Inside Out คือโปรเจกต์ภาพยนตร์อนิเมชั่นที่มีพล็อตน่าสนใจที่สุดในรอบหลายปีของพิกซาร์ หลังจากที่พวกเขาฟอร์มตกลงไปในช่วงหลัง การทำแต่หนังภาคต่อ หาบทดีๆไม่ได้ทำให้หนังของพิกซาร์ประสบความสำเร็จน้อยลงเมื่อเทียบกับยุคเฟื่องฟูในปี2000-2010ซึ่งหนังทุกเรื่องทำรายได้และกวาดรางวัลเป็นกอบเป็นกำ แถมล่าสุดพวกเขายังมีสตูโออนิเมชั่นหน้าใหม่อย่าง ดรีมเวิร์กสแอนิเมชัน กับ อิลลูมิเนชั่นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ รวมถึงค่ายเก่าในเครือเดียวกันอย่าง วอลต์ดิสนีย์ดิสนีย์ เป็นคู่แข่งที่ต่างก็อยากก้าวขึ้นเป็นเบอร์1ค่ายหนังอนิเมชั่นเช่นกัน
หนังความหวังของพิกซาร์ในปีนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์ 5 ชนิดในตัว ไรลีย์ เด็กสาวร่าเริงสดใสที่ชีวิตถึงคราวพลิกผันเมื่อเธอต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่จากรัฐมินนิโซตาอันสงบสุขมาอยู่ในเมืองใหญ่สุดวุ่นวายอย่างซานฟรานซิสโก บนฐานบัญชาการในหัวสมองของ ไรลีย์ ความสุข มีบทบาทที่สุดในการควบคุมอารมณ์ของเธอ โดยมี ความกลัว , ความโกรธ , ความน่ารังเกียจ และ ความเศร้า เป็นลูกมือ
ต่อมาเกิดปัญหาขึ้นเมื่อ ความเศร้า เผลอไปสัมผัสก้อนความรู้สึกจนเกิดเหตุวุ่นวาย ความสุข กับ ความเศร้า หลุดออกมาจากฐานบัญชาการสมอง เมื่อแผงควบคุมไปอยู่ในมือ ความโกรธ ความกลัว และ ความน่ารังเกียจ บุคลิกของ ไรลีย์ จึงเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ความสุข และ ความเศร้า จึงต้องรีบเดินทางกลับไปแก้ไขสถานการณ์ก่อนที่จะสายเกินไป
บทของ Inside Out ยอดเยี่ยมที่สุด จินตนาการโลกในสมองของเราออกมาได้สร้างสรรค์มากๆ นำเสนอมุมมองของอารมณ์มนุษย์ในแง่มุมที่แปลกใหม่ ส่วนตัวชอบรายละเอียดหลายอย่างทั้ง ก้อนความรู้สึก ความทรงจำหลัก เพื่อนในจินตนาการ และ เกาะความสัมพันธ์ เหล่านี้คือไอเดียเจ๋งๆที่มีดีเอ็นเอของหนังพิกซาร์ยุคต้นๆอยู่เต็มเปี่ยม ทำให้คิดถึงการสร้างโลกของรถในหนัง Car ชีวิตของสัตว์ประหลาดอย่าง Monsters, Inc. และ การถ่ายทอดความรู้สึกของ ของเล่น ใน Toy Story
ที่น่าชื่นชมคือหนังสามารถย่อยเรื่องจิตวิทยาในตัวมนุษย์ออกมาให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังสร้างอารมณ์ร่วมได้ดี เชื่อมโยงหนังให้เข้ากับชีวิตจริงของผู้ชมอย่างแนบเนียน พลอยให้เรานึกภาพว่าในหัวก็มีตัวละครความรู้สึก5ตัวอยู่เหมือนกัน โดยรวมหนังดูจะเหมาะกับผู้ใหม่มากกว่าเด็กด้วยซํ้า
นอกจากนี้บางส่วนของหนังยังมีความเป็น Coming of age (การก้าวพ้นวัย) หน่อยๆในประเด็นการเรียนรู้ของตัวละครเด็กสาวกับตัวละครความสุข ซึ่งเป็นการเติบโตจากภายในมิใช่ภายนอก มีอารมณ์ Nostalgia (โหยหาอดีต) นิดๆเพราะหนังเล่นกับเรื่องความทรงจำคล้ายกับหนัง Toy Story 3 ขณะเดียวกันก็ยังให้ข้อคิดดีๆเกี่ยวกับการจัดการความรู้สึกตัวเอง และการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น
ตัวละครในเรื่องน่ารักมาก แม้ว่าคาแร็กเตอร์ตัวอารมณ์ความรู้สึกดูจะนำมาขายได้ยากสักหน่อย ทว่า พีท ด็อกเตอร์ ผู้กำกับกลับทำให้คนดูหลงรักในทุกๆตัวละคร มากน้อยต่างกันไป ที่ผิดคาดมากคือ ความเศร้า ซึ่งเป็นตัวละครที่ดูติดลบตั้งแต่ชื่อ มันไม่เคยมีความหมาย ไม่เคยเป็นที่ชื่นชอบหรือต้องการมาโดยตลอด กระนั้นพีทได้หามุมมองที่หลายคนไม่เคยเห็นของความเศร้าออกมานำเสนอได้น่ารัก ลึกซึ้ง กินใจ จนในช่วงท้ายมันกลายเป็นตัวละครที่มีผู้ชมชื่นชอบไม่แพ้ ความสุข
Inside Out เล่าเรื่องสนุก มีครบทุกรสไม่ว่าจะ อมยิ้ม หัวเราะร่า ตื่นเต้น ลุ้นระทึก ไปจนถึง นํ้าตาซึม กล้าพูดได้เต็มปากว่าคือหนังอนิเมชั่นที่ดีที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่งของพิกซาร์ และบางทีออสการ์อาจได้ชื่อเจ้าของรางวัลสาขาหนังอนิเมชั่นปีนี้แล้วก็ได้
คะแนน 8.5/10
โดย นกไซเบอร์
เครดิต
https://www.facebook.com/cyberbirdmovie
ตัวอย่างหนัง
http://movie.bugaboo.tv/watch/147435/?link=4
รีวิวหนัง : Inside Out การเดินทางของความรู้สึก
Inside Out คือโปรเจกต์ภาพยนตร์อนิเมชั่นที่มีพล็อตน่าสนใจที่สุดในรอบหลายปีของพิกซาร์ หลังจากที่พวกเขาฟอร์มตกลงไปในช่วงหลัง การทำแต่หนังภาคต่อ หาบทดีๆไม่ได้ทำให้หนังของพิกซาร์ประสบความสำเร็จน้อยลงเมื่อเทียบกับยุคเฟื่องฟูในปี2000-2010ซึ่งหนังทุกเรื่องทำรายได้และกวาดรางวัลเป็นกอบเป็นกำ แถมล่าสุดพวกเขายังมีสตูโออนิเมชั่นหน้าใหม่อย่าง ดรีมเวิร์กสแอนิเมชัน กับ อิลลูมิเนชั่นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ รวมถึงค่ายเก่าในเครือเดียวกันอย่าง วอลต์ดิสนีย์ดิสนีย์ เป็นคู่แข่งที่ต่างก็อยากก้าวขึ้นเป็นเบอร์1ค่ายหนังอนิเมชั่นเช่นกัน
หนังความหวังของพิกซาร์ในปีนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์ 5 ชนิดในตัว ไรลีย์ เด็กสาวร่าเริงสดใสที่ชีวิตถึงคราวพลิกผันเมื่อเธอต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่จากรัฐมินนิโซตาอันสงบสุขมาอยู่ในเมืองใหญ่สุดวุ่นวายอย่างซานฟรานซิสโก บนฐานบัญชาการในหัวสมองของ ไรลีย์ ความสุข มีบทบาทที่สุดในการควบคุมอารมณ์ของเธอ โดยมี ความกลัว , ความโกรธ , ความน่ารังเกียจ และ ความเศร้า เป็นลูกมือ
ต่อมาเกิดปัญหาขึ้นเมื่อ ความเศร้า เผลอไปสัมผัสก้อนความรู้สึกจนเกิดเหตุวุ่นวาย ความสุข กับ ความเศร้า หลุดออกมาจากฐานบัญชาการสมอง เมื่อแผงควบคุมไปอยู่ในมือ ความโกรธ ความกลัว และ ความน่ารังเกียจ บุคลิกของ ไรลีย์ จึงเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ความสุข และ ความเศร้า จึงต้องรีบเดินทางกลับไปแก้ไขสถานการณ์ก่อนที่จะสายเกินไป
บทของ Inside Out ยอดเยี่ยมที่สุด จินตนาการโลกในสมองของเราออกมาได้สร้างสรรค์มากๆ นำเสนอมุมมองของอารมณ์มนุษย์ในแง่มุมที่แปลกใหม่ ส่วนตัวชอบรายละเอียดหลายอย่างทั้ง ก้อนความรู้สึก ความทรงจำหลัก เพื่อนในจินตนาการ และ เกาะความสัมพันธ์ เหล่านี้คือไอเดียเจ๋งๆที่มีดีเอ็นเอของหนังพิกซาร์ยุคต้นๆอยู่เต็มเปี่ยม ทำให้คิดถึงการสร้างโลกของรถในหนัง Car ชีวิตของสัตว์ประหลาดอย่าง Monsters, Inc. และ การถ่ายทอดความรู้สึกของ ของเล่น ใน Toy Story
ที่น่าชื่นชมคือหนังสามารถย่อยเรื่องจิตวิทยาในตัวมนุษย์ออกมาให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังสร้างอารมณ์ร่วมได้ดี เชื่อมโยงหนังให้เข้ากับชีวิตจริงของผู้ชมอย่างแนบเนียน พลอยให้เรานึกภาพว่าในหัวก็มีตัวละครความรู้สึก5ตัวอยู่เหมือนกัน โดยรวมหนังดูจะเหมาะกับผู้ใหม่มากกว่าเด็กด้วยซํ้า
นอกจากนี้บางส่วนของหนังยังมีความเป็น Coming of age (การก้าวพ้นวัย) หน่อยๆในประเด็นการเรียนรู้ของตัวละครเด็กสาวกับตัวละครความสุข ซึ่งเป็นการเติบโตจากภายในมิใช่ภายนอก มีอารมณ์ Nostalgia (โหยหาอดีต) นิดๆเพราะหนังเล่นกับเรื่องความทรงจำคล้ายกับหนัง Toy Story 3 ขณะเดียวกันก็ยังให้ข้อคิดดีๆเกี่ยวกับการจัดการความรู้สึกตัวเอง และการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น
ตัวละครในเรื่องน่ารักมาก แม้ว่าคาแร็กเตอร์ตัวอารมณ์ความรู้สึกดูจะนำมาขายได้ยากสักหน่อย ทว่า พีท ด็อกเตอร์ ผู้กำกับกลับทำให้คนดูหลงรักในทุกๆตัวละคร มากน้อยต่างกันไป ที่ผิดคาดมากคือ ความเศร้า ซึ่งเป็นตัวละครที่ดูติดลบตั้งแต่ชื่อ มันไม่เคยมีความหมาย ไม่เคยเป็นที่ชื่นชอบหรือต้องการมาโดยตลอด กระนั้นพีทได้หามุมมองที่หลายคนไม่เคยเห็นของความเศร้าออกมานำเสนอได้น่ารัก ลึกซึ้ง กินใจ จนในช่วงท้ายมันกลายเป็นตัวละครที่มีผู้ชมชื่นชอบไม่แพ้ ความสุข
Inside Out เล่าเรื่องสนุก มีครบทุกรสไม่ว่าจะ อมยิ้ม หัวเราะร่า ตื่นเต้น ลุ้นระทึก ไปจนถึง นํ้าตาซึม กล้าพูดได้เต็มปากว่าคือหนังอนิเมชั่นที่ดีที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่งของพิกซาร์ และบางทีออสการ์อาจได้ชื่อเจ้าของรางวัลสาขาหนังอนิเมชั่นปีนี้แล้วก็ได้
คะแนน 8.5/10
โดย นกไซเบอร์
เครดิต https://www.facebook.com/cyberbirdmovie
ตัวอย่างหนัง http://movie.bugaboo.tv/watch/147435/?link=4