นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
กล่าวว่า ในฐานะที่ไทยเป็น คู่ค้าสำคัญกับจีน โดยไทยส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วน เช่น ชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ ไปจีนเป็นหลัก ทำให้ไทยได้ประโยชน์ในแง่ที่ปริมาณการส่งออก
ชิ้นส่วนของไทยจะเพิ่มตาม เมื่อศักยภาพการส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นจากที่ลดค่าเงินหยวน แต่ใน
ฐานะที่ไทยกับจีนเป็นผู้ส่งออกสินค้าด้วยกันทั้งคู่ ค่าเงินหยวนที่ลดลงก็สร้างปัญหากับไทยได้เช่น
กันคือ ทั้งไทยและจีนส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เหล็กจำนวนมาก การแข่งขันใน
ตลาดเดียวกันไทยจะเสียเปรียบ ทั้งนี้จะกระทบมากน้อยขึ้นกับค่าเงินบาทไทยด้วยว่าอ่อนตามหยวน
มากน้อยเพียงใด
"ผลกระทบที่จีนประกาศลดค่าเงินหยวนอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเห็นผลใน 1 เดือนหลังจากนี้ เนื่อง
จากคำสั่งซื้อสินค้ามีการเจรจาซื้อขายล่วงหน้าเป็นเดือนๆ และมีการตกลงราคาซื้อขายตามค่าเงิน
ก่อนที่จะมีการประกาศลดค่าเงินหยวน" นายสมเกียรติกล่าว
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า การที่จีนลด
ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องนั้น มองว่าเป็นการยิงกระสุนนัดเดียวแต่เห็นผล 2 ทางคือ เพื่อ
ต้องการให้เงินหยวนได้รับการพิจารณาเป็นหนึ่งในสกุลเงินหลักของโลก โดยการทดสอบกลไก
ตลาดว่าสามารถเคลื่อนไหวและทำงานอย่างเต็มที่ได้หรือไม่ อีกทางหนึ่งคือ อาจเป็นการเดินหมาก
เพื่อเดินเกมสงครามค่าเงินช่วงชิงความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกจากตัวเลขการส่งออก
ที่ชะลอตัว และเป็นแรงผลักดันในการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนด้วย
นายอมรเทพกล่าวว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแบ่งได้ 2 ระยะ คือ ระยะสั้น จะเกิดความผันผวนต่อค่า
เงินในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งไม่น่าเป็นกังวลและน่าจะเห็นเงินหยวนกลับมามีเสถียรภาพได้ในสัปดาห์หน้า
แต่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของจีน หากยังคงชะลอต่อเนื่องก็จำเป็นต้องใช้มาตรการด้านอัตราแลก
เปลี่ยนต่อไป ส่วนระยะยาว หากเงินหยวนอ่อนค่าแรงกว่านี้ อาจส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศอื่นๆ
เดินเกมสงครามค่าเงินได้
"ผลกระทบกับไทย มองว่าอาจจะเกิดกับภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวของไทย โดยจีนอาจ
มาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นจากราคาสินค้าจีนที่ถูกลงในสายตาต่างชาติ ขณะที่สินค้าไทย
ที่ส่งออกไปจีนจะแพงขึ้นจากเงินหยวนที่อ่อนค่าลง จึงกระทบต่อการส่งออกไทยได้แต่ไม่รุนแรง หาก
ปัญหาลากยาวออกไปอาจส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนอาจไม่เติบโตอย่างในอดีต ซึ่งผู้ส่ง
ออกไทยอาจต้องมีการปรับโครงสร้างการส่งออกให้มีสินค้าที่มีประสิทธิภาพแข่งขันกับจีนได้สูงขึ้น
โดยราคาโภคภัณฑ์และราคาสินค้าเกษตรจะได้รับผลกระทบหนัก"
นายอมรเทพกล่าวว่า
สำหรับภาคการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวหนักกว่านี้
และเงินหยวนที่อ่อนค่าแรง จะส่งให้รายได้ภาคการท่องเที่ยวจากชาวจีนที่อาจลดจำนวนลงในครึ่งปีหลัง
ซึ่งเป็นจุดที่น่ากังวล เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์เดียวที่ยังคงขับเคลื่อนได้ในภาวะที่การลง
ทุนของภาครัฐยังล่าช้า และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนยังต่ำอยู่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1439514739
พาณิชย์ ชี้ ′ส่งออก′ไทยเสียเปรียบจีน เอกชน เตือนท่องเที่ยว-ส่งออก′สะเทือน ...มติชนออนไลน์ ..../sao..เหลือ..noi
กล่าวว่า ในฐานะที่ไทยเป็น คู่ค้าสำคัญกับจีน โดยไทยส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วน เช่น ชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ ไปจีนเป็นหลัก ทำให้ไทยได้ประโยชน์ในแง่ที่ปริมาณการส่งออก
ชิ้นส่วนของไทยจะเพิ่มตาม เมื่อศักยภาพการส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นจากที่ลดค่าเงินหยวน แต่ใน
ฐานะที่ไทยกับจีนเป็นผู้ส่งออกสินค้าด้วยกันทั้งคู่ ค่าเงินหยวนที่ลดลงก็สร้างปัญหากับไทยได้เช่น
กันคือ ทั้งไทยและจีนส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เหล็กจำนวนมาก การแข่งขันใน
ตลาดเดียวกันไทยจะเสียเปรียบ ทั้งนี้จะกระทบมากน้อยขึ้นกับค่าเงินบาทไทยด้วยว่าอ่อนตามหยวน
มากน้อยเพียงใด
"ผลกระทบที่จีนประกาศลดค่าเงินหยวนอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเห็นผลใน 1 เดือนหลังจากนี้ เนื่อง
จากคำสั่งซื้อสินค้ามีการเจรจาซื้อขายล่วงหน้าเป็นเดือนๆ และมีการตกลงราคาซื้อขายตามค่าเงิน
ก่อนที่จะมีการประกาศลดค่าเงินหยวน" นายสมเกียรติกล่าว
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า การที่จีนลด
ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องนั้น มองว่าเป็นการยิงกระสุนนัดเดียวแต่เห็นผล 2 ทางคือ เพื่อ
ต้องการให้เงินหยวนได้รับการพิจารณาเป็นหนึ่งในสกุลเงินหลักของโลก โดยการทดสอบกลไก
ตลาดว่าสามารถเคลื่อนไหวและทำงานอย่างเต็มที่ได้หรือไม่ อีกทางหนึ่งคือ อาจเป็นการเดินหมาก
เพื่อเดินเกมสงครามค่าเงินช่วงชิงความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกจากตัวเลขการส่งออก
ที่ชะลอตัว และเป็นแรงผลักดันในการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนด้วย
นายอมรเทพกล่าวว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแบ่งได้ 2 ระยะ คือ ระยะสั้น จะเกิดความผันผวนต่อค่า
เงินในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งไม่น่าเป็นกังวลและน่าจะเห็นเงินหยวนกลับมามีเสถียรภาพได้ในสัปดาห์หน้า
แต่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของจีน หากยังคงชะลอต่อเนื่องก็จำเป็นต้องใช้มาตรการด้านอัตราแลก
เปลี่ยนต่อไป ส่วนระยะยาว หากเงินหยวนอ่อนค่าแรงกว่านี้ อาจส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศอื่นๆ
เดินเกมสงครามค่าเงินได้
"ผลกระทบกับไทย มองว่าอาจจะเกิดกับภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวของไทย โดยจีนอาจ
มาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นจากราคาสินค้าจีนที่ถูกลงในสายตาต่างชาติ ขณะที่สินค้าไทย
ที่ส่งออกไปจีนจะแพงขึ้นจากเงินหยวนที่อ่อนค่าลง จึงกระทบต่อการส่งออกไทยได้แต่ไม่รุนแรง หาก
ปัญหาลากยาวออกไปอาจส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนอาจไม่เติบโตอย่างในอดีต ซึ่งผู้ส่ง
ออกไทยอาจต้องมีการปรับโครงสร้างการส่งออกให้มีสินค้าที่มีประสิทธิภาพแข่งขันกับจีนได้สูงขึ้น
โดยราคาโภคภัณฑ์และราคาสินค้าเกษตรจะได้รับผลกระทบหนัก"
นายอมรเทพกล่าวว่า สำหรับภาคการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวหนักกว่านี้
และเงินหยวนที่อ่อนค่าแรง จะส่งให้รายได้ภาคการท่องเที่ยวจากชาวจีนที่อาจลดจำนวนลงในครึ่งปีหลัง
ซึ่งเป็นจุดที่น่ากังวล เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์เดียวที่ยังคงขับเคลื่อนได้ในภาวะที่การลง
ทุนของภาครัฐยังล่าช้า และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนยังต่ำอยู่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1439514739