11 ปีกว่า สำหรับการเดินทางของ Rosetta นับจากถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2004
เพื่อสำรวจดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ซึ่งเป็นดาวหางคาบสั้น มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 6.5 ปีเท่านั้น
มันจึงเหมาะสมมากสำหรับการสำรวจ
ยาน Rosetta ได้ส่งยานลำเล็กลงจอดบนดาวหาง 67P ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 12 พฤษจิกายน 2014 เกือบ 11 ปี หลังจากที่ถูกส่งขึ้นไป
และนั่นคือครั้งแรกของโลก ที่จะได้สำรวจ เฝ้าดู และติดตาม ดางหางอย่างใกล้ชิด แบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
ภาระกิจหลักของการสำรวจครั้งนี้คือ การสำรวจโครงสร้าง องค์ประกอบ ทั้งทางกายภาพ ทางเคมี รวมถึงเชิงชีวภาพด้วย
ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เราค้นพบคำตอบของปริศนา แหล่งกำเนิดของน้ำบนโลก และบางทีอาจจะรวมไปถึง สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มของโลกนั้น มาจากที่ใด
เนื่องจากดางหางนั้น มีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งเสียส่วนใหญ่
และภาระกิจก็จะเฝาติดตามดาวหางดวงนี้ต่อไป เพื่อดูพฤติกรรมต่างๆที่เกิดกับดาวหางดวงนี้ คล้ายๆกับรายการ Reality โชว์ของดาวหาง
นั่นอาจจะทำให้เราทราบความเป็นไปของดาวหางดวงหนึ่ง และอาจจะพบจุดกำเนิด หรือจุดจบของดาวหางก็เป็นได้
แล้วการเดินทางสู่ Perihelion (จุดที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดของวงโคจร) มีความสำคัญอย่างไร
สำหรับการสำรวจดาวหางนั้น ถ้าในสภาวะปกติ ดางหางจะมีสภาวะเป็นก้อนน้ำแข็ง
ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมากๆ (จากรายงาน อาจจะต่ำถึง -148 องศาเซลเซียส) ทำให้ผิวของดาวหางมีความแข็งมาก
ถ้าหากจะสำรวจ ตรวจสอบองค์ประกอบต่างๆ จะต้องทำการเจาะลงไป ซึ่งยาน Philae ก็มีเครื่องมือนั้น และได้ทำการเจาะลงไปใต้ผิวดาวแล้ว
แต่มีข้อจำกัด ที่ไม่สามารถเจาะได้ลึกมากนัก การที่ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากๆแบบนี้
ผิวน้ำแข็งนั้นจะถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์หลอมกลายเป็นไอออกมา ทำให้ง่ายกว่าในการสำรวจ โครงสร้างลึกๆของดาวหาง
และยังจะได้ติดตามอิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อดาวหาง และสิ่งที่เกิดขึ้นต่อดาวหางอย่างใกล้ชิดแบบสุดๆ
ช่วงเวลานี้จึงเป็นอีกช่วงเวลาสำคัญ ในการสำรวจอวกาศของมนุษยชาติ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถร่วมติดตาม HangOut กันได้จากลิ้งค์ข้างล่างนี้เลยนะครับ
http://blogs.esa.int/rosetta/2015/08/10/join-our-perihelion-hangout/
หรือชมสดใน Youtube นี้ครับ(แต่คาดว่าพรุ่งนี้คงไม่มีใครดู เพราะกระทู้คงหล่นไปแล้ว)
https://www.youtube.com/watch?v=TaBZbc6WGLs
และผู้ที่ต้องการอ่านรายละเอียด (ซึงมีไม่มากเท่าไหร่) สามารถเข้าไปอ่านได้ในกระทู้ก่อนหน้านะครับ
"เชิญเข้ามาร่วมติดตาม และแสดงความยินดี ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบินและอวกาศ กับการลงจอดบนดาวหาง 67P"
http://ppantip.com/topic/32843199
"Philae มาแล้ว ด้วยขุมพลังจากอารยธรรมโบราณ Harris RTX2010"
http://ppantip.com/topic/32945042
"โครงการ Rosetta ช่วยเติมเชื้อเพลิงให้การอภิปราย ในการหาที่มาของมหาสมุทธบนโลก"
http://ppantip.com/topic/32975152
"หรือว่า Philae ได้เล็มหญ้าที่ปากปล่องภูเขาไฟ ระหว่างที่มันกระดอนในครั้งแรก?"
http://ppantip.com/topic/32924432
"Dynex MAS31750 ได้ตื่นขึ้นอีกครั้ง จากการกลับมาของ Rosetta ระหว่างเดินทางจากโลกสู่ดาวหาง 67P"
http://ppantip.com/topic/33004245
[Rosetta] "ดาวหางกำลังสาดน้ำสู่อวกาศ"
http://ppantip.com/topic/33188713
[Rosetta] นับถอยหลัง 18 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่ จุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
เพื่อสำรวจดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ซึ่งเป็นดาวหางคาบสั้น มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 6.5 ปีเท่านั้น
มันจึงเหมาะสมมากสำหรับการสำรวจ
ยาน Rosetta ได้ส่งยานลำเล็กลงจอดบนดาวหาง 67P ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 12 พฤษจิกายน 2014 เกือบ 11 ปี หลังจากที่ถูกส่งขึ้นไป
และนั่นคือครั้งแรกของโลก ที่จะได้สำรวจ เฝ้าดู และติดตาม ดางหางอย่างใกล้ชิด แบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
ภาระกิจหลักของการสำรวจครั้งนี้คือ การสำรวจโครงสร้าง องค์ประกอบ ทั้งทางกายภาพ ทางเคมี รวมถึงเชิงชีวภาพด้วย
ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เราค้นพบคำตอบของปริศนา แหล่งกำเนิดของน้ำบนโลก และบางทีอาจจะรวมไปถึง สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มของโลกนั้น มาจากที่ใด
เนื่องจากดางหางนั้น มีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งเสียส่วนใหญ่
และภาระกิจก็จะเฝาติดตามดาวหางดวงนี้ต่อไป เพื่อดูพฤติกรรมต่างๆที่เกิดกับดาวหางดวงนี้ คล้ายๆกับรายการ Reality โชว์ของดาวหาง
นั่นอาจจะทำให้เราทราบความเป็นไปของดาวหางดวงหนึ่ง และอาจจะพบจุดกำเนิด หรือจุดจบของดาวหางก็เป็นได้
แล้วการเดินทางสู่ Perihelion (จุดที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดของวงโคจร) มีความสำคัญอย่างไร
สำหรับการสำรวจดาวหางนั้น ถ้าในสภาวะปกติ ดางหางจะมีสภาวะเป็นก้อนน้ำแข็ง
ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมากๆ (จากรายงาน อาจจะต่ำถึง -148 องศาเซลเซียส) ทำให้ผิวของดาวหางมีความแข็งมาก
ถ้าหากจะสำรวจ ตรวจสอบองค์ประกอบต่างๆ จะต้องทำการเจาะลงไป ซึ่งยาน Philae ก็มีเครื่องมือนั้น และได้ทำการเจาะลงไปใต้ผิวดาวแล้ว
แต่มีข้อจำกัด ที่ไม่สามารถเจาะได้ลึกมากนัก การที่ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากๆแบบนี้
ผิวน้ำแข็งนั้นจะถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์หลอมกลายเป็นไอออกมา ทำให้ง่ายกว่าในการสำรวจ โครงสร้างลึกๆของดาวหาง
และยังจะได้ติดตามอิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อดาวหาง และสิ่งที่เกิดขึ้นต่อดาวหางอย่างใกล้ชิดแบบสุดๆ
ช่วงเวลานี้จึงเป็นอีกช่วงเวลาสำคัญ ในการสำรวจอวกาศของมนุษยชาติ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถร่วมติดตาม HangOut กันได้จากลิ้งค์ข้างล่างนี้เลยนะครับ
http://blogs.esa.int/rosetta/2015/08/10/join-our-perihelion-hangout/
หรือชมสดใน Youtube นี้ครับ(แต่คาดว่าพรุ่งนี้คงไม่มีใครดู เพราะกระทู้คงหล่นไปแล้ว)
https://www.youtube.com/watch?v=TaBZbc6WGLs
และผู้ที่ต้องการอ่านรายละเอียด (ซึงมีไม่มากเท่าไหร่) สามารถเข้าไปอ่านได้ในกระทู้ก่อนหน้านะครับ
"เชิญเข้ามาร่วมติดตาม และแสดงความยินดี ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบินและอวกาศ กับการลงจอดบนดาวหาง 67P"
http://ppantip.com/topic/32843199
"Philae มาแล้ว ด้วยขุมพลังจากอารยธรรมโบราณ Harris RTX2010"
http://ppantip.com/topic/32945042
"โครงการ Rosetta ช่วยเติมเชื้อเพลิงให้การอภิปราย ในการหาที่มาของมหาสมุทธบนโลก"
http://ppantip.com/topic/32975152
"หรือว่า Philae ได้เล็มหญ้าที่ปากปล่องภูเขาไฟ ระหว่างที่มันกระดอนในครั้งแรก?"
http://ppantip.com/topic/32924432
"Dynex MAS31750 ได้ตื่นขึ้นอีกครั้ง จากการกลับมาของ Rosetta ระหว่างเดินทางจากโลกสู่ดาวหาง 67P"
http://ppantip.com/topic/33004245
[Rosetta] "ดาวหางกำลังสาดน้ำสู่อวกาศ"
http://ppantip.com/topic/33188713