฿฿พุทธทาส(เงื่อม)หลงในอาการสภาวะของจิตบางอย่างจึงเข้าผิดใจว่ามีจิตว่างแล้วเข้าใจผิดต่อว่ามีนิพพานชั่วคราวเช่นนิพพานไอติม

( ตั้งเป็นกระทู้คำถาม  เพื่อให้ขาบัตรผ่านได้มาร่วมแจม...แต่ที่จริงไม่ได้ถามอะไรใคร )

......ในบางสภาวะ  จิตจะไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดขึ้นเลย  มีแต่โสภณเจตสิก(เจตสิกที่ดีๆเป็นกุศล)และอัญญสมานาเจตสิก(เจตสิกกลางๆ) เท่านั้น  ในสภาวะแบบนั้น จะเกิดความรู้สึกเสมือนว่าจิตว่างโล่งโจ้งสุขสบายมากๆ  คล้ายๆจะไม่มีกิเลสเหลือเลย  คล้ายๆจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว   ..สภาวะแบบนี้เอง ที่ทำให้หลายๆคนหลงตัวสำคัญตนผิด  นึกว่าตนเองบรรลุอรหันต์ไปแล้ว หรือได้นิพพานแล้ว  ซึ่งจะมีการหลงผิดแบบนี้ เกิดขึ้นบ่อยๆในวงการนักฝึกภาวนา  เช่นสมัยพุทธกาล มีอรหันต์ต้นไทร อรหันต์ตุ่ม  หรือในยุคหลวงปู่มั่น ก็มีอรหันต์นกหวีด  ที่สวนโมกข์ก็มีอรหันต์ไอติม  อรหันต์จิตว่าง  เป็นต้น..ฯลฯ

......เพราะตามหลักพระอภิธรรม  เมื่อใดที่จิตเป็นกุศลจิต  ในช่วงนั้น ก็จะมีแต่กุศลเจตสิก(หรือโสภณเจตสิก)และเจตสิกกลางๆเท่านั้น จะไม่มีอกุศลเจตสิกใดๆโผล่มาเลย ..และในทางตรงข้าม  เมื่อใดที่จิตเป็นอกุศลจิต ในช่วงนั้น ก็จะมีแต่อกุศลเจตสิกและเจตสิกกลางๆ จะไม่มีกุศลเจตสิกโผล่มาเลย

......อาการที่จิตจะมีสภาวะเป็นกุศลจิต(หรือ มหากุศลจิต)  ซึ่งมีแต่กุศลเจตสิกและเจตสิกกลางๆ   ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกในขณะนั้นว่า โล่งว่างสุขสบายมากๆ  ....ที่ปรากฏบ่อยๆคือ ช่วงที่จิตสงบเป็นสมาธิ และ ช่วงหลังจากได้ทำบุญทำกุศลหรือสร้างบารมีที่หนักๆมากๆ เช่นได้ถวายมหาทานใหญ่ๆ  ได้สร้างบุญบารมีใหญ่ๆหนักๆ เป็นต้น... ฯลฯ

......อาการที่ท่านพุทธทาสเจอ   คงเป็นหลังจากที่พุทธทาสหลีกไปหลบตัวที่สวนโมกข์คนเดียว ในระยะแรกๆ ยังไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครรบกวน คงจะได้สมาธิในระดับอุปจาระ ในระดับแน่นพอควร  ในตอนนั้น ซึ่งในระดับนี้ก็เพียงพอที่จะทำให้อกุศลเจตสิกต่างๆหลบหายไปชั่วคราวได้  จิตเป็นมหากุศลจิต เกิดอาการรู้สึกว่า โล่ง  ว่าง   ปีติ  สุข  ในระดับหนึ่ง ..แต่เพราะท่านพุทธทาสฝึกเอง ไม่มีครูบาอาจารย์คอยแนะนำ และไม่ศึกษาพระอภิธรรม  จึงทำให้ท่านพุทธทาสเข้าใจผิดเรื่องจิตว่าง  จากอาการที่ตนเจอนั้น  โดยเข้าใจผิดไปว่ามีจิตที่ว่างได้  และมีนิพพพานแบบชั่วคราวได้ เช่น นิพพานไอติม เป็นต้น ฯลฯ

.....เพราะตามหลักพระอภิธรรม จิตทุกๆดวงต้องมีอารมณ์ทั้งนั้น  ไม่มีจิตดวงใดประเภทใดๆจะเป็นจิตที่ว่างได้เลย  แม้แต่จิตของพระอรหันต์ก็ต้องมีอารมณ์เสมอไป   เนื่องจาก  ถ้าไม่มีอารมณ์ จิตก็ไม่อาจจจะเกิดขึ้นมาได้

......ใครอยากเห็นสภาวะของจิตว่างแบบนั้น  ก็ลองฝึกจิตจนสงบเป็นสมาธิ อย่างน้อยอุปจารสมาธิ  หรือ ไม่งั้นก็บำเพ็ญบุญบารมีที่เป็นมหากุศลใหญ่ๆ เสียสละมากๆ  เช่น บวช  หรือถวายสังฆทานใหญ่ๆโตๆ  สร้างวัด  .ฯลฯ  เป็นต้น (บางคนทำบุญเล็กๆน้อยๆ ก็เจออาการแบบนั้นได้เหมือนกัน) ...ก็จะเห็นสภาวะแบบว่างๆโล่งๆ ปีติ สุขสบาย แบบนั้น เกิดขึ้นมาในใจชัดเจน  รู้สึกเหมือนกำลังล่องลอยอยู่บนสวรรค์ ตลอดทุกๆเวลานาที  นานหลายๆวัน หรือหลายๆเดือน หรือหลายๆปี

.......แต่ความจริงแล้ว  อาการพวกนั้น มันเป็นอาการชั่วคราว  เพราะกิเลสหลบใน  ไม่แสดงตัว แค่นั้นเอง   จังหวะดีๆ กิเลสก็จะโผล่มาอาละวาดอีกแบบเดิม  อาการโล่งๆ  ว่างๆ  สุขสบายนั้นก็จะหายไป  เป็นเทวดาตกสวรรค์ไปตอนนั้นเอง

     ...............................
    กรุณาดูรายชื่อกลุ่มของเจตสิก 12 ดวง ข้างล่าง ..เมื่อเจตสิก 12 ตัวนี้เกิดกับจิตที่เป็นกุศลจิต  ก็ย่อมทำให้จิตนั้นรู้สึกว่า ว่าง โล่ง  ปีติ สุขสบาย (แต่ความจริงคือ จิตที่รู้สึกว่า ว่าง โล่ง  สุขสบาย นั้น ก็ไม่ว่าง  มันยังมีอารมณ์ประกอบเสมอไป ,... อาการที่รู้สึกโล่งว่าง นั่นแหละคืออารมณ์ของจิตตอนนั้น..แล้วจะว่าจิตว่างได้ไงกัน?)
                      
                                   ( จากเจตสิก 52 ... ตัดตอนเอามาแค่ 12  ดวง /จาก..พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม )
               ........
               35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
               36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)
               37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
               38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
               39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
               40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
               41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
               44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
               45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
               46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)

                  ........
              
                หวังว่า  กลุ่มสาวกเงื่อมทั้งหลาย   อาจจะตาสว่างขึ้นบ้าง  หรือจะมืดมนธ์อนธกาลตลอดไป  ก็ตามใจ...

                เรื่องของเรื่อง  มันก็เป็นแบบนี้แหละ ท่านทั้งหลาย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่