มีนักวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ออกมาเผยแพร่ผลการสำรวจวิจัยเรื่องทางเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่างได้จังหวะเวลาพอเหมาะพอดี โดยสรุปว่า การซื้อเสียงเป็นเพียงเรื่องมายาคติ เป็นแนวคิดที่เชื่อกันอย่างผิดๆ และพวกชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของคนในชนบท
ในการอ่านและวิพากษ์งานวิจัยต่อไปนี้ เรา (ผู้อ่านบทความนี้) ควรจะได้ตัดเอาความมีอคติ (bias)ออกไปจากใจเราก่อน เช่น ลืมหรือไม่รู้เสียว่า ผู้วิจัยมีอดีตเป็นอย่างไร หรือผู้วิจัยจะได้พยายาม “ตีกัน” ตัวเองออกไปจากอคติที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะทำให้เรายังไม่ต้องปักใจเชื่อในข้อมูลที่เกิดขึ้นนั้น (ตามหลักกาลามสูตร) และการตั้งคำถามด้วยความสงสัยยาวต่อยาวออกไปจากองค์ความรู้เดิมนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
“ชาวชนบทในสังคมไทยมีความคิดอย่างไรต่อการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องการซื้อเสียง” โดยตั้งประเด็นไว้ว่า การซื้อเสียงมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของชาวชนบทจริงหรือ?
และอาจตั้งสมมุติฐาน (หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ตั้งธงเอาไว้ล่วงหน้า”) ว่า “ชนชั้นกลางบางส่วนคิดว่าสังคมไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ และการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งยังมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และคนส่วนใหญ่ก็ยังใช้เงินซื้อกันได้อยู่”
เมื่อมีผลการวิจัยออกมา จึงได้เกิดมีข้อสรุปว่า “ความคิดดังกล่าวเป็นเพียง...มายาคติ”
หรือแปลความกันง่ายๆ ว่า ที่พวกชนชั้นกลางพากันเชื่อกันว่า คนชนบทยังใช้เงินซื้อเสียงกันได้อยู่อีกนั้น เป็นความเชื่อที่ผิดๆ”
หรือพลิกอีกด้านหนึ่งของเหรียญภาษาวิชาการตามผลการวิจัยนี้ก็จะต้องบอก “ใครที่เคยเชื่อว่า เงินที่ใช้ซื้อเสียงนั้น บัดนี้ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สส. ต่อไปอีกแล้ว”
ข้อสรุปนี้ยังไม่นับรวมที่ได้มีการขยายความออกมาเผยแพร่ในสื่อต่อไปอีกว่า “อย่าได้ดูถูกคนชนบท...” (ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการขยายความของผู้วิจัยเอง และไม่มีในข้อคำถามของการสำรวจวิจัย)
เพราะงานวิจัยใดๆ ก็ตามล้วน ยิ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Explore Research) ด้วยแล้ว ผลการวิจัยนั้นจะแสดงผลให้ปรากฎ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หรือที่เรียกว่า “ปรากฎการณ์” (Phenomena) เท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่อยู่ยงคงกระพันตลอดกาลหรือใช้อ้างอิงได้ตลอดไป
กลุ่มต่อต้านการเลือกตั้งที่กำลังอ้างว่า การเลือกตั้งที่ผ่านๆ มา ไม่มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม มีการซื้อเสียง จึงทำให้พรรคพวกของตัวเองชนะเลือกตั้งไม่ได้ (จึงต้อง “ปฏิรูป” กติกาการเลือกตั้งเสียก่อน -ผู้เขียน)
จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทั่วประเทศ ผู้วิจัย(อาจารย์ผาสุก)ได้เห็นข้อเท็จจริงว่า เงินที่นักการเมืองใช้ซื้อเสียง มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่แจกเงินนั้นน้อยมาก โดยมี “กลุ่มตัวอย่าง” จำนวนเพียง 5% เท่านั้นที่คิดว่าเงินซื้อเสียงมีผลต่อการตัดสินใจ
และยังสำทับอีกว่า “กลุ่มตัวอย่าง” ที่อาศัยอยู่ในภาคกลางและภาคใต้เป็นพื้นที่ที่การซื้อเสียงมีผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด
“ไม่ใช่ภาคอีสาน หรือภาคเหนืออย่างที่ชุมชนชั้นกลางจำนวนหนึ่งคิด”
โดยอาจารย์ผาสุกได้เสนอมุมมองในแง่ของการซื้อเสียงเป็นเรื่องของการซื้อขายสินค้าที่ไม่ได้มีการส่งมอบตัวสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods) ว่า.....
"จริงๆ แล้ว การมองการให้เงินก่อนเลือกตั้งว่าเป็นการ "ซื้อเสียง-ขายเสียง" นั้นก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะในการซื้อขายนั้น ผู้จ่ายเงินย่อมต้องได้รับสินค้า และผู้รับเงินย่อมต้องมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ แต่ในการรับเงินก่อนเลือกตั้งนั้น ผู้รับเงินไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ที่จะต้องมอบ "เสียง" ของตัวเองให้กับผู้ให้เงิน และผลวิจัยก็บ่งชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 95 % ตัดสินใจเลือกโดยที่เงินที่ได้มานั้นไม่มีผลต่อการตัดสินใจ"
ข้อสรุปที่อาจารย์ผาสุกได้เห็นเพิ่มขึ้นมานั้น พบว่า ปัจจัยหรือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเลือกตั้งที่สำคัญที่สุดคือ ความชื่นชอบในแบรนด์ของพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองได้นำเสนอด้วยนโยบายต่างๆ มาสู่การตัดสินใจเลือกตั้งของกลุ่มตัวอย่าง
สันนิษฐานว่า อาจจะได้มีคำถามในการสำรวจวิจัยนี้ได้ถามถึง “ความรู้สึก” ที่มีต่อเงินซื้อเสียงนั้นด้วย ซึ่งได้ระบุอีกด้วยว่า
“เงินซื้อเสียง” นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ไม่ได้เป็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หากแต่เป็นธรรมเนียมแบบไทยๆ อย่างที่เคยทำกันมาตั้งแต่อดีต
นักการเมืองในสมัยนี้ต้องทำกันเป็นธรรมเนียมดังเช่นที่เคยทำกันมาเท่านั้น โดยที่เงินซื้อเสียงมิได้เป็นปัจจัยช่วยให้เอาชนะการเลือกตั้งได้
และยังมีข้อสรุปเพิ่มเติมอีกว่า การให้เงินก่อนเลือกตั้งนั้น เป็นการแสดงน้ำใจที่ขาดไม่ได้ “คล้ายกับการให้เงินแต๊ะเอียในวันตรุษจีน การให้เงินขวัญถุง หรือการให้เงินผ่านประตูเงินประตูทองในพิธีแต่งงาน”
เป็นการให้เชิงวัฒนธรรม เพื่อแสดงน้ำใจ มิใช่เป็นการซื้อขาย(เสียงเลือกตั้ง)
จึงกลายมาเป็นที่มาขอข้อสรุปว่า “ความคิดที่ว่า คนชนบทตัดสินใจลงคะแนนเลือกเพราะถูกซื้อเสียงนั้น เป็นมายาคติของชนชั้นกลาง”
-------- ก็แค่วาทะกรรม แค่มายาคติ ของชนชั้นสูง "ซื้อเสียง" ---------
มีนักวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ออกมาเผยแพร่ผลการสำรวจวิจัยเรื่องทางเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่างได้จังหวะเวลาพอเหมาะพอดี โดยสรุปว่า การซื้อเสียงเป็นเพียงเรื่องมายาคติ เป็นแนวคิดที่เชื่อกันอย่างผิดๆ และพวกชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของคนในชนบท
ในการอ่านและวิพากษ์งานวิจัยต่อไปนี้ เรา (ผู้อ่านบทความนี้) ควรจะได้ตัดเอาความมีอคติ (bias)ออกไปจากใจเราก่อน เช่น ลืมหรือไม่รู้เสียว่า ผู้วิจัยมีอดีตเป็นอย่างไร หรือผู้วิจัยจะได้พยายาม “ตีกัน” ตัวเองออกไปจากอคติที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะทำให้เรายังไม่ต้องปักใจเชื่อในข้อมูลที่เกิดขึ้นนั้น (ตามหลักกาลามสูตร) และการตั้งคำถามด้วยความสงสัยยาวต่อยาวออกไปจากองค์ความรู้เดิมนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
“ชาวชนบทในสังคมไทยมีความคิดอย่างไรต่อการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องการซื้อเสียง” โดยตั้งประเด็นไว้ว่า การซื้อเสียงมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของชาวชนบทจริงหรือ?
และอาจตั้งสมมุติฐาน (หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ตั้งธงเอาไว้ล่วงหน้า”) ว่า “ชนชั้นกลางบางส่วนคิดว่าสังคมไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ และการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งยังมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และคนส่วนใหญ่ก็ยังใช้เงินซื้อกันได้อยู่”
เมื่อมีผลการวิจัยออกมา จึงได้เกิดมีข้อสรุปว่า “ความคิดดังกล่าวเป็นเพียง...มายาคติ”
หรือแปลความกันง่ายๆ ว่า ที่พวกชนชั้นกลางพากันเชื่อกันว่า คนชนบทยังใช้เงินซื้อเสียงกันได้อยู่อีกนั้น เป็นความเชื่อที่ผิดๆ”
หรือพลิกอีกด้านหนึ่งของเหรียญภาษาวิชาการตามผลการวิจัยนี้ก็จะต้องบอก “ใครที่เคยเชื่อว่า เงินที่ใช้ซื้อเสียงนั้น บัดนี้ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สส. ต่อไปอีกแล้ว”
ข้อสรุปนี้ยังไม่นับรวมที่ได้มีการขยายความออกมาเผยแพร่ในสื่อต่อไปอีกว่า “อย่าได้ดูถูกคนชนบท...” (ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการขยายความของผู้วิจัยเอง และไม่มีในข้อคำถามของการสำรวจวิจัย)
เพราะงานวิจัยใดๆ ก็ตามล้วน ยิ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Explore Research) ด้วยแล้ว ผลการวิจัยนั้นจะแสดงผลให้ปรากฎ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หรือที่เรียกว่า “ปรากฎการณ์” (Phenomena) เท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่อยู่ยงคงกระพันตลอดกาลหรือใช้อ้างอิงได้ตลอดไป
กลุ่มต่อต้านการเลือกตั้งที่กำลังอ้างว่า การเลือกตั้งที่ผ่านๆ มา ไม่มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม มีการซื้อเสียง จึงทำให้พรรคพวกของตัวเองชนะเลือกตั้งไม่ได้ (จึงต้อง “ปฏิรูป” กติกาการเลือกตั้งเสียก่อน -ผู้เขียน)
จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทั่วประเทศ ผู้วิจัย(อาจารย์ผาสุก)ได้เห็นข้อเท็จจริงว่า เงินที่นักการเมืองใช้ซื้อเสียง มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่แจกเงินนั้นน้อยมาก โดยมี “กลุ่มตัวอย่าง” จำนวนเพียง 5% เท่านั้นที่คิดว่าเงินซื้อเสียงมีผลต่อการตัดสินใจ
และยังสำทับอีกว่า “กลุ่มตัวอย่าง” ที่อาศัยอยู่ในภาคกลางและภาคใต้เป็นพื้นที่ที่การซื้อเสียงมีผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด
“ไม่ใช่ภาคอีสาน หรือภาคเหนืออย่างที่ชุมชนชั้นกลางจำนวนหนึ่งคิด”
โดยอาจารย์ผาสุกได้เสนอมุมมองในแง่ของการซื้อเสียงเป็นเรื่องของการซื้อขายสินค้าที่ไม่ได้มีการส่งมอบตัวสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods) ว่า.....
"จริงๆ แล้ว การมองการให้เงินก่อนเลือกตั้งว่าเป็นการ "ซื้อเสียง-ขายเสียง" นั้นก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะในการซื้อขายนั้น ผู้จ่ายเงินย่อมต้องได้รับสินค้า และผู้รับเงินย่อมต้องมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ แต่ในการรับเงินก่อนเลือกตั้งนั้น ผู้รับเงินไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ที่จะต้องมอบ "เสียง" ของตัวเองให้กับผู้ให้เงิน และผลวิจัยก็บ่งชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 95 % ตัดสินใจเลือกโดยที่เงินที่ได้มานั้นไม่มีผลต่อการตัดสินใจ"
ข้อสรุปที่อาจารย์ผาสุกได้เห็นเพิ่มขึ้นมานั้น พบว่า ปัจจัยหรือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเลือกตั้งที่สำคัญที่สุดคือ ความชื่นชอบในแบรนด์ของพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองได้นำเสนอด้วยนโยบายต่างๆ มาสู่การตัดสินใจเลือกตั้งของกลุ่มตัวอย่าง
สันนิษฐานว่า อาจจะได้มีคำถามในการสำรวจวิจัยนี้ได้ถามถึง “ความรู้สึก” ที่มีต่อเงินซื้อเสียงนั้นด้วย ซึ่งได้ระบุอีกด้วยว่า
“เงินซื้อเสียง” นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ไม่ได้เป็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หากแต่เป็นธรรมเนียมแบบไทยๆ อย่างที่เคยทำกันมาตั้งแต่อดีต
นักการเมืองในสมัยนี้ต้องทำกันเป็นธรรมเนียมดังเช่นที่เคยทำกันมาเท่านั้น โดยที่เงินซื้อเสียงมิได้เป็นปัจจัยช่วยให้เอาชนะการเลือกตั้งได้
และยังมีข้อสรุปเพิ่มเติมอีกว่า การให้เงินก่อนเลือกตั้งนั้น เป็นการแสดงน้ำใจที่ขาดไม่ได้ “คล้ายกับการให้เงินแต๊ะเอียในวันตรุษจีน การให้เงินขวัญถุง หรือการให้เงินผ่านประตูเงินประตูทองในพิธีแต่งงาน”
เป็นการให้เชิงวัฒนธรรม เพื่อแสดงน้ำใจ มิใช่เป็นการซื้อขาย(เสียงเลือกตั้ง)
จึงกลายมาเป็นที่มาขอข้อสรุปว่า “ความคิดที่ว่า คนชนบทตัดสินใจลงคะแนนเลือกเพราะถูกซื้อเสียงนั้น เป็นมายาคติของชนชั้นกลาง”