มันไม่มีตัวเรามาตั้งแต่ต้น แต่มันมีเราเกิดขึ้นมาหลังจากที่มีความทรงจำมากขึ้นและคิดนึกปรุงแต่งได้มากขึ้น

ได้ใช้คำว่า ตัวตนชั่วคราว  ถ้าบอกว่าไม่มีตัวตนเลย ก็๋จะสุดโต่งไปเป็นพวกอุจเฉททิฏฐิไป
เตชปัญโญ ภิกขุ  
17 นาทีที่แล้ว


-------------------------  ตัวท่านกล่าวไว้เอง

ก็ในเมื่อมันไม่มีตัวเรามาตั้งแต่ต้นแล้ว (สัมมาทิฏฐิ)
  เตชปัญโญ ภิกขุ  
6 ชั่วโมงที่แล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้ว

วงกลม
******************
นี่โยม วงกลม ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องก็คือ

คือเมื่อร่างกายเริ่มเกิดขึ้นมา ก็จะมีจิตเกิดมาด้วย ซึ่งจิตนี้จะมีอวิชชา (ความรู้ว่ามีตนเอง) ติดมาด้วย (คือครอบงำจิตอยู่) เพียงเล็กน้อย (อวิชชานี้สมัยใหม่เรียกว่าสัญชาติญาณแห่งความมีตัวตน) แต่จิตที่เพิ่งเกิดนี้ก็ยังคิดนึกปรุงแต่ง (สังขาร-การปรุงแต่งทางจิต) ไม่เป็น จึงทำให้อวิชชายังไม่มีผลอะไรกับจิต จึงทำให้จิตยังไม่เกิดความรู้สึกว่ามีตนเองในตอนนี้ ซึ่งนี่คือตั้งแต่ต้นเลยที่ว่า มันไม่มีตัวเรามาตั้งแต่ต้น

จนกว่าจิตนี้จะได้รับรู้สิ่งต่างๆภายนอก (จากทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย) มากขึ้นและมีความทรงจำมากขึ้น รวมทั้งมีการคิดนึกปรุงแต่งได้มากขึ้น จึงทำให้อวิชชาที่ครอบงำจิตนี้ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มข้นมากขึ้น จนทำให้จิตเกิดความรู้สึกว่ามีตนเองอย่างเข้มข้นขึ้นมา ซึ่งนี่คือการที่มันเริ่มเกิดมีตัวเราขึ้นมา  โดยมีจิตปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมาด้วยอำนาจของอวิชชา  (ส่วนจิตก็ได้รับการปรุงแต่งขึ้นมาจากร่างกายและความทรงจำอีกทีหนึ่ง)

แต่ถ้าความทรงจำหายไป ถึงจิตจะยังมีอยู่ แต่มันก็ไม่สามารถปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราเหมือนเดิมขึ้นมาได้อีกแล้ว และถ้ายิ่งร่างกายตายไป จิตก็ย่อมจะต้องดับหายตามไปด้วยทันที ตามกฎอิทัปปัจจาที่ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงไม่มี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี

พวกอุจเฉททิฏฐิจะมีความเชื่อว่า ในชีวิตของทุกชีวิตนั้น มันไม่มีตัวตนใดๆเลย (นิรัตตา) จึงไม่เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้นการกระทำใดๆของชีวิตจึงไม่มีผลใดๆ คือไม่ต้องรับผล คือทำดีก็ไม่ได้ผลดี ทำชั่วก็ไม่ได้ผลชั่ว พ่อแม่ไม่มีบุญคุณ เป็นต้น

ส่วนพวกสัสสตทิฏฐิจะมีความเชื่อว่า ในชีวิตของทุกชีวิตนั้น มันมีตัวตนอยู่จริงๆ (อัตตา) ซึ่งอัตตานี้นี้จะไม่สูญหายไป แต่จะเกิดขึ้นได้ใหม่เรื่อยไปถ้าร่างกายนี้ตายไปแล้ว ซึ่งตัวตนนี้ถ้าทำความดี ก็จะได้รับผลดี ถ้าทำความชั่ว ก็จะได้รับผลชั่ว แต่ต้องไปรับเอาในชาติหน้า

ส่วนสัมมาทิฏฐิของพระพุทธเจ้าจะอยู่ตรงกลางระหว่างอุจเฉททิฏฐิกับสัสสตทิฏฐิ คือมันก็มีตัวตนอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่จะไม่มีตัวตนเลยเหมือนพวกอุจเฉททิฏฐิ แต่ก็ไม่ใช่จะมีตัวตนเลยไปเป็นอัตตาอย่างพวกสัสสตทิฏฐิ จึงได้เรียกตัวตนนี้อย่างสมมติว่าเป็น ตัวตนชั่วคราว (หรืออนัตตา ที่แปลว่า ไม่ใช่อัตตา)

ส่วนเรื่องการทำความดีหรือชั่วนั้น เมื่อตัวตนชั่วคราวนี้ทำความดีหรือชั่ว มันก็ต้องรับผลเสมอ ไม่ใช่จะไม่ได้รับเลยอย่างพวกอุจเฉทิฏฐิ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องไปรับเอาในชาติหน้าอย่างพวกสัสสตทิฏฐิ  คือผลที่ตัวตนชั่วคราวนี้จะได้รับก็อยู่ในชีวิตนี้นั่นเอง คือเมื่อทำความดี ก็จะเกิความสุขใจ อิ่มเอมใจขึ้นมาทันที (หรืออาจเกิดเมื่อทำเสร็จแล้วก็ได้ ) ถ้าทำความชั่ว ก็จะเกิดความร้อนใจ หรือไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรืออาจเกิดเมื่อทำเสร็จแล้วก็ได้)

สรุปได้ว่า มันไม่มีตัวเรามาตั้งแต่ต้น แต่มันมีเราเกิดขึ้นมาหลังจากที่มีความทรงจำมากขึ้นและคิดนึกปรุงแต่งได้มากขึ้น และเมื่อไม่มีความทรงจำหรือไม่มีจิต มันก็ย่อมจะไม่มีเรา (รวมทั้งเมื่อไม่มีร่างกากย็จะไม่มีจิต) ดังนั้นจึงได้สมมติเรียกตัวตนที่เป็นเรานี้ว่าเป็น ตัวตนชั่วคราว ซึ่งตัวตนชั่วคราวนี้จะไม่จัดว่าเป็๋นตัวตนอมตะอย่างพวกสัสสตทิฏฐิ และก็ไม่จัดว่าไม่มีตัวตนใดๆเลยอย่างพวกอุจเฉททิฏฐิ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่