คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
คำตอบสั้นๆ อุกกาบาต ครับ (ฮา)
คำตอบยาวๆ
หลังจากการค้นพบ ไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์ ก็เริ่มค้นพบซากไดโนเสาร์ตามที่ต่างๆทั่วโลก
ซึ่งจากการศึกษา ก็พบว่าไดโนเสาร์จำนวนมาก เสียชีวิตในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน
จนนำมาสู่ทฤษฎีการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ (Mass extinction)
ในช่วงแรกๆนั้นยังมีการถกเถียงกันอยู่บ้างว่า อะไรที่น่าจะทำให้เกิดการสูญพันธ์ทั่วโลกได้เช่นนั้น
ซึ่งทฤษฎีที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ก็คือ อุกกาบาตพุ่งชนโลก หรือเกิดยุคน้ำแข็งด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม
แต่หลังจากการศึกษาชั้นดิน/น้ำแข็งดึกดำบรรรพ์ทั่วโลก เพื่อศึกษาความเป็นไปของยุคต่างๆ
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าน่าจะเป็นอุกกาบาตชนโลก จากหลักฐานที่ปรากฎกัมมันตรังสีในชั้นเหล่านั้น
ทฤษฎีอุกกาบาตชนโลก มีปัญหาข้อหนึ่ง ที่ทำให้มีการถกเถียงอยู่เป็นเวลานาน
คือทั้งนักวิทยาศาสตร์ หรือนักธรณีวิทยา ไม่สามารถหาหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่พอ
ที่ตรงกับการคำนวนว่าชนแรงพอที่จะทำให้ไดโนเสาร์สูญพันได้ (หลุมควรจะมีเส้นผ่านสูญกลางอย่างน้อย 150ก.ม.)
นักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยถึงกับเลิกหวังในการหาเจอ
เพราะเวลาถึง 66ล้านปี มีความเป็นไปได้ที่หลุมดังกล่าว อาจถูกกลบใต้พื้นดินลึกเป็นกิโลเมตรก็เป็นได้
แต่แล้วการค้นพบก็มาจากแหล่งที่นักวิทยาศาสตร์เองก็คาดไม่ถึง
บริษัทน้ำมันของเม็กซิโก ที่ได้ทำการสำรวจใต้ดิน เพื่อหาน้ำมัน เป็นพื้นที่กว้าง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970
ค้นพบความผิดปกติในพื้นที่ใต้ดินที่ลึกลงไปหลายกิโลเมตร แต่ตอนนั้นพวกเขายังไม่ทราบว่ามันคืออะไรกันแน่
หากเมื่อทำการสำรวจ รวบรวมข้อมูลไปเรื่อยๆ นานนับสิบปี
พวกเขาก็พบว่าความผิดปกติใต้พื้นดินดังกล่าว มีลักษณะแบบเดียวกับหลุมอุกกาบาต
มหาลัยฯ เม็กซิโก้ และนักวิทยาศาสตร์ จึงได้เข้าไปทำการศึกษา จากข้อมูลในการขุดเจาะ
และพบว่า หลุมอุกกาบาตดังกล่าว อยู่ลึกลงไปถึง 20 ก.ม. และกว้างถึง 180 ก.ม. (อาจเพิ่มขึ้นอีก ตามการค้นพบใหม่ๆ)
หลังจากการค้นพบนี้ ได้มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ไปเข้าสำรวจ
และได้ค้นพบอิริเดียมจำนวนมาก พวกเขาจึงแน่ใจว่านี่เป็นหลุมอุกกาบาตที่พวกเขาตามหาอยู่
เป็นการจบประเด็นการถกเถียงในเรื่องนี้
ทีนี้มาถึงคำถามของ จขกท.
ประเด็นเรื่องอุกกาบาตที่ชน เป็นดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์น้อย นั้น
...ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เลยครับ
แต่ด้วยคนละเหตุผล ที่แตกต่างกับที่ จขกท. คิดครับ
คือวัตถุใดๆที่อยุ่ในอวกาศ มันสามารถมันไปที่ความเร็วสูงมากๆได้อยู่แล้ว
ดังนั้นจะเป็นดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์น้อย ก็ไม่ต่างกันในประเด็นนี้
ก่อนที่จะไปต่อ ผมว่ามาดูนิยามกันก่อน
อุกกาบาต : สิ่งที่ตกมายังโลกจากอวกาศ อันนี้เข้าใจง่าย จะดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์น้อย ตกลงมาบนโลกก็นับเป็นอุกกาบาตหมด
ดาวเคราะห์น้อย : วัตถุในอวกาศ เล็กกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว มักจะประกอบด้วยของแข็ง เช่นหิน หรือโลหะหนัก
ดาวหาง : วัตถุในอวกาศ คล้ายดาวเคราะห์น้อย แต่จะประกอบด้วยน้ำแข็ง ฝุ่น หรือสิ่งระเหิดได้จำนวนมาก ทำให้เมื่อเคลื่อนที่จะเห็นเป็นหาง
ซึ่งดูเหมือนจะเข้าใจได้ง่าย แต่เพราะส่วนประกอบต่างๆที่ไม่แน่นอน ทำให้บางทีการแบ่งแยกของทั้งสองอย่างเป็นไปได้ยาก
บางครั้ง ดาวเคราะห์น้อย อาจมีน้ำแข็งประกอบเป็นจำนวนมากก็ได้ หากเมื่อเคลื่อนที่เราไม่เห็นฝุ่นละอองเป็นหางเราเลยไม่ได้เรียกว่าดาวหาง
ตัวปัญหาอยู่ที่ ด้วยความรุนแรงของการชน (คาดการณ์กันว่า น่าจะเร็วประมาณ 43,000 ก.ม. ต่อ ช.ม.)
เป็นไปได้สูงที่อุกกาบาตที่ชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นหิน หรือโลหะ น่าจะระเหิดไปเกือบหมด หรือหมดแล้ว ตั้งแต่การประทะ
เช่นเดียวกับหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่หลายๆหลุม ที่แม้เป็นหลุมแบบบนพื้นดิน เราก็ไม่สามารถหาตัวอุกกาบาตได้
ทำให้ยากที่จะหาตัวอุกกาบาตมายืนยัน ได้แต่เก็บข้อมูลจากสภาพโดยรอบ และข้อมูลของชั้นดิน/น้ำแข็ง จากช่วงเวลานั้น
ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปได้สูง จากการที่นักวิทยาศาสตร์พบ ซัลเฟอร์จำนวนมากรอบๆพื้นที่การชน และพื้นที่ทั่วโลกในช่วงเวลานั้น
แต่ไม่เจอ ณ ศูนย์กลางการชน ทำให้เชื่อกันว่า ตัวอุกกาบาตน่าจะเปลี่ยนจากของแข็ง ระเหิดเป็นก๊าซ ตั้งแต่ตอนปะทะแล้ว
มาถึงเรื่องข้อถกเถียง เรื่อง ดาวหาง vs ดาวเคราะห์น้อย (ซักที)
เรื่องนี้มีข้อถกเถียง ที่มีรายละเอียดกันเยอะมากทั้งสองฝ่าย แล้วมีการอัพเดตกันอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นผมขอไม่ลงลึกนะครับ
ฝั่งดาวเคราะห์น้อย
ตั้งแต่ก่อนจะมีการค้นพบหลุมที่เม็กซิโก การค้นพบอิริเดียมจำนวนมากในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์สูญพันธ์
เป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นอุกกาบาตชนโลกที่คร่าชีวิตไดโนเสาร์
และอิริเดียมตัวนี้เป็นแร่หายากบนโลก แต่พบได้ง่ายตาม ดาวเคราะห์น้อย
เมื่อรวมถึงขนาดของการชน ที่รุนแรงจนยากที่จะเป็นดาวหางที่มีส่วนประกอบที่ระเหิดได้ง่ายเป็นจำนวนมาก
กับจากสถิติข้อมูลรวบรวม ที่โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยชนโลกมีมากกว่า ดาวหาง แล้ว
นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง จึงให้น้ำหนักเอียงไปทาง ดาวเคราะห์น้อยมากกว่า
ฝั่งดาวหาง
อันนี้เดิมทีมีนักวิทยาศาสตร์ให้ความเชื่อถือน้อยกว่ามาก (ณ ตอนนี้ก็ยังน้อยกว่าฝั่งดาวเคราะห์น้อยอยู่)
เพราะด้วยข้อมูลต่างๆ ทางดาวเคราะห์น้อย มีความเป็นไปได้มากกว่า
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ของฮาร์วาร์ด
ได้ให้ความเป็นไปได้กับดาวหาง โดยการคำนวนโดยใช้สถิติการคำนวน และการจำลองแรงดึงดูด
จนเชื่อว่าอุกกาบาตที่ชนโลก มาจาก Oort cloud ที่อยู่ขอบระบบสุริยะ
ทำให้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเป็นดาวหางอย่างมาก
อาจจะต้องรอให้ค้นพบข้อมูลมากกว่านี้
ก่อนที่จะมีคำตอบที่สามารถตอบคำถามของ จขกท. ได้อย่างแน่นอน
แต่ถ้าจขกทอยากได้คำตอบ ณ ตอนนี้
ผมยังให้ความเป็นไปได้กับฝั่ง ดาวเคราะห์น้อย มากกว่าดาวหาง เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ครับ
คำตอบยาวๆ
หลังจากการค้นพบ ไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์ ก็เริ่มค้นพบซากไดโนเสาร์ตามที่ต่างๆทั่วโลก
ซึ่งจากการศึกษา ก็พบว่าไดโนเสาร์จำนวนมาก เสียชีวิตในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน
จนนำมาสู่ทฤษฎีการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ (Mass extinction)
ในช่วงแรกๆนั้นยังมีการถกเถียงกันอยู่บ้างว่า อะไรที่น่าจะทำให้เกิดการสูญพันธ์ทั่วโลกได้เช่นนั้น
ซึ่งทฤษฎีที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ก็คือ อุกกาบาตพุ่งชนโลก หรือเกิดยุคน้ำแข็งด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม
แต่หลังจากการศึกษาชั้นดิน/น้ำแข็งดึกดำบรรรพ์ทั่วโลก เพื่อศึกษาความเป็นไปของยุคต่างๆ
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าน่าจะเป็นอุกกาบาตชนโลก จากหลักฐานที่ปรากฎกัมมันตรังสีในชั้นเหล่านั้น
ทฤษฎีอุกกาบาตชนโลก มีปัญหาข้อหนึ่ง ที่ทำให้มีการถกเถียงอยู่เป็นเวลานาน
คือทั้งนักวิทยาศาสตร์ หรือนักธรณีวิทยา ไม่สามารถหาหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่พอ
ที่ตรงกับการคำนวนว่าชนแรงพอที่จะทำให้ไดโนเสาร์สูญพันได้ (หลุมควรจะมีเส้นผ่านสูญกลางอย่างน้อย 150ก.ม.)
นักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยถึงกับเลิกหวังในการหาเจอ
เพราะเวลาถึง 66ล้านปี มีความเป็นไปได้ที่หลุมดังกล่าว อาจถูกกลบใต้พื้นดินลึกเป็นกิโลเมตรก็เป็นได้
แต่แล้วการค้นพบก็มาจากแหล่งที่นักวิทยาศาสตร์เองก็คาดไม่ถึง
บริษัทน้ำมันของเม็กซิโก ที่ได้ทำการสำรวจใต้ดิน เพื่อหาน้ำมัน เป็นพื้นที่กว้าง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970
ค้นพบความผิดปกติในพื้นที่ใต้ดินที่ลึกลงไปหลายกิโลเมตร แต่ตอนนั้นพวกเขายังไม่ทราบว่ามันคืออะไรกันแน่
หากเมื่อทำการสำรวจ รวบรวมข้อมูลไปเรื่อยๆ นานนับสิบปี
พวกเขาก็พบว่าความผิดปกติใต้พื้นดินดังกล่าว มีลักษณะแบบเดียวกับหลุมอุกกาบาต
มหาลัยฯ เม็กซิโก้ และนักวิทยาศาสตร์ จึงได้เข้าไปทำการศึกษา จากข้อมูลในการขุดเจาะ
และพบว่า หลุมอุกกาบาตดังกล่าว อยู่ลึกลงไปถึง 20 ก.ม. และกว้างถึง 180 ก.ม. (อาจเพิ่มขึ้นอีก ตามการค้นพบใหม่ๆ)
หลังจากการค้นพบนี้ ได้มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ไปเข้าสำรวจ
และได้ค้นพบอิริเดียมจำนวนมาก พวกเขาจึงแน่ใจว่านี่เป็นหลุมอุกกาบาตที่พวกเขาตามหาอยู่
เป็นการจบประเด็นการถกเถียงในเรื่องนี้
ทีนี้มาถึงคำถามของ จขกท.
ประเด็นเรื่องอุกกาบาตที่ชน เป็นดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์น้อย นั้น
...ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เลยครับ
แต่ด้วยคนละเหตุผล ที่แตกต่างกับที่ จขกท. คิดครับ
คือวัตถุใดๆที่อยุ่ในอวกาศ มันสามารถมันไปที่ความเร็วสูงมากๆได้อยู่แล้ว
ดังนั้นจะเป็นดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์น้อย ก็ไม่ต่างกันในประเด็นนี้
ก่อนที่จะไปต่อ ผมว่ามาดูนิยามกันก่อน
อุกกาบาต : สิ่งที่ตกมายังโลกจากอวกาศ อันนี้เข้าใจง่าย จะดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์น้อย ตกลงมาบนโลกก็นับเป็นอุกกาบาตหมด
ดาวเคราะห์น้อย : วัตถุในอวกาศ เล็กกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว มักจะประกอบด้วยของแข็ง เช่นหิน หรือโลหะหนัก
ดาวหาง : วัตถุในอวกาศ คล้ายดาวเคราะห์น้อย แต่จะประกอบด้วยน้ำแข็ง ฝุ่น หรือสิ่งระเหิดได้จำนวนมาก ทำให้เมื่อเคลื่อนที่จะเห็นเป็นหาง
ซึ่งดูเหมือนจะเข้าใจได้ง่าย แต่เพราะส่วนประกอบต่างๆที่ไม่แน่นอน ทำให้บางทีการแบ่งแยกของทั้งสองอย่างเป็นไปได้ยาก
บางครั้ง ดาวเคราะห์น้อย อาจมีน้ำแข็งประกอบเป็นจำนวนมากก็ได้ หากเมื่อเคลื่อนที่เราไม่เห็นฝุ่นละอองเป็นหางเราเลยไม่ได้เรียกว่าดาวหาง
ตัวปัญหาอยู่ที่ ด้วยความรุนแรงของการชน (คาดการณ์กันว่า น่าจะเร็วประมาณ 43,000 ก.ม. ต่อ ช.ม.)
เป็นไปได้สูงที่อุกกาบาตที่ชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นหิน หรือโลหะ น่าจะระเหิดไปเกือบหมด หรือหมดแล้ว ตั้งแต่การประทะ
เช่นเดียวกับหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่หลายๆหลุม ที่แม้เป็นหลุมแบบบนพื้นดิน เราก็ไม่สามารถหาตัวอุกกาบาตได้
ทำให้ยากที่จะหาตัวอุกกาบาตมายืนยัน ได้แต่เก็บข้อมูลจากสภาพโดยรอบ และข้อมูลของชั้นดิน/น้ำแข็ง จากช่วงเวลานั้น
ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปได้สูง จากการที่นักวิทยาศาสตร์พบ ซัลเฟอร์จำนวนมากรอบๆพื้นที่การชน และพื้นที่ทั่วโลกในช่วงเวลานั้น
แต่ไม่เจอ ณ ศูนย์กลางการชน ทำให้เชื่อกันว่า ตัวอุกกาบาตน่าจะเปลี่ยนจากของแข็ง ระเหิดเป็นก๊าซ ตั้งแต่ตอนปะทะแล้ว
มาถึงเรื่องข้อถกเถียง เรื่อง ดาวหาง vs ดาวเคราะห์น้อย (ซักที)
เรื่องนี้มีข้อถกเถียง ที่มีรายละเอียดกันเยอะมากทั้งสองฝ่าย แล้วมีการอัพเดตกันอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นผมขอไม่ลงลึกนะครับ
ฝั่งดาวเคราะห์น้อย
ตั้งแต่ก่อนจะมีการค้นพบหลุมที่เม็กซิโก การค้นพบอิริเดียมจำนวนมากในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์สูญพันธ์
เป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นอุกกาบาตชนโลกที่คร่าชีวิตไดโนเสาร์
และอิริเดียมตัวนี้เป็นแร่หายากบนโลก แต่พบได้ง่ายตาม ดาวเคราะห์น้อย
เมื่อรวมถึงขนาดของการชน ที่รุนแรงจนยากที่จะเป็นดาวหางที่มีส่วนประกอบที่ระเหิดได้ง่ายเป็นจำนวนมาก
กับจากสถิติข้อมูลรวบรวม ที่โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยชนโลกมีมากกว่า ดาวหาง แล้ว
นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง จึงให้น้ำหนักเอียงไปทาง ดาวเคราะห์น้อยมากกว่า
ฝั่งดาวหาง
อันนี้เดิมทีมีนักวิทยาศาสตร์ให้ความเชื่อถือน้อยกว่ามาก (ณ ตอนนี้ก็ยังน้อยกว่าฝั่งดาวเคราะห์น้อยอยู่)
เพราะด้วยข้อมูลต่างๆ ทางดาวเคราะห์น้อย มีความเป็นไปได้มากกว่า
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ของฮาร์วาร์ด
ได้ให้ความเป็นไปได้กับดาวหาง โดยการคำนวนโดยใช้สถิติการคำนวน และการจำลองแรงดึงดูด
จนเชื่อว่าอุกกาบาตที่ชนโลก มาจาก Oort cloud ที่อยู่ขอบระบบสุริยะ
ทำให้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเป็นดาวหางอย่างมาก
อาจจะต้องรอให้ค้นพบข้อมูลมากกว่านี้
ก่อนที่จะมีคำตอบที่สามารถตอบคำถามของ จขกท. ได้อย่างแน่นอน
แต่ถ้าจขกทอยากได้คำตอบ ณ ตอนนี้
ผมยังให้ความเป็นไปได้กับฝั่ง ดาวเคราะห์น้อย มากกว่าดาวหาง เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ครับ
แสดงความคิดเห็น
วัตถุที่ตกใส่โลกเมื่อประมาณ 66 ล้านปีก่อน คาดว่าเป็นอะไรกันครับ
เลยสงสัยว่าปัจจุบันแต่ละฝ่ายเค้างัดหลักฐานอะไรมามั่งครับ ระหว่างฝ่ายดาวหางกับฝ่ายดาวเคราะห์น้อย และฝ่ายอื่นๆ(ถ้ามี) แล้วในปัจจุบัน เค้าเชื่อถือฝั่งไหนมากกว่ากันครับ