หลังจากที่เราเพิ่งได้เห็นภาพถ่ายเจ้า Philae นอนแอ้งแม้งอยู่ที่ซอกผาบนดาวหาง 67P/C-G กันไปเมื่อต้นเดือนกันยายน
ล่าสุด Rosetta ยานแม่ของ Philae น้อย ก็ถึงเวลาต้องโบกมือลา ทิ้งตัวตามไปนอนหลับใหลบนดาวหางดวงนี้บ้างแล้วค่ะ
วันนี้เลยเอาภาพถ่ายในวันสุดท้ายของมันมาให้ชม ปิดตำนานยานสำรวจติดตามดาวหางลำแรกในประวัติศาสตร์อย่างงดงาม
ก่อนอื่นมาชมคลิปวิดีโอบอกเล่าช่วงเวลาสุดท้ายของ Rosetta ก่อนเลย.. T^T เอาซะซึ้ง
Rosetta โบกมือลาเราไปเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมาค่ะ เมื่อทีมปฏิบัติการโครงการ Rosetta ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA)
ได้บังคับให้มันทิ้งตัวลงสู่ดาวหาง 67P เพราะยานอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก ๆ ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์น้อยลงเรื่อย ๆ แล้ว
และการทิ้งตัวลงสู่ดาวหางนี้ ก็ทำให้มันได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซ ฝุ่น และสภาพดาวหางในระยะใกล้พื้นผิวดาวมาศึกษา
รวมถึงได้ถ่ายภาพในระยะที่ใกล้ที่สุดมาด้วย ซึ่ง Rosetta ก็ได้ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยมจนนาทีสุดท้ายของมันเลยทีเดียว
:: ภาพถ่ายส่งท้ายจากยาน Rosetta ::
ESA เปิดเผยภาพถ่ายดาวหาง 67P จากระยะต่าง ๆ ขณะที่ยาน Rosetta กำลังเคลื่อนตัวสู่พื้นผิวดาวหางในวันสุดท้าย
ก็.. เอามาให้ชมส่งท้ายส่วนหนึ่งค่ะ เป็นภาพจากระยะไกลไปจนถึงภาพถ่ายสุดท้ายที่ยานถ่ายได้
22.9 กิโลเมตร
19.4 กิโลเมตร
16 กิโลเมตร
8.9 กิโลเมตร
5.7 กิโลเมตร
1.2 กิโลเมตร
และนี่คือภาพสุดท้ายจากยานที่ระยะประมาณ 20 เมตร ก่อนชนพื้นผิวดาวหาง 67P
หลับให้สบายนะ Rosetta ตลอด 12 ปีที่ผ่านมาเจ้ายอดเยี่ยมมาก !!
:: Rosetta in Numbers ::
Rosetta ออกเดินทางจากโลกเมื่อเดือนมีนาคม 2004 และถึงจุดหมายเข้าสู่วงโคจรดาวหาง 67P เดือนสิงหาคม 2014
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ยานก็ได้ส่งเจ้า Philae น้อยลงจอดบนพื้นผิวดาวหาง มันลงจอดบนพื้นผิวได้
แต่ดันพลาดไปตกลงที่มุมอับแสงอาทิตย์ ทำให้มันไม่สามารถชาร์จพลังงานให้กับตัวเองได้ และสัญญาณได้หายไป
เพียง 2 วันหลังจากนั้น.. และถึงแม้ว่ามันจะฟื้นขึ้นมาได้ในระยะสั้น ๆ ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2015
แต่ที่สุดแล้วก็ไม่ได้รับสัญญาณใด ๆ จาก Philae อีกเลย
ทีมปฏิบัติการ Rosetta ได้ตัดสินใจปิดระบบติดต่อระหว่าง Philae กับ Rosetta เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
เพื่อประหยัดพลังงานเตรียมตัวสู่การสิ้นสุดภารกิจ กระทั่งวันที่ 30 กันยายน Rosetta ก็ยุติภารกิจลงในที่สุด
ซึ่งแม้ว่าภารกิจนี้จะพบกับอุปสรรคอย่างที่ทราบกัน แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จมากค่ะ เพราะตลอดภารกิจ
มันก็ส่งข้อมูลที่น่าสนใจมาให้เราได้เห็นได้ศึกษามากมายเลยทีเดียว
ลาก่อน Rosetta: ภาพถ่ายสุดท้ายก่อนหลับใหลตลอดไปบนดาวหาง 67P
ล่าสุด Rosetta ยานแม่ของ Philae น้อย ก็ถึงเวลาต้องโบกมือลา ทิ้งตัวตามไปนอนหลับใหลบนดาวหางดวงนี้บ้างแล้วค่ะ
วันนี้เลยเอาภาพถ่ายในวันสุดท้ายของมันมาให้ชม ปิดตำนานยานสำรวจติดตามดาวหางลำแรกในประวัติศาสตร์อย่างงดงาม
ก่อนอื่นมาชมคลิปวิดีโอบอกเล่าช่วงเวลาสุดท้ายของ Rosetta ก่อนเลย.. T^T เอาซะซึ้ง
Rosetta โบกมือลาเราไปเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมาค่ะ เมื่อทีมปฏิบัติการโครงการ Rosetta ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA)
ได้บังคับให้มันทิ้งตัวลงสู่ดาวหาง 67P เพราะยานอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก ๆ ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์น้อยลงเรื่อย ๆ แล้ว
และการทิ้งตัวลงสู่ดาวหางนี้ ก็ทำให้มันได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซ ฝุ่น และสภาพดาวหางในระยะใกล้พื้นผิวดาวมาศึกษา
รวมถึงได้ถ่ายภาพในระยะที่ใกล้ที่สุดมาด้วย ซึ่ง Rosetta ก็ได้ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยมจนนาทีสุดท้ายของมันเลยทีเดียว
:: ภาพถ่ายส่งท้ายจากยาน Rosetta ::
ESA เปิดเผยภาพถ่ายดาวหาง 67P จากระยะต่าง ๆ ขณะที่ยาน Rosetta กำลังเคลื่อนตัวสู่พื้นผิวดาวหางในวันสุดท้าย
ก็.. เอามาให้ชมส่งท้ายส่วนหนึ่งค่ะ เป็นภาพจากระยะไกลไปจนถึงภาพถ่ายสุดท้ายที่ยานถ่ายได้
22.9 กิโลเมตร
19.4 กิโลเมตร
16 กิโลเมตร
8.9 กิโลเมตร
5.7 กิโลเมตร
1.2 กิโลเมตร
และนี่คือภาพสุดท้ายจากยานที่ระยะประมาณ 20 เมตร ก่อนชนพื้นผิวดาวหาง 67P
หลับให้สบายนะ Rosetta ตลอด 12 ปีที่ผ่านมาเจ้ายอดเยี่ยมมาก !!
:: Rosetta in Numbers ::
Rosetta ออกเดินทางจากโลกเมื่อเดือนมีนาคม 2004 และถึงจุดหมายเข้าสู่วงโคจรดาวหาง 67P เดือนสิงหาคม 2014
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ยานก็ได้ส่งเจ้า Philae น้อยลงจอดบนพื้นผิวดาวหาง มันลงจอดบนพื้นผิวได้
แต่ดันพลาดไปตกลงที่มุมอับแสงอาทิตย์ ทำให้มันไม่สามารถชาร์จพลังงานให้กับตัวเองได้ และสัญญาณได้หายไป
เพียง 2 วันหลังจากนั้น.. และถึงแม้ว่ามันจะฟื้นขึ้นมาได้ในระยะสั้น ๆ ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2015
แต่ที่สุดแล้วก็ไม่ได้รับสัญญาณใด ๆ จาก Philae อีกเลย
ทีมปฏิบัติการ Rosetta ได้ตัดสินใจปิดระบบติดต่อระหว่าง Philae กับ Rosetta เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
เพื่อประหยัดพลังงานเตรียมตัวสู่การสิ้นสุดภารกิจ กระทั่งวันที่ 30 กันยายน Rosetta ก็ยุติภารกิจลงในที่สุด
ซึ่งแม้ว่าภารกิจนี้จะพบกับอุปสรรคอย่างที่ทราบกัน แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จมากค่ะ เพราะตลอดภารกิจ
มันก็ส่งข้อมูลที่น่าสนใจมาให้เราได้เห็นได้ศึกษามากมายเลยทีเดียว