เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา
เวลา 3 ทุ่ม 52 นาที (เวลาประเทศไทย)
sample return capsule ของยาน OSIRIS-REx
ได้แยกตัวออกจากยาน และตกลงสู่พื้นโลก
(ตามที่ program ไว้) ด้วยความเรียบร้อย
sample return capsule นี้
หนักประมาณ 42 กิโลกรัม ข้างในบรรจุ
ตัวอย่างหิน และ ดินประมาณ 250 กรัม
ของดาวเคราะห์น้อย Bennu
ภาพการซ้อมการเก็บกู้ capsule ของ NASA
เมื่อ 18 กรกฎาคม 2023 นี่คือสีเดิมของ capsule
(เทียบกับ capsule ที่ไหม้จนดำในมุมซ้ายบน)
capsule นี้ ได้แยกตัวออกมาจาก OSIRIS-REx
ขณะ OSIRIS-REx โคจรเฉียดผ่านโลก
capsule ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก
ด้วยความเร็วประมาณ 12.3 km/sec
ทำให้มันร้อนจัดเป็นลูกไฟ
ร่มลดความเร็วได้ดีด และกางออก
เพื่อชะลอ capsule ให้ลงสู่พื้นอย่างนุ่มนวล
ด้วยความเร็วประมาณ 17 km/h
หลังจากนั้น ทาง NASA ได้นำ capsule
ไปยังห้องปลอดเชื้อชั่วคราว
ที่ Utah Test and Training Range รัฐ Utar
ชื่อ OSIRIS-REx ย่อมาจาก
The Origins, Spectral Interpretation
Resource Identification, Security
Regolith Explorer ภารกิจหลักคือ
โคจรติดตามดาวเคราะห์น้อย 101955 Bennu
(หรืออีกชื่อคือ 1999 RQ36)
ยาน OSIRIS-REx ถูกส่งขึ้นวงโคจร
ไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2016
และยานจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี
ในการตั้งวิถีโคจรเพื่อเข้าประกบติดดาวเคราะห์น้อย Bennu ครับ
คลิปวิถีโคจรของยาน OSIRIS-REx
ในการ "ไล่ตาม" ดาวเคราะห์น้อย Bennu
ที่วินาที 30 คือขั้นตอนที่ยานได้รับ
Gravity assist จากโลก ทำให้ไล่ตาม Bennu ได้ทัน
ยาน OSIRIS-REx
คือยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยลำล่าสุด
หลังจากโครงการยาน Rosetta-Philea ของ ESA
ได้ประสบความสำเร็จในการลงจอด
บนดาวหาง 67P/Churyumov–Gerasimenko
เมื่อ 12 พฤษจิกายน 2014 ไปแล้ว
ยาน OSIRIS-REx ได้ออกแบบสร้างมา
ให้มีการลงจอดแบบ Touch and Go
และเก็บ Sample return ลงใน capsule
เพื่อส่งกลับโลกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้
มียาน Stardust ถูกออกแบบให้ทำอย่างนี้
คือเก็บ sample return จากดาวหาง 81P/Wild
กลับมายังโลกสำเร็จเมื่อ มกราคม ปี 2006 ครับ
คลิปนี้คือภาพจริงถ่ายจากกล้องของ OSIRIS-REx
ที่เวลา 2:10 - 2:35 คือภาพจริง
ดาวเคราะห์น้อย 101955 Bennu
มีรูปร่างเกือบกลม มีขนาดประมาณ
565 × 535 × 508 เมตร
แรกสุด Bennu มีชื่อเดิมเป็นรหัสว่า 1999 RQ
36
ต่อมาทาง NASA ได้มี project "
Name that Asteroid ! "
และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชื่อ Michael Puzio
ได้รับการเลือกจาก NASA ในชื่อ " Bennu "
น้อง Michael Puzio บอกว่าที่ใช้ชื่อนี้เพราะ
ส่วนแขนของยาน OSIRIS-REx มันยื่นออกไป
มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้าแห่งอียิปต์
ซึ่งจะปรากฎเป็นรูปนกกระสา
https://en.wikipedia.org/wiki/Bennu
Bennu ถือเป็นวัตถุเก่าแก่สมัยระบบสุริยะยุคแรก ๆ
มันมีสภาพทางเคมี และ ธาตุต่าง ๆ
แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่ก่อตัว
เมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน
มันจึงมีเบาะแสอันมีค่าเกี่ยวกับต้นกำเนิด
และพัฒนาการของดาวเคราะห์หิน เช่น โลก
ภาพของ 101955 Bennu ถ่ายโดย OSIRIS-REx
ที่ระยะประมาณ 24 กิโลเมตร
หลังจากนี้ ....
ยาน OSIRIS-REx ก็มีภารกิจต่อไป
คือเดินทางไปเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย 99942 Apophis
เพื่อถ่ายภาพรายละเอียดสูง โดยภารกิจใหม่นี้
มีชื่อใหม่ว่า OSIRIS-APEX ย่อมาจาก
Origins, Spectral Interpretation
Resource Identification
Security-APophis EXplorer
ซึ่ง 99942 Apophis จะโคจรเข้าใกล้โลก
ในวันที่ 13 เมษายน 2029
ในระยะประมาณ 31,600 กิโลเมตร
sample return capsule ของยาน OSIRIS-REx ได้ตกลงสู่พื้นโลกแล้ว
เวลา 3 ทุ่ม 52 นาที (เวลาประเทศไทย)
sample return capsule ของยาน OSIRIS-REx
ได้แยกตัวออกจากยาน และตกลงสู่พื้นโลก
(ตามที่ program ไว้) ด้วยความเรียบร้อย
sample return capsule นี้
หนักประมาณ 42 กิโลกรัม ข้างในบรรจุ
ตัวอย่างหิน และ ดินประมาณ 250 กรัม
ของดาวเคราะห์น้อย Bennu
ภาพการซ้อมการเก็บกู้ capsule ของ NASA
เมื่อ 18 กรกฎาคม 2023 นี่คือสีเดิมของ capsule
(เทียบกับ capsule ที่ไหม้จนดำในมุมซ้ายบน)
capsule นี้ ได้แยกตัวออกมาจาก OSIRIS-REx
ขณะ OSIRIS-REx โคจรเฉียดผ่านโลก
capsule ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก
ด้วยความเร็วประมาณ 12.3 km/sec
ทำให้มันร้อนจัดเป็นลูกไฟ
ร่มลดความเร็วได้ดีด และกางออก
เพื่อชะลอ capsule ให้ลงสู่พื้นอย่างนุ่มนวล
ด้วยความเร็วประมาณ 17 km/h
หลังจากนั้น ทาง NASA ได้นำ capsule
ไปยังห้องปลอดเชื้อชั่วคราว
ที่ Utah Test and Training Range รัฐ Utar
ชื่อ OSIRIS-REx ย่อมาจาก
The Origins, Spectral Interpretation
Resource Identification, Security
Regolith Explorer ภารกิจหลักคือ
โคจรติดตามดาวเคราะห์น้อย 101955 Bennu
(หรืออีกชื่อคือ 1999 RQ36)
ยาน OSIRIS-REx ถูกส่งขึ้นวงโคจร
ไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2016
และยานจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี
ในการตั้งวิถีโคจรเพื่อเข้าประกบติดดาวเคราะห์น้อย Bennu ครับ
คลิปวิถีโคจรของยาน OSIRIS-REx
ในการ "ไล่ตาม" ดาวเคราะห์น้อย Bennu
ที่วินาที 30 คือขั้นตอนที่ยานได้รับ
Gravity assist จากโลก ทำให้ไล่ตาม Bennu ได้ทัน
ยาน OSIRIS-REx
คือยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยลำล่าสุด
หลังจากโครงการยาน Rosetta-Philea ของ ESA
ได้ประสบความสำเร็จในการลงจอด
บนดาวหาง 67P/Churyumov–Gerasimenko
เมื่อ 12 พฤษจิกายน 2014 ไปแล้ว
ยาน OSIRIS-REx ได้ออกแบบสร้างมา
ให้มีการลงจอดแบบ Touch and Go
และเก็บ Sample return ลงใน capsule
เพื่อส่งกลับโลกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้
มียาน Stardust ถูกออกแบบให้ทำอย่างนี้
คือเก็บ sample return จากดาวหาง 81P/Wild
กลับมายังโลกสำเร็จเมื่อ มกราคม ปี 2006 ครับ
คลิปนี้คือภาพจริงถ่ายจากกล้องของ OSIRIS-REx
ที่เวลา 2:10 - 2:35 คือภาพจริง
ดาวเคราะห์น้อย 101955 Bennu
มีรูปร่างเกือบกลม มีขนาดประมาณ
565 × 535 × 508 เมตร
แรกสุด Bennu มีชื่อเดิมเป็นรหัสว่า 1999 RQ36
ต่อมาทาง NASA ได้มี project " Name that Asteroid ! "
และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชื่อ Michael Puzio
ได้รับการเลือกจาก NASA ในชื่อ " Bennu "
น้อง Michael Puzio บอกว่าที่ใช้ชื่อนี้เพราะ
ส่วนแขนของยาน OSIRIS-REx มันยื่นออกไป
มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้าแห่งอียิปต์
ซึ่งจะปรากฎเป็นรูปนกกระสา
https://en.wikipedia.org/wiki/Bennu
Bennu ถือเป็นวัตถุเก่าแก่สมัยระบบสุริยะยุคแรก ๆ
มันมีสภาพทางเคมี และ ธาตุต่าง ๆ
แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่ก่อตัว
เมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน
มันจึงมีเบาะแสอันมีค่าเกี่ยวกับต้นกำเนิด
และพัฒนาการของดาวเคราะห์หิน เช่น โลก
ภาพของ 101955 Bennu ถ่ายโดย OSIRIS-REx
ที่ระยะประมาณ 24 กิโลเมตร
หลังจากนี้ ....
ยาน OSIRIS-REx ก็มีภารกิจต่อไป
คือเดินทางไปเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย 99942 Apophis
เพื่อถ่ายภาพรายละเอียดสูง โดยภารกิจใหม่นี้
มีชื่อใหม่ว่า OSIRIS-APEX ย่อมาจาก
Origins, Spectral Interpretation
Resource Identification
Security-APophis EXplorer
ซึ่ง 99942 Apophis จะโคจรเข้าใกล้โลก
ในวันที่ 13 เมษายน 2029
ในระยะประมาณ 31,600 กิโลเมตร