คนกลุ่มมิลเลนเนียล จ่อหลุด'ชนชั้นกลาง’ : ผลงานวิจัยโออีซีดี ชี้คนมิลเลนเนียลดำรงชีวิตอย่างยากลำบาก ใกล้หลุดสถานะชนชั้นกลางโลกไปทุกที ผลพวงรายได้ชะงักงัน ค่าครองชีพสูง
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ซึ่งมีสมาชิก 36 ประเทศ สำรวจข้อมูลใน 40 ประเทศ พบว่าคนหนุ่มสาวกลุ่ม มิลเลนเนียล (เกิดระหว่างปี 2523-2533) กำลังดิ้นรนให้เป็นชนชั้นกลาง ส่วนคนที่อยู่ในกลุ่มนี้อยู่แล้วก็พบว่ายากที่จะดำรงสถานะเดิมเอาไว้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากรายได้เติบโตถดถอย ประกอบกับค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและการศึกษาสูงขึ้น
ชนชั้นกลางตามนิยามของโออีซีดี หมายถึงผู้ที่มีรายได้ 75-200% ของรายได้ประชาชาติเฉลี่ย ใน 40 ประเทศพบว่า ประชากรที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ มี 61% เทียบกับคนยุคเบบี้บูม (เกิดระหว่างปี 2485-2507) เป็นชนชั้นกลาง 68% เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปพบว่า มิลเลนเนียลสหรัฐที่เป็นชนชั้นกลางมีเพียง 53% เท่านั้น อังกฤษก็แค่ 59% ขณะที่ญี่ปุ่นมี 69% ออสเตรเลีย 66%
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประชาชนกลุ่มรายได้ปานกลางเพิ่มขึ้นแค่ 0.3% เท่านั้น รายงานตั้งข้อสังเกตว่าตอนนี้ค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่สุดของครัวเรือนชั้นกลาง คิดเป็นราว 1 ใน 3 ของรายได้หลังหักภาษีแล้ว หรือเพิ่มขึ้น 25% จากยุค 90
ส่วนชนชั้นกลางของสหรัฐมีเพียง 51% ถือว่าต่ำกว่าสมาชิกส่วนใหญ่ ของโออีซีดี ขณะที่อัตราส่วนชนชั้นกลางจีนอยู่ที่ 48%
"ชนชั้นกลางทุกวันนี้เปรียบเสมือนเรือล่องลอยอยู่ท่ามกลางกระแสน้ำเชี่ยว รัฐบาลต้องรับฟังปัญหาของประชาชน และคุ้มครอง ส่งเสริมมาตรฐานการดำรงชีวิตของชนชั้นกลาง ซึ่งจะช่วยผลักดันการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน สร้างตาข่ายทางสังคมที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น" นายแองเจล เกอร์เรีย เลขาธิการโออีซีดี สรุป
Source: กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/832415
คนกลุ่มมิลเลนเนียล จ่อหลุด'ชนชั้นกลาง’ : ผลงานวิจัยโออีซีดี ชี้ดำรงชีวิตอย่างยากลำบาก ใกล้หลุดสถานะชนชั้นกลาง
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ซึ่งมีสมาชิก 36 ประเทศ สำรวจข้อมูลใน 40 ประเทศ พบว่าคนหนุ่มสาวกลุ่ม มิลเลนเนียล (เกิดระหว่างปี 2523-2533) กำลังดิ้นรนให้เป็นชนชั้นกลาง ส่วนคนที่อยู่ในกลุ่มนี้อยู่แล้วก็พบว่ายากที่จะดำรงสถานะเดิมเอาไว้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากรายได้เติบโตถดถอย ประกอบกับค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและการศึกษาสูงขึ้น
ชนชั้นกลางตามนิยามของโออีซีดี หมายถึงผู้ที่มีรายได้ 75-200% ของรายได้ประชาชาติเฉลี่ย ใน 40 ประเทศพบว่า ประชากรที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ มี 61% เทียบกับคนยุคเบบี้บูม (เกิดระหว่างปี 2485-2507) เป็นชนชั้นกลาง 68% เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปพบว่า มิลเลนเนียลสหรัฐที่เป็นชนชั้นกลางมีเพียง 53% เท่านั้น อังกฤษก็แค่ 59% ขณะที่ญี่ปุ่นมี 69% ออสเตรเลีย 66%
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประชาชนกลุ่มรายได้ปานกลางเพิ่มขึ้นแค่ 0.3% เท่านั้น รายงานตั้งข้อสังเกตว่าตอนนี้ค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่สุดของครัวเรือนชั้นกลาง คิดเป็นราว 1 ใน 3 ของรายได้หลังหักภาษีแล้ว หรือเพิ่มขึ้น 25% จากยุค 90
ส่วนชนชั้นกลางของสหรัฐมีเพียง 51% ถือว่าต่ำกว่าสมาชิกส่วนใหญ่ ของโออีซีดี ขณะที่อัตราส่วนชนชั้นกลางจีนอยู่ที่ 48%
"ชนชั้นกลางทุกวันนี้เปรียบเสมือนเรือล่องลอยอยู่ท่ามกลางกระแสน้ำเชี่ยว รัฐบาลต้องรับฟังปัญหาของประชาชน และคุ้มครอง ส่งเสริมมาตรฐานการดำรงชีวิตของชนชั้นกลาง ซึ่งจะช่วยผลักดันการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน สร้างตาข่ายทางสังคมที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น" นายแองเจล เกอร์เรีย เลขาธิการโออีซีดี สรุป
Source: กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/832415