รับการยอมรับอย่างท่วมท้นแน่นอน...
มาปีนี้ 2015 พิกซ่าร์ก็พร้อมที่จะการันตี และตอกย้ำถึงคุณภาพของหนังอีกครั้ง ด้วยภาพยนตร์อนิเมชันเรื่องล่าสุด “Inside Out” ฝีมือการกำกับของ Pete Docter ผู้กำกับมือดีเจ้าของรางวัลออสการ์ที่เคยสร้างผลงานมาแล้วจากเรื่อง Up และ Monsters, Inc. ที่ตอนนี้เรื่องนี้ออกฉายไปแล้วทั่วโลก สร้างกระแสวิจารณ์และคะแนนวิจารณ์สูงมากๆ โดยได้ 98% จากเว็บมะเขือเน่า (Rottentomatoes) และ 94% จากเว็บ Metacritics อีกทั้งรายได้ยังเป็นที่น่าพอใจ โดยหนังเปิดตัวด้วยรายได้ในอเมริกา 90.4ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นหนังต้นฉบับ (Original film) ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ล้มแชมป์เก่าเรื่อง Avatar ที่เคยทำไว้ 77ล้านเหรียญในปี 2009 และตอนนี้ Inside Out โกยรายได้ไปแล้ว 637ล้านเหรียญ จากทุนสร้าง 175ล้านเหรียญ ซึ่งคาดว่าจะยังทำเงินไปเรื่อยๆ จนสามารถปิดรายได้ในระดับ 800-900ล้านเหรียญเลยทีเดียว
Inside Out เป็นหนังที่พูดถึงระบบปฏิบัติการด้าน “อารมณ์” ที่อยู่ในหัวของเด็กหญิงที่ชื่อ "ไรลีย์” ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 อารมณ์ ได้แก่ Joy (ลั้ลลา), Sadness (เศร้าซึม), Fear (กลั๊วกลัว), Disgust (หยะแหยง) และ Anger (ฉุนเฉียว) ซึ่งทั้งห้าส่วนจะคอยควบคุมด้านอารมณ์ และความทรงจำในเรื่องต่างๆของเธอ โดยจะอยู่ในส่วนที่เรียกว่าศูนย์บัญชาการ จะมีการเก็บความทรงจั้งแบบระยะสั้น ระยะยาว และความทรงจำหลัก เพื่อให้สามารถนำความทรงจำเหล่านี้กลับมาใช้ในบางเวลาที่เธอต้องการมัน แต่เรื่องก็เกิดวุ่นขึ้นมา เมื่อ ลั้ลลาและเศร้าซึมเกิดถูกดูดหลงเข้าไปในส่วนที่เก็บความทรงจำ ทำให้ ณ ตอนนั้นไรลีย์จะมีอารมณ์แค่ 3 ส่วน คือ กลั๊วกลัว, หยะแหยง และ ฉุนเฉียว ซึ่งส่งผลทำให้การดำเนินชีวิตของเธอมีปัญหา ดังนั้น ลั้ลลาและเศร้าซึม จะต้องทำการผ่าวิกฤตและอุปสรรคต่างๆเพื่อกลับไปศูนย์บัญชาการให้ได้ เพื่อให้ไรลีย์มีอารมณ์ครบ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
หนังเปิดเรื่องด้วยการเล่าเรื่องราวตั้งแต่ไรลีย์เกิด ซึ่งจะมีอารมณ์แค่ ลั้ลลา เท่านั้น และเมื่อไรลีย์โตขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีส่วนของอารมณ์มากขึ้นจนครบห้าส่วน และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ ก็จะพบว่าอารมณ์เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น แน่นอนว่าหนังจะเน้นให้เห็นถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ของไรลีย์ ถ้าลองย้อนกลับไปเรื่องก่อนหน้าอย่างชุด Toy Story ที่หนังจะเน้นให้เห็นถึงพัฒนาการของ Andy แต่จะต่างกันที่ Inside Out จะเป็นพัฒนาการภายใน ส่วน Toy Story จะเป็นพัฒนาการภายนอก ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาท หรือแนวหนังของหนังพิกซ่าร์ ที่มักจะถ่ายทอดถึงพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆ แต่ในจะต่างในรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งส่วนตัวมองว่าถือเป็นจุดขายที่ขายได้เรื่อยๆเลยทีเดียว
Inside Out ดำเนินเรื่องในสองส่วนพร้อมกัน คือส่วนของ ลั้ลลาและเศร้าซึม ที่จะต้องกลับไปยังศูนย์บัญชาการให้ได้ และอีกส่วนจะเป็นรูปแบบชีวิตของไรลีย์ที่ขาด ลั้ลลาและเศร้าซึม การวางตำแหน่งในการเล่าเรื่อง การตัดไปตัดมา ทุกอย่างมันลงตัว ไหลลื่น ทำให้คนดูต้องคอยลุ้นตลอดว่า ลั้ลลาและเศร้าซึม จะไปทันมั๊ย แล้วไรลีย์ จะมีชีวิตยังไง?
บท และเนื้อเรื่อง ขอบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่มีจินตนาการล้ำลึก และสร้างสรรค์ที่สุดเรื่องนึงในวงการหนังอนิเมชันเลยทีเดียว หนังมีหลายๆฉากที่เพิ่มเข้ามาให้คนดูทึ่งและตระการตา ซึ่งทุกฉากที่เพิ่มเข้ามาล้วนเป็นจินตนาการในวัยเด็ก ที่หลายๆคนคงเคยผ่านจุดนั้นมา แต่ฉากทำลายภาพและจินตนาการจาก ไร้รูปทรง สามมิติ ไป สองมิติ ฉากนี้เป็นฉากที่ชอบที่สุด เป็นการขายไอเดียที่เจ๋งมากๆ ยอมรับว่าการคนคิดบทจินตนาการล้ำลึกจริงๆ
หนังเพิ่มมิติให้กับเนื้อเรื่องด้วยตัวละคร Bing Bong (ปิ๊งป่อง) เพื่อนในจิตนาการสมัยเด็กของไรลีย์ ซึ่งตัวละครนี้ส่วนตัวมองว่ามีบทบาทเด่นไม่แพ้ ลั้ลลาและเศร้าซึม เลย และที่สำคัญฉากจบของปิ๊งป่อง หนังแสดงให้เห็นเรื่องการถูกลืมเลือน ฉากนี้ถือเป็นฉากที่เศร้าที่สุดในเรื่อง การถูกลืมเลือน เป็นสิ่งที่ทำร้ายจิตใจคนดูมากที่สุด ไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม หนังทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของปิ๊งป่องที่ต่อไปในความทรงจำของไรลีย์จะไม่มีปิ๊งป่องอีกแล้ว ในขณะเดียวกันหนังยังทำให้คนดูรู้สึกได้ถึงความรู้สึกของไรลีย์ ที่ถึงแม้ไรลีย์อาจจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ากำลังสูญเสียความทรงจำของเพื่อนที่ตัวเองรักที่สุดในตอนเด็กไป ใช่...ที่ว่าไลรีย์อาจจะไม่รู้เรื่องนี้ แต่...สำหรับคนดูที่กำลังนั่งดูอยู่ รับรู้ถึงความรู้สึกการสูญเสีย ถึงแม้จะเป็นแค่การสูญเสียจินตนาการ แต่จินตนาการนี้ก็ถือเป็นจุดที่ทำให้ลั้ลลาสามารถผ่านอุปสรรคไปได้.... เศร้าที่สุด
เมื่อลั้ลลาได้พบความจริงบางอย่าง เกี่ยวกับเศร้าซึม จุดๆนี้ หนังแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของคนเรา ว่าในบางทีที่เราตกอยู่ในอารมณ์เศร้า ไร้จุดหมาย ดูโดดเดี่ยว ความรู้สึก Joy อย่างเดียวหรอที่จะมาช่วยเราได้? เพราะในบางครั้งอารมณ์เศร้า จะมาพร้อมกับการปลอบใจ และกำลังใจอันท่วมท้น... และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ ลั้ลลา เข้าใจถึงความรู้สึกและอารมณ์มากขึ้น ในช่วงฉากจบ ความทรงจำของไรลีย์จึงจะประกอบไปด้วยหลายๆอารมณ์ นั่นจึงถือเป็นความทรงจำที่สมบูรณ์แบบ ...
ขอพูดถึงเรื่อง ดนตรีประกอบ (score) สำหรับเรื่องนี้ได้ฝีมือการประพันธ์ของผู้ประพันธ์การันตีรางวัลออสการ์ Michael Giacchino คู่หูของ พีท ดอกเตอร์ จากเรื่อง Up ซึ่งเรื่องนี้ Theme หลักจะออกเป็นแนว Jazz เปียโน่ มีแทร็คที่เด่นที่สุด คือ “Bundle of joy” ใช้เป็นการเล่นโมเลดี้ผ่านเปียโน ที่ประทับใจ และไพเราะหาที่เปรียบไม่ได้จริงๆ ถึงแม้เมโลดี้อาจจะไม่เด่นเท่าเรื่อง Up แต่ส่วนตัวมองว่าดนตรีเรื่องนี้เข้ากับหนังมากๆ ดูออกแนวลึกลับซับซ้อนนิดๆตามอารมณ์ของหนัง
อนาคตในงานประกาศรางวัล เรียกได้ว่าสดใสแน่นอน ส่วนตัวมองว่า อาจจะเข้าชิง 2-3 รางวัลในเวทีออสการ์ นันก็คือ สาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม (100%), สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (90%) และสาขาใหญ่สุดในงานอย่าง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ส่วนตัวมองว่ามีสิทธิ์มากถึง 60-80% เลยทีเดียว เพราะคะแนนวิจารณ์ที่สูง บวกกับกระแสที่มาแรง ก็มีสิทธิ์ลุ้นเข้าชิงแน่นอน ซึ่งถ้าได้เข้าชิง ก็จะเป็นอนิเมชันเรื่องที่ 3 ของพิกซ่าร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลนี้
สุดท้ายนี้... ChaiGimme Film Critics ขอให้คะแนนเรื่องนี้ที่ 10/10 สมบูรณ์แบบที่สุด และขอบอกเลยว่า เรื่องนี้เป็นอนิเมชันที่ประจำใจที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ต่อจาก Toy Story 3 ในใจก็หวังให้หนังดีๆอย่างนี้ทำรายได้เยอะๆ และมีบทบาทสำคัญในงานประกาศรางวัลต่างๆ